รวมกลุ่มเพาะเลี้ยงปลาแรดที่ลุ่มน้ำสะแกรัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

รวมกลุ่มเพาะเลี้ยงปลาแรดที่ลุ่มน้ำสะแกรัง

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง
รวมกลุ่มเพาะเลี้ยงปลาแรดที่ลุ่มน้ำสะแกรัง กำไรดีจัง กระชังละ 2 หมื่น
ปลาแรด เป็นปลาน้ำจืดที่ขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งของไทย โดยปลาขนาดใหญ่ที่พบมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ความยาว 65 เซนติเมตร ปลาแรดเป็นปลาจำพวก เดียวกับปลากระดี่และปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก เนื้อแน่นและนุ่ม ไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ทอด นึ่ง มะนาว ต้ม ยำ แกงเผ็ด ลาบปลา และทำน้ำยาขนมจีน

ปัจจุบัน ปลาแรดได้รับการจัดให้เป็นปลาจานในร้านอาหารและภัตตาคารต่างๆ โดยกลุ่ม ผู้บริโภคต้องการปลาไซซ์น้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม ซึ่งขณะนี้ตลาดมีความต้องการเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำในขนาดใหญ่แถบภาคกลาง นิยมเลี้ยงปลาแรดในกระชังกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะที่แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี

เช่นเดียวกับ คุณวันเพ็ญ นาทอง ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ น้ำตำบลท่าซุง บ้านเลขที่ 31 หมู่ ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ที่ผันตัวเองจากการทำอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ มา
สู่อาชีพการทำประมงน้ำจืด ด้วยการเพาะเลี้ยงปลาแรดในกระชังริมแม่น้ำสะแกกรัง

รวมกลุ่มเพาะเลี้ยงปลากระชัง
ก่อนจะหันมาเลี้ยงปลาในกระชัง คุณวันเพ็ญ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตตนเคยทำการเกษตร แบบไร่นาสวนผสมแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2538 เกิดวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ เรือกสวนไร่นาและปลาในบ่อได้รับความเสียหายทั้งหมด จากวิกฤติครั้งนั้นทำให้ตนและชาวบ้านบางส่วนไม่อยากหวนกลับไปทำอาชีพเพาะปลูกอีก จึงรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา โดยมีสมาชิกทั้งหมด 15 ราย

ครั้งนั้น คุณวันเพ็ญ ได้ประชุมหารือกับสมาชิกว่า หากไม่ทำอาชีพเพาะปลูกแล้ว จะทำอาชีพอะไรกันดี โดยในที่ประชุมมีมติให้เลี้ยงปลาแรดในกระชังที่ริมแม่น้ำสะแกกรัง เพราะสภาพแม่น้ำสะแกกรังเอื้อต่อการเลี้ยงปลาในกระชังเป็นอย่างยิ่ง สมัยก่อนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรังจะมีบ้านเป็นลักษณะเรือนแพ มีการเลี้ยงปลาไว้ใต้แพ เมื่อถึงเวลาก็จับขาย

เราเริ่มต้นเลี้ยงปลาแรดกันคนละไม่กี่กระชัง ต่อมาในปี 2540 สมาชิกที่เพาะเลี้ยงปลาในกระชังก็เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นที่มาของกลุ่มกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น้ำตำบลท่าซุง เมื่อก่อนเราเลี้ยงแบบลองผิดลองถูกกันอยู่หลายปีและหาตลาดกันเอง ตอนนั้นเรายังไม่มีตลาดรองรับ จึงมักจะถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา แต่เราก็เสาะหาสู่ทางการตลาดอยู่เสมอ จนกระทั่งมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน ซึ่งปัจจุบันเรามีสมาชิกทั้งหมด 168 รายมีกระชัง เลี้ยงปลาไม่ต่ำกว่า 300 กระชัง ประกอบไปด้วย ปลาแรด ปลาเทโพ ปลาสวาย ปลาทับทิม ปลาดุกและปลานิล โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเลี้ยง แบบคละกันค่ะ” คุณวันเพ็ญกล่าว

อนุบาลดึๆรอดตาย 90 เปอร์เซ็นต์
พูดถึงรูปแบบกระชังที่ใช้เพาะเลี้ยงปลาแรด คุณวันเพ็ญบอกว่า ส่วนใหญ่โครงสร้าง จะทำด้วยเหล็กต่อกันเป็นแพ มีถังพลาสติก ขนาด 200 ลิตร และไม้ไผ่เป็นทุ่นลอยน้ำ ส่วนเนื้ออวนที่ใช้เป็นเชือกเบอร์ 18 ตาอวนขนาด 3 เซนติเมตร เย็บต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดความกว้าง 6 เมตร ยาว 5 เมตร (เนื้อที่ 30ตารางเมตร) ลึก 25 เมตร ส่วนกระชังอนุบาล ลูกปลาจะใช้อวนสีฟ้าเย็บทับอีกชั้น

No comments
Back to content