ปลาบึก(สยาม)ในกระชัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลาบึก(สยาม)ในกระชัง

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาบึกในกระชัง
ปลาบึก(สยาม)ในกระชัง ว่าที่ปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ ทดแทนการนำเข้า
ปัจจุบันกลุ่มปลาหนังลูกผสมเนื้อขาวได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลก คิดเป็นมูล 9 ค่าหลายแสนล้านบาทในรูปแบบของปลาเนื้อแช่แข็ง (Filet) เนื่องจากปลาเนื้อขาวเป็นอาหารสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นแหล่งโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และกรดไขมันที่ดี(โอเมก้า 3 ) ที่มีคุณสมบัติช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ชะลอขบวนการอักเสบ มีผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค และการพัฒนาของสมอง ทำให้มีการเพาะเลี้ยงปลาหนังลูกผสมเนื้อขาวมากขึ้นในประเทศไทย

บึกสยามถูกใจทั้งตลาดไทยและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่สามารถ ผลิตลูกปลาสายพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นคณะวิจัยนำโดย รศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน จากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้ทำการพัฒนาปลาหนังสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงในเชิงอาชีพให้แก่เกษตรกร และพัฒนาสู่การเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรม เพื่อลดการนำเข้าและสนับสนุนการส่งออก

“งานวิจัยนี้เราได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. แบบต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2553, 2554 และปี 2555 ตามลำดับ ซึ่งหลังจากที่เราประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลาบึกรุ่นที่ 2 เมื่อปี 2552 แล้ว โดยปลาบึกสยามเป็นปลาหนังลูกผสมรุ่นที่ 2 ที่พัฒนามาจากพ่อและแม่ปลาหนังลูกผสมรุ่นที่ 1 ที่เกิดจากพ่อปลาบึกใน บ่อเลี้ยงรุ่นที่ 2 กับแม่ปลาสวาย แม่ปลาหนังที่มีปริมาณน้ำเชื้อมาก ไข่มีความดกดี และสามารถเจริญพันธุ์ได้เร็ว โดยใช้เวลาใน การพัฒนาสายพันธุ์ทั้งสิ้นนานกว่า 18 ปี”  ดร.เกรียงศักดิ์เล่าและกล่าวต่อไปว่า

“ปลาบึกสยามเป็นปลาที่รวมลักษณะที่ดีของปลาบึกและปลาสวายเข้าไว้ด้วยกัน สีของเนื้อมีสีขาวอมชมพูไม่เหลืองเหมือนเนื้อปลาสวาย ลักษณะเนื้อแน่นและมีปริมาณเนื้อมาก ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีลักษณะทางพันธุ์กรรมเป็นปลาเลี้ยง และมีลักษณะเฉพาะที่ต่างจากปลาบึกและปลาสวาย”

บึกสยามในกระชังและสูตรอาหารเพื่อการลดต้นทุน
รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ได้เล่าให้ฟังอีกว่า หลังจากที่เกษตรกร ชุมชน และภาคเอกชนได้นำไปเลี้ยงเบื้องต้นพบว่าปลาบึกสยามสามารถเจริญเติบโตได้ดี สามารถเลี้ยงแบบหนาแน่นได้ เช่น ในกระชัง หรือบ่อดิน โดยในการเลี้ยงที่แนะนำ ไว้เบื้องต้น คือ ปล่อยขนาด 3-5 นิ้ว อัตราการปล่อยในบ่อดิน 1,600-3,200 ตัว/ไร่ (หรือสูงสุดอาจปล่อยได้ถึง 10,000 ตัว/ไร่) บ่อดินควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีน้ำใช้ตลอดปี ความลึกประมาณ 2-3 เมตร

“ส่วนในกระชังปล่อย 10-20 ตัวต่อตารางเมตร ขนาดของกระชังควรเลือกตั้งแต่ 60 ตารางเมตร ขึ้นไป โดยมีการไหลเวียนของน้ำเข้าและน้ำออก หลังจากนั้นการเลี้ยงจะใช้อาหารผสมเอง (มีโปรตีนระดับ 30.5 เปอร์เซ็นต์) ให้อาหารวันละประมาณ 3-5 ของนาหนักปลา โดยแบ่ง 2-3 มือต่อวัน โดยปรับอาหารตามการเติบโตของปลา” รศ.ดร. เกรียงศักดิ์แนะ และกล่าวต่อไปว่า

No comments
Back to content