การเลือกสถานที่ในการเลี้ยงกระชังปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลือกสถานที่ในการเลี้ยงกระชังปลา

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง
การเลือกสถานที่ในการเลี้ยงกระชังปลา

การเลือกสถานที่ที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินกิจการเลี้ยงปลาในกระชัง เพราะแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ จะส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีอัตราการรอดสูง เป็นการทุ่นค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้เลี้ยงได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

การเลือกสถานที่ควรพิจารณาถึงปัจจัยเหมาะสม โดยสามารถแยกออกเป็น 2 ประการ คือ

1 คุณสมบัติของน้ำ น้ำต้องมีคุณสมบัติที่ดีและมีปริมาณเพียงพอตลอดทั้งปี ตัวบ่งชี้คุณสมบัติของน้ำ ได้แก่

ปริมาณออกซิเจน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ มีผลต่อการเจริญเติบโต และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ความต้องการปริมาณออกซิเจนมีความแตกต่างกันในปลาแต่ละชนิดกับนิสัยการเคลื่อนไหว โดยปริมาณออกซิเจนที่พอดีสำหรับปลาหลายชนิด คือ 6 พีพีเอ็ม แล่งน้ำที่ตรึงกระชังควรมีปริมาณออกซิเจนในน้ำในช่วงเช้า 6 พีพีเอ็ม หรือสูงกว่าผู้
เลี้ยงจึงควรหลีกเลี่ยงแหล่งน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและครัวเรือน

• อุณหภูมิ ปลาบางชนิดหากมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้ำอย่างกะทันหันอาจตาย หรือชะงักการกินอาหารและอ่อนเพลีย ในการเลือกสถานที่ควรเลี่ยงบริเวณใกล้โรงงานที่ปล่อยน้ำร้อนลงในแหล่งน้ำ

• ความเป็นกรด–ด่าง น้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาควรมีpH ระหว่าง 6.5 – 8.5 สำหรับแหล่งน้ำกร่อยโดยทั่วไปควรมีpH อยู่ในช่วง 7.5 – 9.0 ค่อนข้างเป็นด่างเล็กน้อย น้ำจืดที่เป็นกรดทำให้ปลาอ่อนแอเป็นโรคได้ง่าย

• ระดับความลึกของน้ำ บริเวณที่ตรึงกระชังควรมีความลึก 4 เมตร หรืออย่างน้อยควรให้ก้นกระชังห่างจากพื้นน้ำ 1 เมตร ในขณะที่
น้ำต่ำสุด เพื่อไม่เป็นการรบกวนสัตว์หน้าดินโดยไม่จำเป็น และยังช่วยลดการติดเชื้อของปลาให้ น้อยลงด้วย

• กระแสน้ำ กระแสน้ำจะช่วยพัดพาเศษอาหารและของเสียออกไปนอกกระชัง เกิดการถ่ายเทของน้ำ ถ้ากระแสน้ำไหลแรงมากเกินไป ปลาจะต้องใช้พลังงานส่วนหนึ่งในการทรงตัวทำให้เจริญเติบโตช้า แต่ถ้ากระแสน้ำไหลช้าเกินไป จะทำให้เกิดการหมักหมมในกระชัง อัตราความเร็วของกระแสน้ำที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 0.2 – 0.5 เมตรต่อวินาที

•อาหารธรรมชาติ แหล่งน้ำที่มีอาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอน ลูกกุ้ง ลูกปลาที่อุดมสมบูรณ์จะมีส่วนช่วยให้ปลาเจริญเติบโตและแข็งแรง

• พื้นน้ำ การเลี้ยงปลาในกระชังสามารถทำได้ทุกสภาพพื้นน้ำ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรเลือก ลักษณะพื้นน้ำที่เป็นเลนปนทราย เพื่อสะดวกในการทอดสมอ และไม่มีสารอินทรีย์สะสมมาก เหมือนพื้นน้ำที่เป็นดินโคลน หรือดินเลน

•ความเค็ม ในกรณีที่เลี้ยงปลาน้ำกร่อยหรือปลาทะเล ควรเลือกแหล่งน้ำที่มีความเค็มคงสภาพอยู่เป็นเวลานานไม่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มอย่างกะทันหัน

2. สภาพแวดล้อม หมายถึง สถานที่ใกล้แหล่งพันธุ์ปลา สามารถหาซื้ออาหารได้ง่าย และราคาถูก มีการคมนาคมที่สะดวกเป็นประโยชน์ในการลำเลียงพันธุ์ปลาและอาหาร หาแรงงานในท้องถิ่นได้ง่าย ไม่มีโจรผู้ร้าย ปราศจากศัตรูและภัยธรรมชาติ และไม่ขัดต่อกฎหมายการทำประมงและการสัญจรทางน้ำและการสัญจรทางน้ำ


No comments
Back to content