การสืบพันธุ์ของปลาแรด - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การสืบพันธุ์ของปลาแรด

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง
การสืบพันธุ์ของปลาแรด

1. ลักษณะเพศ ปกติปลาแรดเพศผู้และเพศเมีย มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะเห็นได้ซัดก็ต่อเมื่อมีขนาดสมบูรณ์พันธุ์ คือ ตัวผู้จะมีนอ(Tubercle)ที่หัวของมันโหนกสูงขึ้นจนเห็นได้ชัด ส่วนตัวเมียจะมีโหนกไม่สูงและที่ใต้ฐานของครีบอกตัวเมียจะมีจุดสีดำ แต่ตัวผู้จะมีแต้มสีขาว ปลาแรดที่มีอายุเท่ากันปลาตัวผู้จะโตกว่าปลาตัวเมีย ปลาแรดจะเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 2-3 ปี น้ำหนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัม จะมีไข่ 2,000-4,000 ฟอง แม่ปลาตัว หนึ่งสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง/ปี

2. การเพาะพันธุ์ปลา วางไข่ได้ตลอดปี แต่จะมีไข่สูงในช่วง 7 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ปลาแรดจะสร้างรังวางไข่ การเพาะพันธุ์จึงควรใส่ฟางหรือหญ้า เพื่อให้ปลาแรดนำไปใช้ในการสร้างรัง รังจะมีลักษณะคล้ายรังนกและจะมีฝาปิดรัง ขนาดรัง โดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1 ฟุต ใช้เวลาสร้าง ประมาณ 1 สัปดาห์

การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติในบ่อดิน บ่อเพาะพันธุ์ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่1-2 ไร่ อัตราการปล่อยปลาตัวผู้ต่อตัวเมีย 1:2 จำนวน 100–150 คู่/ไร่ แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ระหว่าง 2,000-4,000 ฟอง การเตรียมบ่อ เพาะพันธุ์ ควรเลือกบริเวณพื้นบ่อมีสภาพเป็นโคลน ให้มีหญ้าและพันธุ์ไม้น้ำขึ้นหนาสักหน่อย พร้อมทั้งหากิ่งไผ่ผลักให้จมอยู่ในน้ำ เพื่อใช้เป็นที่สร้างรังพ่อแม่ปลาจะคอยระวังรักษาลูกอ่อนอยู่ใกล้ๆรัง และจะพุ่งเข้าใส่ศัตรูที่มารบกวนอย่าง เต็มที่ หรืออาจใช้คอกที่สร้างขึ้นบริเวณตลิ่งที่เป็นคุ้งของลำแม่น้ำที่ไม่ไหลเชี่ยวมากนัก โดยใช้วิธีเพาะปลาแรด เช่นเดียวกับการเพาะในบ่อ

3. การฟักไข่ ไข่ปลาแรดเป็นประเภทไข่ลอย (มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน มีไขมันมาก กลิ่นคาวจัด ไม่มีเมือกเหนียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร) เมื่อปลาแรดวาง ไข่แล้วให้นำรังที่มีไข่ขึ้นมาแล้วคัดเฉพาะไข่ดี ควรช้อนคราบไขมันออก มิฉะนั้นแล้วจะทำให้น้ำเสียและปลาติดเชื้อโรคได้ง่าย ต่อจากนั้นรวบรวมไข่ใส่บ่อปูนทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ระดับน้ำประมาณ 30-50 ซม. ใช้เครื่องเป่าอากาศเบาๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เพื่อช่วยในการดูดซับไขมันและให้ลูกปลาได้ยึดเกาะหรือฟักไข่ในบ่ออนุบาลหรือฟักในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว กระชังมีรูปร่างสี่เหลี่ยม ขนาด 2X1X0.5 ใช้หูเกี่ยวหรือโครงเหล็กถ่วงที่พื้นเพื่อให้กระชังตึงคงรูปอยู่ได้

ในระหว่างการฟักควรเพิ่มอากาศหรือน้ำลงในกระชังเพื่อไล่ไขมันที่ติดมากับไข่ออกให้มากที่สุด ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายใน 18– 36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-30 เซลเซียส เมื่อออกจากไข่ใหม่ๆ ตัวอ่อนจะลอยหงายท้องอยู่และยึดติดกับพืชน้ำ ลูกปลาจะเริ่มกินอาหารในวันที่ 5-7 และช่วงอายุ 7-10 วัน โดยให้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ ช่วงที่ให้ไข่เป็นอาหารควรให้ทีละน้อย ในบริเวณที่ลูกปลารวมเป็นกลุ่ม เมื่อลูกปลาอายุ ได้ 10-15 วัน จึงให้ไรแดง โดยปกติลูกปลาแรดจะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย เมื่ออายุได้ 4 เดือน

No comments
Back to content