ว่าที่ปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ว่าที่ปลาเศรษฐกิจตัวใหม่

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาบึกในกระชัง
“ในการเปลี่ยนอาหารอาจใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปของ“ปลาดุก” เลี้ยงก่อนในช่วง 3 เดือน แรกก็ได้จากนั้นค่อยเปลี่ยนไปใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปของ“ปลานิล” หรือปลากินพืชให้ต่อเนื่องไป โดยใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปีต่อรุ่น ซึ่งจะได้ปลาเนื้อที่มีขนาดตั้งแต่ 1.2-1.5 กิโลกรัมต่อตัวขึ้นไป ภายใต้ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อกิโลกรัม”

สูตรอาหารปลา :
ปลาป่น (โปรตีน 11 %)
20 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง (โปรตีน 14.1 %)
30 กิโลกรัม
รำ (โปรตีน 4.2%)
10 กิโลกรัม
ปลายข้าว (โปรตีน 1.2%)
15 กิโลกรัม
ทั้งหมดคิดเป็นต้นทุน ค่าอาหารตกประมาณ 20.65 บาท/กก.

หมายเหตุ : ปลาปนอาจใช้เป็นปลาเบญจพรรณต่างๆแทนก็ได้ และควรเพิ่มวิตามินและเกลือแร่ (พรีมิกซ์) 1%

แปรรูปเพิ่มช่องทางการตลาดทีหลากหลาย
ภายหลังจากการที่มีความร่วมมือกันมาเป็นอย่างดีระหว่างคณะผู้วิจัย ฯ กับชุมชน ได้แก่ สหกรณ์ประมงพาน รวมทั้งภาคเอกชนอย่าง “จรัลฟาร์ม”ที่ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ล่าสุดได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาหนังลูกผสมเนื้อขาวนี้ให้กับสมาชิกของสหกรณ์ฯที่มีปัญหาเรื่องต้นทุนในการเลี้ยง(ปลานิล)สูงขึ้นส่งผลให้ปลามีราคาแพงและจำหน่ายได้น้อยลง

รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ บอกว่า การนำปลาบึกสยามเข้ามาเป็นทางเลือกเพิ่มให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการด้านการเลี้ยงและเกษตรกรสามารถผลิตอาหารปลาได้เอง โดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น แต่มีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกับการใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีต้นทุนสูงที่จำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นได้ ปัจจุบันปลาบึกสยามมีราคาซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 60 - 70 บาทต่อกิโลกรัม

ปลาบึกสยาม นอกจากจำหน่ายเป็น “ปลาเนื้อ” ได้แล้ว ทางคณะผู้วิจัยฯ ยังสามารถ เพิ่มช่องทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ การแปรรูปเป็น "ไส้กรอกปลา” หรือแม้แต่การเพิ่มความสะดวกสบายในการบริการบริโภค เช่น ฟิลเลย์ (Filet) หรือเนื้อปลาที่แล่เป็นชิ้นๆ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถยกระดับราคาขึ้นมาได้อีกทางหนึ่ง แต่ทั้งนี้งานวิจัยฯ คงต้องใช้เวลาในการพัฒนาสายพันธุ์จนไปถึงรุ่นที่ 3 ตามมาตรฐานสากล เพื่อไปสู่เป้าหมาย “ทดแทนการนำเข้ามุ่งเน้นการส่งออก” ต่อไป

ว่าที่ปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ เพื่อลดการนำเข้า
ในฐานะหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทุนวิจัย ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการ วช. ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จากกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภคในปัจจุบัน ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นโอกาสทางการตลาดที่ดีของผลิตภัณฑ์อาหาร “ปัจจุบันคนไทยบริโภคและสั่งนำเข้าปลาหนังกลุ่มปลาสวาย ในซื้อการค้า "ปลาดอลลี” (dolly) จากประเทศเวียดนาม คิดเป็นมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ "ปลาบึกสยาม” ซึ่งเป็นปลาหนังลูกผสมเนื้อขาวที่พัฒนาพันธุ์ขึ้นมาโดยคนไทย มีความโดดเด่นทั้งคุณภาพของเนื้อปลาและก็รสชาติไม่แพ้ปลาดอลลี่ จึงน่าจะ เป็นโอกาสเพื่อทดแทนการนำเข้า ตลอดจนนำไปสู่อุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกที่เป็นเป้าหมาย ต่อไป” ศ.นพ.สุทธิพร กล่าวในตอนท้าย

สอบถามรายะเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทาง น้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โทร053 873-470-2, 081-883-7925

No comments
Back to content