ประสบการณ์ผู้เลี้ยงปลาบู่ 3(ต่อ) - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ประสบการณ์ผู้เลี้ยงปลาบู่ 3(ต่อ)

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง
เทคนิคการตลาดแบบใหม่
ปัจจุบันคุณพูนศักดิ์ได้ย้ายมาอยู่อีกฟากของลำน้ำแม่กลอง โดยมีกระชังเลี้ยงปลาทั้งหมด 5 กระชัง มีปลาอยู่ 500 ตัว เหตุผลที่ลดจำนวนกระชังและปลาบู่ลง เพราะมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดและตนไม่ได้จับปลาส่งนอกเหมือนแต่ก่อนแล้ว ซึ่งมีเทคนิคการตลาดแบบใหม่คือ เน้นตักปลาบู่ในกระชังขายบริเวณหน้าบ้านที่อยู่ริมแม่กลองในโซนตลาดน้ำบางนกแขวก โดยกลุ่ม เป้าหมายคือ นักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และภัตตาคารต่างๆที่สนใจ

กระชังเลี้ยงปลาบู่ของคุณพูนศักดิ์มีอยู่ 3 ขนาดด้วยกัน คือ

1.ขนาดเล็ก กว้าง 1 เมตร ยาว 15 เมตร ลึก 15 เมตร จุปลาได้ 100 ตัว
2. ขนาดกลาง กว้าง 15 เมตร ยาว 2 เมตร ลึก 15 เมตร จุปลาได้ 500 ตัว และ
3.ขนาด ใหญ่ กว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 180 เมตร จุปลาได้ 600 - 1,000 ตัว

ส่วนตาอวนมีตั้งแต่ขนาด 2 – 6 เซนติเมตร ปกติกระชังใหญ่ผมจะใส่อวน 2 ชั้นแต่กระชังเล็กใส่ชั้นเดียว เหตุผลที่กระชังมีหลายขนาดเพราะว่า ปลาแต่ละชุดที่ได้มามีจำนวนไม่เท่ากัน ถ้าได้มา 500 ตัวขึ้นไปก็ สามารถลงกระชังใหญ่ได้เลย แต่ถ้าได้มา 100 ตัวก็ต้องไปลงกระชังเล็ก ถ้าไปลงกระชังใหญ่ปลาจะดูโหรงเหรง และหากนำปลาชุดใหม่มา เลี้ยงรวมกับปลาชุดเก่าในกระชังอีกปลาจะกัดกัน เพราะปลาบู่เป็นปลากินเนื้อที่มีนิสัยหวงถิ่น ซึ่งปลาที่อยู่ก่อนจะรุมกัดปลาใหม่จนตาย” คุณพูนศักดิ์ให้เหตุผล

ลูกพันธุ์จากธรรมชาติแน่นอนกว่า
พูดถึงลูกพันธุ์ปลาบู่คุณพูนศักดิ์บอกว่าตนได้ มาจากแหล่งน้ำต่างๆ ในจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และในละแวกใกล้บ้าน ส่วนใหญ่ลูกพันธุ์ปลาบู่จะหาได้เยอะในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคมของทุกปี มีตั้งแต่ไซซ์ขนาด 70-80 กรัม และไซซ์ขนาด 1-3 ขีด โดยชื้อมาในราคากิโลกรัมละ 40 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละช่วง
จังหวะในรอบปี ซึ่งในบางฤดูไม่มีลูกพันธุ์เจ้าตัวก็ต้องหยุดเลี้ยง ปกติพันธุ์ปลาบู่มีเยอะ ทั้งในบ่อเลี้ยง กุ้งก้ามกราม และตามสถานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง แต้เมื่อนำมาเลี้ยงการเติบโตไม่ค่อยดี ซึ่งขั้นตอนการอนุบาลนั้นยังมีการเติบโตไม่เหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ นั้นคือจะต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงลูกปลาให้ได้ 1 ขีด นานกว่า 1 ปี จึงทำให้เกษตรกรไม่ค่อยนิยมชื่อพันธุ์ปลาบู่อายุ 1-2 เดือน จากกรมประมงไปเลี้ยง ส่วนใหญ่จะไปเสาะหาปลาขนาด 1-2 ขีด จากธรรมชาติมาเลี้ยง เพราะไม่ต้องเสียเวลามาเลี้ยงอนุบาลและบางครั้งเมื่อนำมาเลี้ยงต่อก็ไม่ค่อยรอดชีวิต จึงทำให้ผู้เลี้ยงนิยมลูกพันธุ์ปลาบู่ที่ได้จากธรรมชาติมากกว่า” คุณพูนศักดิ์กล่าว


No comments
Back to content