ปลาทะเลในกระชัง สร้างรายได้เพิ่มส่งเสริมงานอนุรักษ์ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลาทะเลในกระชัง สร้างรายได้เพิ่มส่งเสริมงานอนุรักษ์

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาทะเลในกระชัง
ปลาทะเลในกระชัง ริมฝั่งบ้านบ่อคา สร้างรายได้เพิ่มส่งเสริมงานอนุรักษ์

ผมเลี้ยงปลากะพงในกระชังรอบที่ 2 ลงทุนไป 100,000 บาท เมื่อหักลบค่าใช้จ่ายแล้ว ผมมีกำไรอยู่ 100,000 บาท โดยส่วนตัวถือว่าคุ้ม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการเลี้ยงรอดด้วย ถ้าเปอร์เซ็นต์เลี้ยงรอดสูง เราก็มีรายได้เพิ่มขึ้น สำหรับเป้าหมายในอนาคต ผมต้องการทำให้บ้านบ่อคาเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่มีชื่อเสียง ในโอกาสต่อไปเราจะนำปลาพื้นบ้านเข้ามาเลี้ยงในกระชังให้มากขึ้น ผมคิดว่าผลตอบ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและขนาดของปลา”

สืบเนื่องจากปัญหาน้ำมันแพง และสัตว์น้ำตามธรรมชาติในท้องทะเลมีจำนวนลดลง ทำประมงแล้วไม่คุ้มทุน ซาวประมงชายฝั่ง จึงรวมตัวตั้งกลุ่มเพาะเลี้ยงปลากระชังเสริมรายได้ ในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยรับซื้อปลาตกไซซ์และปลาเป็ดในราคาสูงเพื่อต่อยยอดให้เป็นแหล่งอาหารปลาในกระชัง รวมทั้งฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยให้คนในท้องถิ่นเป็นเจ้าของร่วมกัน
คุณสุชาติ พวงมณี ประธานกลุ่มเพาะเลี้ยงปลากระชังชายฝั่งบ้านบ่อคา อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เปิดเผยกับทีมงานว่า ตนพร้อมกับสมาชิกประมาณ 9-10 คน ได้ก่อตั้งธนาคารปูไข่นอกกระดองอยู่ก่อนแล้ว หลังจากทำไปได้ประมาณ 3 ปี ปูในธรรมชาติมีแนวโน้มดีขึ้น จึงหันมาเพาะเลี้ยงปลากระชังเป็นโครงการต่อเนื่องกันมา

“ตอนนี้ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลลดลงมาก ส่วนปลาที่หาได้ก็มีขนาดเล็กไม่ได้ไซซ์ ตามที่ตลาดต้องการ ทำให้เมื่อออกทำการประมงแต่ละครั้งไม่คุ้มทุน เพราะต้นทุนค่าน้ำมันแพงขึ้น นอกจากนี้การออกเรือกลางทะเลต้อง เสี่ยงชีวิต ทั้งกลางวันและกลางคืน ผนวกกับแต่ละปีจะต้องเจอมรสุมคลื่นลมแรงหลายครั้ง ให้ไม่สามารถออกไปทำประมงได้ จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการตั้งกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแนวชายฝั่งเป็นอาชีพเสริม ซึ่งเรามีการต่อยอดเรื่อยมา เริ่มจากปลากะพงกับปลาเก๋า ต่อมาก็เพิ่มปลาพื้นบ้านปลาพื้นบ้านเข้าไปด้วย ในอนาคตเราจะนำหมึกหอมมาเพาะขยายพันธุ์ที่นี้ด้วยครับ” ประธานกลุ่มเล่าให้ฟัง

ต่อยอดเป็นโฮมสเตย์ลอยน้ำ
หลังจากเลี้ยงปลากระชังแนวชายฝั่งมาแล้ว 2 ปี คุณสุชาติบอกว่า เป้าหมายต่อไปทางกลุ่มฯจะทำในลักษณะการเพาะเลี้ยงเชิงอนุรักษ์ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่เชื่อมโยงกันระหว่างการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง แล้วต่อยอดไปถึงการทำโฮมสเตย์ลอยน้ำ โดยมีโปรแกรมพานักท่องเที่ยวไปตกปลา และดำน้ำดูปะการัง ถ้าเป็นฤดูปั่นหมึกตนก็จะพานักท่องเที่ยวออกปั่นหมึก โดยจะเน้นความสะอาดและความปลอดภัยให้มากที่สุด

“เราทำงานเป็นทีม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาตลอดตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งนั่นก็เปรียบเสมือนว่ากลุ่มของเรามีความเข้มแข็ง เราทำประมงเชิงอนุรักษ์มาหลายปี แต่ยังไม่มีภาครัฐเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงหรือให้การช่วยเหลือเลย ในฐานะ
ประธานกลุ่มฯผมก็อยากให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของเราในเชิงบูรณาการด้วยครับ” คุณสุชาติกล่าว

No comments
Back to content