การพิจารณาเลือกแหล่งน้ำและตำแหน่งวางกระชัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การพิจารณาเลือกแหล่งน้ำและตำแหน่งวางกระชัง

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง
การพิจารณาเลือกแหล่งน้ำและตำแหน่งวางกระชัง

ความเหมาะสมของแหล่งน้ำในการเลี้ยงปลากระชัง นอกเหนือจากพิจารณาในข้อกำหนดทั่วไปของการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนั้นๆแล้ว ควรได้พิจารณาถึงขนาดของแหล่งน้ำและคุณภาพของแหล่งน้ำนั้นๆซึ่งมีข้อพิจารณาคือ

1.ควรเป็นแหล่งน้ำไหลและน้ำมีคุณภาพดีสม่ำเสมอ การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นการเลี้ยงปลาแบบหนาแน่น ใช้พื้นที่น้อย จำเป็นต้องใช้แหล่งน้ำที่ไหล เพื่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ลดของเสีย สิ่งขับถ่ายที่จะสะสมในกระชัง ความเร็วของกระแสน้ำเฉลี่ยควรอยู่ในช่วง 0.5-1.0 เมตรต่อวินาทีที่ระดับกึ่งกลางความลึกของน้ำ รวมทั้งให้มีการไหลของน้ำที่พื้นท้องน้ำใต้กระชัง ไม่น้อยกว่า 0.5 เมตรต่อวินาที

2.บริเวณแขวนวางกระชัง ควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 5 เมตร เพื่อให้พื้นท้องกระชัง มีระดับสูงเหนือพื้นท้องน้ำไม่น้อยกว่า 1.0 เมตร  เพื่อให้การไหลถ่ายเทน้ำในบริเวณพื้นท้องน้ำเป็นไปได้ดี

3.ควรเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อให้การรองรับของเสียจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์น้ำและการฟื้นตัวของแหล่งน้ำ เป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดภาวการณ์ขาดออกซิเจนในน้ำ

4.ไม่ควรเลือกสถานที่เลี้ยงปลาในแหล่งน้ำที่มีสีเขียวเข้ม มีการเจริญเติบโตของสาหร่ายหรือแพลงก์ตอนพืชอย่างมาก ซึ่งในเวลากลางวันมีผลให้ออกซิเจนอิ่มตัวในน้ำ แต่ในเวลากลางคืนออกซิเจนในน้ำจะลดลงจนเป็นอันตรายต่อปลาได้

5.ในแหล่งน้ำนั้น มีจำนวนกระชังหรือปริมาณสัตว์น้ำที่เลี้ยงในแหล่งน้ำนั้น ไม่มากจนเกินไปและควรมีระยะห่างระหว่างกระชังที่เลี้ยง เพื่อให้มีการฟอกฟื้นตัวของแหล่งน้ำ มิให้มีการสะสมสารพิษในพื้นที่จนเกินความสามารถในการฟื้นตัวตามธรรมชาติ และไม่ส่งผลกระทบกับ ผู้ใช้น้ำบริเวณท้ายน้ำลงไป

6. ในแหล่งเลี้ยงปลาในกระชังควรมีปริมาณออกซิเจนละลายไม่น้อยกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ตลอด 24 ชั่วโมง และมีปริมาณแอมโมเนียในน้ำไม่มากกว่า 0.02 มิลลิกรัมต่อลิตร

7.ไม่ควรเลือกแหล่งเลี้ยงที่อยู่ใต้หรือใกล้เคียงกับจุดระบายน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนเมือง ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (ที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย) หรือปากคลองที่เป็นแหล่งรับความสกปรกของน้ำเสีย ปริมาณคลอรีนใน
แหล่งน้ำจะต้องไม่เกิน 000.5 มิลลิกรัมต่อลิตร

8. ไม่ควรเลือกแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ จืด กร่อย/เปรี้ยว สลับกันตามฤดูกาล เนื่องจากในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของสัตว์น้ำ ซึ่งผู้เลี้ยงจะป้องกันแก้ไขได้ยาก

9. ในแหล่งน้ำนิ่ง จะมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะฤดูแล้ง อันเนื่องมาจากปริมาณน้ำ
น้อย คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม และหากมีแหล่ง กำเนิดมลพิษที่บริเวณเหนือน้ำของแหล่งเลี้ยงปลาในกระชัง จะมีผลกระทบมากกว่าในแหล่งน้ำไหล และการเลี้ยงปลาในกระชังเองก็จะต้องควบคุมมิให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทางด้านท้ายน้ำ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในแหล่งเลี้ยงนั้นๆด้วย


ข้อควรพิจารณาในการสร้างกระชังโดยคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน
- โครงสร้างกระชัง
- รูปร่างกระชัง มีขนาดเหมาะสมต่อขนาดปลาและจำนวนปลาในกระชัง
- ขนาดตาอวนของกระชัง สามารถให้น้ำไหลผ่านได้ดี ไม่เล็กจนเกิดการตันเนื่องจากตะกอนดินและตะไคร่น้ำ สามารถขัดล้างได้ง่าย
- อัตราการไหลของน้ำในแหล่งน้ำในที่น้ำไหลแรง อาจต้องใช้กระชังไม้ หรือไม้โครงสร้างเสริมเพิ่มความแข็งแรง
-การวางกระชังในแหล่งน้ำ ควรมีความลึกของระดับน้ำพอเพียง โดยเฉพาะบริเวณริมฝั่ง
- การวางกระชัง ควรวางกระชังให้สัมพันธ์กับกระชังอื่นๆ เพื่อมิให้กีดขวางทางน้ำซึ่งกันและกัน

No comments
Back to content