การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง
การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง

ปลาแรด ถือเป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงามอย่างกว้างขวาง โดยเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และตู้กระจก ซึ่งการเลี้ยงปลาชนิดนี้ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก เพราะสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบได้ แต่ในพื้นที่จำกัดจะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า นอกจากการเลี้ยงในบ่อดินแล้ว ในแถบภาคกลางยังนิยมเลี้ยงปลาแรดในกระชัง เช่นที่แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี โดยปกติปลาแรดเป็นปลาที่ชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ จอก แหน ผักพังพวย ผักบุ้ง แมลงในน้ำ ตัวหนอน ไส้เดือน และปลวก เป็นอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงด้วยเศษอาหารที่เหลือจากโรงครัวได้

ปลาแรด (Giant Gouramy) Osphrone mus goramy (Lacepede) เป็นปลาน้ำจืดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง ปลาขนาดใหญ่ที่พบมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ความยาว 65 เซนติเมตร เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่และปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีเนื้อแน่นนุ่ม เนื้อมาก ไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ ย่าง นึ่ง แกงเผ็ด ลาบปลา ตำน้ำพริก ปลาแดดเดียว และน้ำยาขนมจีน ฯลฯ ในระยะหลังได้รับการจัดเป็นปลาจานในภัตตาคารต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคต้องการน้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม
โดยปกติปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เช่นเดียวกับปลาสลิด มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม และทนโรคได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง ให้ผลตอบแทนต่อการลง ทุนดี มีกำไรสูง และไม่มีปัญหาเรื่องตลาดอีก ทั้งเป็นปลาที่เลี้ยงได้ดีทั้งในบ่อดินและในกระชัง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในบ่อได้เอง ซึ่งนอกจากเลี้ยงเพื่อขายเป็นปลาเนื้อแล้ว ยังสามารถขายเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

แหล่งกำเนิดปลาแรด

ปลาแรด มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปลาเม่น” มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ในประเทศไทยภาคกลางพบตาม แม่น้ำ ลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุง และแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขิน ขาดแหล่งวาง ไข่ และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม

การเลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลายมากนัก ปัจจุบันมีอยู่เฉพาะบริเวณแถบ จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่พบว่ายังมีอยู่น้อย ในอนาคตหากมีการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดกันเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้างขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์

No comments
Back to content