สุขภาพสัตว์น้ำกับการเพิ่มผลผลิต - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

สุขภาพสัตว์น้ำกับการเพิ่มผลผลิต

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง
สุขภาพสัตว์น้ำกับการเพิ่มผลผลิต

ในการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยที่สำคัญ คือ ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ การจัดการด้านอาหารและการจัดการคุณภาพน้ำ เมื่อผู้เลี้ยงสัตว์น้ำนำสัตว์น้ำสายพันธ์ดีมีการเติบโตรวดเร็วมาเลี้ยง ย่อมต้องให้อาหารที่ดี มีคุณค่าอาหารสูง ในปริมาณมากเพียงพอกับความต้องการของสัตว์น้ำ การเติบโตจึงจะเกิดขึ้น แต่หากสัตว์น้ำเลี้ยงอยู่ในสภาพน้ำที่เสื่อมโทรม มีออกซิเจนต่ำ คุณภาพน้ำในรอบวัน มีการเปลี่ยนแปลงสูง สัตว์น้ำจะมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เนื่องจากเกิดความเครียด กินอาหารน้อยลง การสังเคราะห์สารต่างๆในร่างกายน้อยลง โดยเฉพาะสารในระบบภูมิคุ้มกันโรค ทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอ มีโอกาสเกิดโรคระบาดได้ง่าย

วมถึงการระบาดของโรคพยาธิภายนอกร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรียที่มักพบในช่วงน้ำหลาก และช่วงต้นฤดูหนาวที่อุณหภูมิต่ำ หากในแหล่งน้ำที่เลี้ยงมีการสะสมของเสียมาก เกิดแอมโมเนีย ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ เกิดน้ำเขียวมีแพลงก์ตอนมาก มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณออกซิเจนในรอบวันสูง ย่อมมีผลต่อสุขภาพและอัตราเสียงที่จะเกิดการตายสูง

การเลี้ยงปลาในกระชังที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สาเหตุของผลกระทบจากการเลี้ยงปลาในกระชังต่อสิ่งแวดล้อมมีสาเหตุมาจาก
- การเลี้ยงสัตว์น้ำในแหล่งน้ำที่มีสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม
- มีผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์น้ำมากเกินไป
- อาหารที่ใช้เลี้ยงไม่เหมาะสม คุณภาพ ไม่ดี มีการให้อาหารมากเกินไปในแต่ละวัน
- การให้อาหารในแต่ละครั้งมากเกินไปจนมีอาหารเหลือแช่น้ำเป็นเวลานาน เกิดการสูญเสียอาหารจากการแตกตัวละลายน้ำ
- ไม่มีการปรับลดอาหาร เมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
- มีสิ่งขับถ่ายของอาหารส่วนที่ปลาไม่ย่อยในรูปมูล และของเหลว ซึ่งของเสียเหล่านี้ เมื่อมีปริมาณมาก จะตกลงสู่พื้นท้องน้ำ และสะสมจนเกินความสามารถของแหล่งน้ำที่จะบำบัดตามธรรมชาติได้ในเวลาจำกัด ย่อมก่อให้เกิดเป็นมลพิษขึ้นในน้ำและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
–ของเสียจากอาหารสิ่งขับถ่ายของปลามีผลให้ความต้องการออกซิเจนของแหล่งน้ำสูงขึ้นจนอาจเกิดภาวะออกซิเจนไม่พอ และปลาตาย

ความต้องการออกซิเจนของปลานิลและปลาแรด จากการศึกษาในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรัง

ความต้องการออกซิเจนในน้ำ
แม่น้ำเจ้าพระยา
(ระดับกลางในน้ำระหว่างกระชังปลานิล)
แม่น้ำสะแกกรัง(ระดับกลางในน้ำระหว่างกระชังปลาแรด)  
การหายใจของปลา( มิลลิกรัมออกซิเจนต่อน้ำหนักปลา 1 กรัม ต่อชั่วโมง)


           ปลานิล (ขนาด 50 -1,000 กรัม)
0.11 - 0.3

           ปลาแรด (ขนาด 70 – 600กรัม)

0.15-0.26
BOD อาหารปลา (ออกซิเจน กรัม ต่ออาหาร 1 กรัม)


           อาหารปลานิล
0.48-1.79
           อาหารปลาแรด

1.06-1.52
BOD มูลสัตว์น้ำ


           ปลานิล (ขนาด 50 -1,000 กรัม)
0.63 - 0.26

           ปลาแรด (ขนาด 70 – 600กรัม)

0.79 – 0.95
ความต้องการออกซิเจนของสิ่งมีชีวิตน้ำ(แพลงก์ตอน) (มิลลิกรัมต่อลิตรต่อวัน)
0.2 – 0.66
2.81 – 2.95
ความต้องการออกซิเจนของจุลชีพในน้ำ (BOD)บริเวณแหล่งเลี้ยง(มิลลิกรัมต่อลิตรต่อวัน)
1.1 – 8.55
3.3 – 7.0
ความต้องการออกซิเจนของตะกอนดินใต้กระชัง (ออกซิเจนมิลลิกรัมตอตารางเมตรต่อชั่วโมง)
0.03
0.04
จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความต้องการออกซิเจนในแหล่งน้ำ อันเนื่องมาจากความต้องการของสัตว์น้ำ สิ่งมีชีวิตในน้ำ และจากการให้อาหาร หากมีการให้อาหารเหลือมาก หรือมีการละลายของธาตุอาหารลงสู่แหล่งน้ำ อันเนื่องจากการให้อาหารมากเกินไปจนสัตว์น้ำกินไม่ทัน เกิดการละลายออกมา ย่อมมีผลต่อความต้องการออกซิเจนในน้ำ นอกจากนี้ มูลของปลาที่มีการตกค้างในกระชังลงสู่พื้นท้องน้ำใต้กระชัง ก็ส่งผลต่อความต้องการออกซิเจนในน้ำ เช่นกัน เนื่องจากจุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายอินทรีย์สารที่สะสมอยู่ในน้ำ ออกซิเจนในน้ำจะลดลงด้วย


No comments
Back to content