การจัดการการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การจัดการการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง
การจัดการการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง

ควรมีการจัดการด้านการทำความสะอาด การดูแลรักษาและการคัดขนาด

1. การทำความสะอาด ควรใช้แปรง ขัดภายในกระชังให้ตะไคร่น้ำ ตะกอนที่ติดตามตัวกระชังออก รวมทั้งเศษอาหาร เพราะเป็นแหล่งหมักหมมและก่อให้เกิดเชื้อโรค หลังจากปลาบู่เอาด้านข้างตัวไปถูกับด้านข้าง กระชังหรือพื้นกระชังอาจทำให้ตัวเป็นแผลและเชื้อโรคตามตะกอนหรือตะไคร่น้ำเข้าตัวปลาทางแผลได้ กรณีที่มีตะกอนดินทับถมไนกระชังมาก ควรใช้พลั่วแซะตะกอนออก หรือใช้เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าแบบจุ่มฉีดไล่ตะกอน เกษตรกรบางรายนิยมใช้ด่างทับทิมห่อด้วยผ้าถูตามภายในกระชัง เพื่อฆ่าเชื้อโรค

2. การคัดขนาด การเลี้ยงปลาบู่ต้องทำการคัดขนาดปลาบ่อยๆครั้ง ปกติเดือนละครั้งหรืออย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง เนื่องจากปลาบู่เป็นปลากินเนื้อและมีนิสัยก้าวร้าว ปลาตัวใหญ่จะคอยไล่ไม่ให้ปลาตัวเล็กได้มีโอกาสเข้ามากินอาหาร ทำให้ปลาตัวเล็กผอมลง พฤติกรรมก้าวร้าวนี้เกิดขึ้นในลูกปลาบู่ตัวเล็กเหมือนกัน คือ ถ้าลูกปลามีขนาดต่างกันมากก็จะกินกันเอง แต่ในปลาบู่ขนาดใหญ่จะมีพฤติกรรมกัดกันเองและไล่กันไปมา การคัดขนาดปลาบู่ทำให้ปลามีขนาดโตเท่ากันสม่ำเสมอ เติบโตเร็วและเพิ่มผลผลิตอีกด้วย

3. การป้องกันโรค ผู้เลี้ยงควรหมั่นดูแลสุขภาพของปลาบู่อยู่เสมอ ตรวจดูกระชังภายในให้อยู่ในสภาพดีและควรถือหลักป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคมากกว่าที่จะปล่อยให้ปลาเป็นแล้ว ทำการรักษาที่หลัง


อัตรารอด
อัตราการรอดตายในการเลี้ยงปลาบู่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยความแข็งแรงของพันธุ์ปลา คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ความสามารถ ความชำนาญในการเลี้ยง และสภาพสิ่งแวดล้อม


อัตราการเจริญเติบโต
อัตราการเจริญเติบโตของปลาบู่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น อัตราการปล่อยคุณภาพและปริมาณอาหาร คุณสมบัติน้ำ ฯลฯ จากการเลี้ยงปลาบู่ที่แม่น้ำน่าน จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าอัตราปล่อย ตารางเมตรละ 32 ตัว ใช้เวลาเลี้ยง 7 เดือน จะให้ผลผลิตสูงสุด

ผลผลิต
ผลผลิตการเลี้ยงปลาบู่ในกระชังไม้ไผ่ ขนาด 10 ลูกบาศก์เมตร อัตราการปล่อยปลา 915 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 224 กรัม ใช้เวลาเลี้ยง 5.3 เดือน ได้น้ำหนักเฉลี่ย 4,345 กรัม ส่วนกระชังไม้จริงขนาด 15 ลูกบาศก์เมตร อัตราการปล่อยปลา 1,500 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 184 กรัม ใช้เวลาเลี้ยง 8.5 เดือนได้น้ำหนัก เฉลี่ย 422 กิโลกรัม

การเลี้ยงปลาบู่ถ้ามีการเอาใจใส่ที่ดี ผู้เลี้ยงปลามีประสบการณ์ความชำนาญและสภาพแวดล้อมดี รวมทั้งปลาไม่เป็นโรคก็จะให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูง ขายได้ราคาแพง และมีกำไรสูง

No comments
Back to content