ปริมาณของเสียจากการเลี้ยงปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปริมาณของเสียจากการเลี้ยงปลา

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง
ปริมาณของเสียจากการเลี้ยงปลา

จากการศึกษาปริมาณของเสียจากการเลี้ยงปลานิลในกระชังที่แม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ในปี 2545 โดยใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีนในอาหาร 32–35 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีค่าอัตราแลกเนื้อเฉลี่ยตลอดการเลี้ยง 1.5 และประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนในอาหารของปลานิลเท่ากับ 95 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการย่อยอาหารทั้งหมด 85 เปอร์เซ็นต์ สิ่งขับถ่ายของปลาจากการผลิตปลาทุกๆ 1,000 กิโลกรัม จะมีปริมาณไนโตรเจนลงสู่แหล่งน้ำทั้งหมด 1,600 กรัม ปริมาณฟอสฟอรัส 1,490 กรัม

การจัดการระหว่างเลี้ยงปลาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

- ควรมีการปรับลดปริมาณความหนาแน่นของปลาในกระชัง เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น
- เปลี่ยนขนาดตาอวนให้ใหญ่ขึ้น เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น
- คัดขนาดปลาให้มีความสม่ำเสมอ
- เลือกใช้อาหารให้มีสารอาหารที่เหมาะสมกับชนิดและขนาดของปลา
- อาหารมีความคงทนและคงรูปในน้ำดี
- ให้อาหารในแต่ละมื้อ โดยให้หลายครั้งตามขนาดปลา เพื่อลดการแตกตัวของอาหารในน้ำและอย่าให้อาหารมากเกินความต้องการ
- ทำความสะอาดกระชังเพื่อมิให้มีตะไคร่น้ำ หรือตะกอนดินไปเกาะติด เนื่องจากตะกอนดินและตะไคร่น้ำเหล่านี้ จะไปลดการไหลผ่านของน้ำ
- ก่อนฤดูน้ำหลากให้ปรับลดอัตราความหนาแน่นของปลาในกระชังลง เนื่องจากความต้องการออกซิเจนของปลาจะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ และตะกอนดินที่แขวนลอยในน้ำ จะเกาะเหงือกปลาทำให้หายใจ ลำบาก ปลาขนาดเล็กจึงตายได้ง่าย
- ปลาขนาดเล็กระยะอนุบาลควรเลี้ยงใน บ่อก่อนนำมาเลี้ยงในกระชัง เนื่องจากปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ยังใช้อาหารผงและอาหาร เกล็ดในการอนุบาล มีการสูญเสียอาหารในน้ำ มากกว่าการใช้อาหารเม็ด ดังนั้นหากอนุบาลลูกปลาขนาดเล็กในบ่อดิน สารอาหารที่สูญเสียในน้ำจะถูกนำไปสร้างอาหารธรรมชาติ อัตราการเจริญเติบโตของปลาดีขึ้น  ใช้อาหารน้อย ลดปัญหาต้นทุนการผลิตและลดปัญหาของเสียจากการเลี้ยงลงส่งแม่น้ำ

แนวทางในการแก้ปัญหาการเลี้ยงปลาในกระชังเพื่อให้มีกำไร
เพื่อให้การเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกับบริเวณแหล่งเลี้ยงปลาในกระชัง ดังนั้นมาตรการในการป้องกันผลกระทบจากการเลี้ยงปลาในกระชังจึงเป็น เรื่องสำคัญ ได้แก่

- การพิจารณาแหล่งที่เหมาะสมและให้อยู่ในตำแหน่งไม่กีดขวางทางน้ำไหล
- ให้เว้นระยะห่างระหว่างกระชัง เพื่อให้น้ำสามารถถ่ายเทในแต่ละกระชังได้สะดวก
- หมั่นทำความสะอาดกระชังมิให้อุดตัน หรือไปลดการไหลผ่านของน้ำ
- เลือกใช้อาหารและให้อาหารอย่างถูกวิธี และอาหารที่เหลือให้เก็บขึ้นจากน้ำทันทีเมื่อปลาหยุดกินในแต่ละมื้อ
- มูลของปลาซึ่งอยู่ในสภาพ ลอยน้ำ ให้เก็บขึ้นจากน้ำ อย่าโยนทิ้ง เพราะจะเกิดการสะสม หากเป็นเวลานาน จะเกิดการเน่า ท้องน้ำใต้กระชังได้ ปลาตายได้
- ในภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากการขาดอากาศของปลาในกระชังหรือมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อ ควรลดอัตราความหนาแน่นของปลาในกระชัง และควรมีเครื่องเพิ่มอากาศในน้ำแก่ปลาในกระชัง จะลดความรุนแรงของปัญหาได้

No comments
Back to content