อาหารและอัตราการปล่อย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

อาหารและอัตราการปล่อย

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง
อัตราการปล่อยพันธุ์ปลาบู่ลงเลี้ยงในกระชัง

พันธุ์ปลาบู่ที่นิยมนำมาเลี้ยงส่วนใหญ่มีขนาด 100-300 กรัม ซึ่งได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ หรือซื้อจากพ่อค้าคนกลางที่ดำเนินการทั้งขยายพันธุ์รับชื้อปลาบู่ขนาดตลาดส่งเข้ากรุงเทพฯ ปลาบู่มีนิสัยชอบนอนนิ่งอยู่บริเวณก้นกระชังทำให้สามารถปล่อยปลาบู่ได้หนาแน่นประมาณ 70-100 ตัวต่อตารางเมตร หรือ 10-30 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ในแหล่งน้ำที่มีการไหลถ่ายเทของน้ำดีมากผ่านในกระชัง ถ้าแหล่งใดมีคุณสมบัติน้ำไม่ดีและไหลถ่ายเทช้า ควรปล่อยตารางเมตรละ 40-50 ตัว ก่อนปล่อยพันธุ์ปลาลงในกระชัง ควรทำให้ปลามีความคุ้นเคยกับน้ำที่จะเลี้ยงโดยเอาน้ำในกระชังปนลงไปในภาชนะด้วย แต่ควรฆ่าเชื้อป้องกันโรคเสียก่อน

สำหรับการป้องกันโรค ก่อนปล่อยพันธุ์ปลาบู่ลงเลี้ยงควรแช่ปลาในน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำมาแช่ในด่างทับทิม ซึ่งมีความเข้มข้น 5-10 พีพีเอ็ม นาน 20 นาที อีกครั้งหนึ่งเพื่อกำจัดหนอนสมอ แล้วนำไปแช่น้ำในน้ำยาเมทธิลีนเข้มข้น 2-3 พีพีเอ็ม หลังจากนั้นนำไปปล่อยลงเลี้ยงในกระชัง

เครื่องมือที่ใช้รวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาตินิยมใช้ลอบ ข่าย สวิง ยกยอ ฯลฯ แล้วนำปลาไปพักรวมกันในกระชังจนได้ปริมาณมากพอจึงค่อยลำเลียงพันธุ์ปลาไปยังผู้เลี้ยง ทั้งนี้ควรจะป้องกันพันธุ์ปลาไม่ให้เกิดความบอบช้ำ หรือมีบาดแผลหรือเกิดความเครียด โดยก่อนการพักปลาลงในกระชังควรทำการฆ่าเชื้อโรคที่ติด มากับตัวปลาโดยแช่ปลาในน้ำที่ผสมเฟอราเนซ ความเข้มข้น 1-2 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร แช่ไว้ 5-15 นาที หรือแช่ในสารละลายด่างทับทิมที่มีความเข้มข้น 10 พีพีเอ็ม นาน 10 นาที ในระหว่างพักปลาควรดูแลเอาใจใส่ และให้อาหารเพียงพอเพื่อให้ปลาแข็งแรงขึ้น ก่อนลำเลียงไปเลี้ยงในกระชังต่อไป

อาหารและการให้อาหาร
ปลาบู่จัดเป็นปลากินเนื้อ อาหารที่ดีควรมีโปรตีน 38-40 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 5-8 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 9-12 เปอร์เซ็นต์ วิตามินและเกลือแร่ 0.5-1 เปอร์เซ็นต์ อาหารใช้เลี้ยงปลาบู่แบ่งเป็น 2 ชนิด

1. อาหารแบบพื้นบ้านเป็นอาหารสดได้จากการนำปลาเป็ดจากทะเล หรือปลาน้ำ
จืดมาสับให้ปลากิน หรือใช้เครื่องบดอาหาร ซึ่งมีผลดีทำให้กระดูกปลาเป็ดป่นย่อยละเอียดและไม่เป็นอันตรายต่อลำไส้ปลาบู่ ในขณะเดียวกันยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย

สูตรอาหารปลา คือ
ปลาเป็ดสดบดละเอียด
94 เปอร์เซ็นต์
รำละเอียด
5  เปอร์เซ็นต์
วิตามินเกลือแร่
1 เปอร์เซ็นต์
(เกษตรกรบางรายผสมหัวอาหารหมู หรือไก่ลงไปด้วย) และควรใส่เกลือปนในอัตรา 100 กรัม ต่ออาหาร 3 กิโลกรัม เพื่อทำให้อาหารจับตัวเหนียวขึ้นป้องกันการละลายหรือลอยตัวของอาหาร

2. อาหารสูตรสำเร็จแบบเปียก
ชนิดนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เตรียมจากวัสดุอาหารแห้งและเปียก สะดวกในการจัดเก็บได้นานในตู้เย็นเตรียมง่ายและถูกสุขลักษณะทั้งยังสามารถเติมยาปฏิชีวนะและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต

จากการสังเกตพบว่า ปลาบู่กินอาหารเชื่องช้ากว่าปลาชนิดอื่น จึงควรปันเป็นก้อนใส่ ถาดแขวนไว้ในกระชังให้ต่ำกว่าระดับผิวน้ำประมาณ 50 เซนติเมตร การให้อาหารจะให้ทุกวันๆละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาในกระชัง หรือให้ 2 วันครั้งๆ ละ 8-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา การให้อาหารควรสังเกตว่าปลากินอาหารหมดหรือไม่แล้วค่อยปรับเพิ่มหรือลดอาหาร

อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ
อัตราแลกอาหารเป็นเนื้อปลาบู่ที่เลี้ยงด้วยปลาเป็ดอยู่ระหว่าง 7.3-12.2 :1

No comments
Back to content