การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง
การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ

เนื่องจากการเลี้ยงปลาในกระชังเป็นระบบการเลี้ยงในแหล่งน้ำเปิด จึงมักประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ ทั้งการเกิดน้ำเสียจากกิจกรรมอื่นๆ เช่น น้ำทิ้งจากการเกษตร น้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น และการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำขุ่นแดงในช่วงต้น ฤดูฝน น้ำหลาก น้ำไหลแรงในช่วงปลายฤดูฝน น้ำในช่วงฤดูแล้ง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการเติบโตและอัตราการรอดของปลา ก่อให้เกิดการสูญเสียผลผลิตและรายได้

แนวทางหนึ่งซึ่งเกษตรกรสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองร่วมกับการสนับสนุนของภาครัฐ คือ การจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ โดยประสานความร่วมมือระหว่างเกษตรกรที่อยู่เหนือน้ำกับท้ายน้ำในรัศมี 30-50 กิโลเมตร โดยจุดเหนือน้ำเป็นผู้ตรวจสอบ คุณภาพน้ำต่างๆ ความเร็วกระแสน้ำ ความขุ่น สีน้ำ ค่าออกซิเจนละลายน้ำ หรือค่าความผิดปกติอื่นๆ แล้วแจ้งการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำมาที่เกษตรกรท้ายน้ำก่อนที่น้ำจะไหลมาถึงท้ายน้ำ จะได้เตรียมการป้องกันได้ทัน ซึ่งการรวมกลุ่มเกษตรกรโดยการสร้างเครือข่ายนี้ จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการป้องกันความสูญเสียที่เกิดจากคุณภาพน้ำ

ดังนั้นหากผู้เลี้ยงมีการจัดการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยคำนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม จะเป็นการลดข้อขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบอาชีพอื่นๆที่ใช้แหล่งน้ำร่วมกัน และทำให้การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นอาชีพที่ยั่งยืนของเกษตรกร

การใช้สารเคมียา หรือสิ่งอื่นใด ในการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคในปลาน้ำจืด

เมื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำประสบปัญหาด้านโรคสัตว์น้ำ สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงก็ คือ การใช้ยาและสารเคมีในการยับยั้งโรค ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ค่อยถูกนัก เพราะสาเหตุการป่วยของสัตว์น้ำมีหลายประการด้วยกัน เช่น คุณภาพน้ำในบ่อ คุณภาพน้ำและอาหาร หรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การที่เกษตรกรจะตัดสินใจใช้ยา หรือสารเคมีในการบำบัดโรค ควรเป็นกรณีที่สัตว์น้ำป่วยเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต หรือเชื้อรา เป็นต้น นอกจากนั้นเกษตรกร ยังต้องศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ให้ถูกหลักวิชาการและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ยาสัตว์ที่ได้รับการการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย

ปัจจุบันการขึ้นทะเบียนยาสัตว์น้ำอยู่ ภายใต้การควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งปัจจุบันได้มียาสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องอยู่ 13 ตัวยา (กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา, 2550) ด้วยกัน และในแต่ละตัวยาจะ มีข้อบ่งใช้กับสัตว์น้ำที่แตกต่างกันตามชนิดของยา หากสงสัยหรือไม่เข้าใจในการเลือกใช้ยาควรปรึกษาสำนักงานประมงอำเภอในพื้นที่

ข้อสังเกตในการเลือกซื้อยาที่ขึ้นทะเบียน ตำหรับยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต้องมีรายละเอียดดังนี้คือ ชื่อทาง การค้า ส่วนประกอบของยา เลขทะเบียนยา ขนาดและวิธีใช้ ระยะหยุดยา การเก็บรักษา บริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทผู้แทนจำหน่าย วันที่ผลิต หรือล็อตการผลิต วันหมดอายุ น้ำหนักสุทธิ สรรพคุณ วิธีการใช้ และข้อความ“ยาสำหรับสัตว์ ยาควบคมพิเศษ สั่งจ่ายโดยสัตว์แพทย์ซั้นหนึ่งเท่านั้น” หรือยาสำหรับสัตว์

No comments
Back to content