ปลากดคัง ในกระชังที่อ่าทอง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลากดคัง ในกระชังที่อ่าทอง

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลากดในกระชัง
ปลากดคัง ในกระชังที่อ่าทอง สร้างมูลค่า จากปลาตายเลี้ยงแบบง่ายๆ เสริมรายได้ปีละแสน

ปลากดคัง มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่น ด้วยกันหลายชื่อ เช่น กดแก้ว กดหางแดง กดข้างหม้อ กดเขี้ยว หรือปลาคัง มีชื่อสามัญว่า Redtail Mystus และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystus wyckioides ลักษณะโดยทั่วไปเป็นปลาที่มีหางสีแดงสดหรือสีแดงส้มที่บริเวณปากมีหนวดรอบๆ คล้ายหนวดแมว ลำตัวสีเทาอมฟ้าและบริเวณใต้ท้องเป็นสีเทาจางๆ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติบริเวณแม่น้ำลำคลอง เช่น แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำปิง แม่น้ำแควน้อย ตลอดจนอ่าง เก็บน้ำและเขื่อนต่างๆ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนรัชประภา เขื่อนศรีนครินทร์ ฯลฯ

ปลากดคังเป็นปลากินเนื้อ โดยกินสัตว์น้ำและซากสัตว์เป็นอาหาร แต่สามารถฝึกให้กินปลาสับบดอาหารผสม และอาหารเม็ดสำเร็จรูป สำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำได้ ในแง่เศรษฐกิจปลากดคังเป็นปลาเนื้อคุณภาพดีและเป็นที่นิยมของนักชิมอย่างแพร่หลาย นอกจากนำเนื้อมาทำ เมนูสูตรเด็ดแล้ว ตามภัตตาคาร หรือร้านอาหารใหญ่ๆ ยังนิยมนำมาเลี้ยงโชว์ในตู้ปลาขนาดใหญ่ เพื่อดึงดูดลูกค้าและเพิ่มความสวย งามให้กับสถานที่ทำให้ทุกวันนี้ปลากดคังมีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง

ปัจจุบัน ปลากดคังสามารถเพาะพันธุ์ได้โดยวิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียม ซึ่งสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและในกระชัง โดยอาหารที่ใช้เลี้ยงมีทั้งปลาทะเลสดและปลาน้ำจืด เบญจพรรณ รวมทั้งอาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารปลาดุกที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด

จากความนิยมบริโภคเนื้อปลากดคังที่เพิ่มสูงขึ้น ผลทำให้เกษตรกรที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหรือมีที่ติดกับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หันมา เลี้ยงปลากดคังในกระชังเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้กันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดอ่างทอง มีชาวบ้านหันมาเลี้ยงปลากดคังควบคู่กับปลาเศรษฐกิจ ชนิดอื่นกันเพิ่มขึ้น

เช่นเดียวกับ คุณ วัชรินทร์ ช.เจริญยิ่ง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาในกระชังริมแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ 65/ข ตำบลบางปลากด อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเดิมเคยเป็นพนักงานบริษัทปูน เมื่อปี 2540 เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ จึงเบนเข็มสู่ธุรกิจ ปลากระชัง สร้างชีวิตใหม่ จนกระทั่งความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม


ปลากดคังโตไม่ทันขาย
จุดเริ่มต้นคุณวัชรินทร์ เล่าให้ทีมงานฟังว่า ตอนนั้นตนอยู่ในช่วงว่างงาน กำลังมองหา อาชีพอิสระ ผนวกกับตนมีพื้นที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ปี 2543 จึงหันมาเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง โดยเริ่มทดลองเลี้ยง 4 กระชัง ซึ่งเป็นกระชังขนาด 3X6X2 เมตร (18 ตารางเมตร)

“สมัยก่อนปลาทับทิมยังไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค และตลาดยังไม่กว้างมากนัก แต่ผมเลี้ยงแล้วก็พอเหลือกำไรอยู่บ้าง เพราะสมัยนั้นราคาอาหารเม็ดสำเร็จรูปยังไม่แพง แต่ในระหว่างนั้นราคาปลาทับทิมไม่ค่อยนึ่ง ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน ต่อมาปี 2545 ผมจึงหันมาเลี้ยงปลากดคังเสริมเข้าไปด้วย เพราะเห็นว่าราคา ค่อนข้างดี และตลาดมีความต้องการสูง ซึ่งขายได้ตลอด โดยมีพ่อค้าเข้ามาจับที่ฟาร์มทุกเดือน จนกระทั่งปลากดคังที่เลี้ยงโตไม่ทันให้ขายครับ (หัวเราะ)” คุณวัชรินทร์กล่าวอย่างอารมณ์ดี

No comments
Back to content