อาหารแพง ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

อาหารแพง ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลากดในกระชัง
อาหารแพง ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
เหตุผลที่เข้ามาอยู่ในระบบการเลี้ยงแบบประกันราคากับบริษัท จ.ส.อ.(พิเศษ) วิสูตร บอกว่า ตนมองว่าข้อดีคือ ไม่ต้องดิ้นรนหาพันธุ์ ปลาและตลาดเอง ในขณะที่เข้าระบบการผลิต ร่วมกับบริษัทตนได้พัฒนาการเลี้ยงและขยาย กระชังเพิ่มขึ้นด้วย

“ช่วงนั้นผมมองว่าการเลี้ยงปลาทับทิม ในกระชังรายได้ดี จึงขยายกระชังเพิ่มเป็น 37 กระชัง พร้อมทั้งส่งเสริมให้ชาวบ้านแถบนี้เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีการซื้อคืนในลักษณะประกันราคา เมื่อกระแสแรงขึ้นชาวบ้านที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำก็หันมาเลี้ยงกันมากขึ้นจนปลาล้นตลาด ทำให้บริษัทเปลี่ยนราคารับซื้อจากที่เคยประกัน เป็นราคาลอยตัวขึ้นลงตามราคาของตลาด” จ.ส.อ.(พิเศษ)วิสูตรเล่า และกล่าวต่อ ไปว่า

“เมื่อก่อนอาหารสำเร็จรูปราคาไม่แพง สมัยนั้นกระสอบละไม่เกิน 350 บาท แต่ระยะหลังอาหารปลาราคาสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ทำให้ผู้เลี้ยงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดครับ หลายปีก่อนผมเคยลงปลาทับทิมที่อนุบาลแล้วขนาด 30 กรัม ในอัตราส่วน 700 ตัวต่อกระชัง ซึ่งขณะนั้นปลา1 กระชังใช้อาหารเม็ดประมาณ 40 กระสอบ ก็สามารถจับขายได้แล้ว แต่ระยะหลัง ปลา 1 กระชัง เลี้ยงจนกระทั่งจับขายต้องใช้อาหารมากถึง 50 กระสอบ ต่อมาปลาทับทิมที่เลี้ยงรุ่นหลังๆ ลูกพันธุ์มีความอ่อนแอสูง และทยอยตายทุกวัน ผมจึงสับเปลี่ยนมาเลี้ยงปลานิลแทน” จ.ส.อ. (พิเศษ) วิสูตรกล่าว

ปลากดหลวง 2 กระชัง ทำเงิน 1 แสน
ในขณะที่จ.ส.อ. (พิเศษ) วิสูตรกำลังง่วนอยู่กับการเลี้ยงปลาทับทิมและปลานิล ปี 2545 ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ ก็เข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านที่มีพื้นที่ติดลุ่มน้ำในภาคเหนือเลี้ยงปลากดหลวง พอถึงปี 2549 เกิดวิกฤติน้ำ ท่วมครั้งใหญ่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงในกระชังของ จ.ส.อ.(พิเศษ)วิสูตร น็อกตายเป็นจำนวนมาก และเกิดโรคที่มากับน้ำ เพราะสภาพแวดล้อมไม่ดี

“ตอนนั้น(ปี 2449)ผมเลี้ยงปลากดหลวงอยู่ด้วย 2 กระชัง โดยที่ยังไม่รู้เลยว่าตลาดจะไปได้หรือเปล่า แต่ไม่ลองก็ไม่รู้ จึงนำมาทดลองเลี้ยง ผมปล่อยเลี้ยงในอัตราส่วน 500 ตัวต่อกระชัง ซึ่งถือว่าหนาแน่นมาก ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ช่วงน้ำท่วมมันจะรอดมากน้อยแค่ไหน แต่พอน้ำลดพบว่ามีเปอร์เซ็นต์สูญเสียน้อยมาก ช่วงนั้น ปลากดหลวงที่ผมเลี้ยงไว้ 16 เดือน มีน้ำหนัก เฉลี่ยตัวละ 3-4 กิโล ผมขายในราคากิโลกรัมละ 90 ผมจับขายทุกวันเฉลี่ยวันละ 20-30 กิโลกรัมจนหมด ได้ทุนคืนมา 100,000 บาท ผมดีใจมาก เพราะเงินก้อนนี้จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการลง ทุนครั้งต่อไปครับ” จ.ส.อ.(พิเศษ) วิสูตรกล่าวอย่างภาคภูมิใจ

เปลี่ยนจากปลาทับทิม-ปลานิลเป็นปลากดหลวง ราคาดี
ช่วงที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับตลาดรับซื้อ ปลา จ.ส.อ.(พิเศษ) วิสูตร และชาวบ้านยังคงเลี้ยงปลาทับทิมและปลานิลในกระชัง โดยช่วยกันหาช่องทางระบายผลผลิต ทั้งจากการติดต่อ  พ่อค้าแม่ค้าที่รู้จักมารับซื้อ ซึ่งในช่วงแรกต้องใช้ระยะเวลานานมากกว่าจะหาตลาดรับชื่อเองได้

No comments
Back to content