การลำเลียงพันธุ์ปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การลำเลียงพันธุ์ปลา

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลานิลในกระชัง
การลำเลียงพันธุ์ปลา

ก่อนการลำเลียงพันธุ์ปลาที่ต้องขนส่งระยะไกล มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอดอาหารปลาที่ถูกลำเลียง 12-24 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารได้ถูกขับถ่าย หรือใช้ให้หมดก่อน ช่วยลดของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างการลำเลียง สำหรับการลำเลียงพันธุ์ปลามีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ การลำเลียงแบบภาชนะปิด และแบบภาชนะเป็ด

การลำเลียงแบบภาชนะปิด เป็นภาชนะที่มีแพร่หลายในปัจจุบัน ภาชนะปิดจำเป็นต้องอัดออกซิเจนหรืออากาศใส่ลงไปในภาชนะก่อนปิด เพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนในภาชนะลำเลียง ในปัจจุบันนิยมใช้ถุงพลาสติกเป็นภาชะเนื่องจากราคาถูกและสะดวก เว้นการลำเลียงพันธุ์ปลาขนาดใหญ่จำเป็นต้อง ใช้ภาชนะโลหะหรือถังชนิดอื่นๆที่มีฝาปิด

การลำเลียงแบบภาชนะเปิด ภาชนะที่ใช้ในการลำเลียงมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน ตามท้องถิ่น ภาชนะลำเลียงอาจเปิดฝาหรือปิด ฝาแต่มีรูถ่ายอากาศเข้า-ออก ในภาชนะลำเลียงได้ ภาชนะดังกล่าวอาจทำด้วยโลหะพลาสติก เป็นตะกร้าไม้ไผ่สานและทาด้วยซั้น ถังไม้ ฯลฯ การลำเลียงพันธุ์ปลาที่ต้องขนส่งจำนวนมากในระยะไกลๆ จำเป็นต้องมีเครื่องให้อากาศหรือออกซิเจนท่อโดยตรงไปยังถังลำเลียง วิธีการดังกล่าวนี้เหมาะสมสำหรับการนำพันธุ์ปลาขนาด
ใหญ่เพื่อไปจำหน่ายในตลาดในลักษณะยังมีชีวิอยู่ หรือเป็นพันธุ์ปลาที่ผู้ซื้อนิยมซื้อปลาซึ่งจะทำให้มีราคาสูงขึ้นและผู้ซื้อมีความนิยม

เทคนิคที่ช่วยให้การลำเลียงพันธุ์ปลามีประสิทธิภาพ

1.อุณหภูมิ การควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ ในระดับค่อนข้างต่ำและคงที่จะช่วยให้อัตรารอดตายของปลาสูงขึ้น เนื่องจากจะช่วยลดอัตราการเผาผลาญพลังงานของปลาขณะลำเลียง ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลำเลียงพันธุ์ปลา คือ ตอนเย็น กลางคืน หรือตอนเช้า หากมีความจำเป็นต้องลำเลียงในเวลาอื่น หรือขณะอุณหภูมิสูง ต้องหาทางลดอุณหภูมิ เช่น ลำเลียงในรถยนต์ที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือใช้น้ำแข็งใส่ในภาชนะ ลำเลียงเพื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลง

2.เกลือแกง การเติมเกลือแกงในน้ำที่ใช้ลำเลียงจะช่วยให้ปลาปรับตัวคืนสู่สภาพปกติได้ไม่ยาก นอกจากนี้เกลือยังทำให้ค่าความเป็นต่าง (alkalinity) และค่าความกระด้าง (hard ness) สูงขึ้น การเปลี่ยนค่าความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) จึงมีน้อยลงจะทำให้อัตราการรอดตายสูงขึ้น

3. ยาสลบ เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ช่วย ในการลดอัตราการเผาผลาญพลังงานระหว่างการลำเลียง ซึ่งนิยมใช้ในปลาที่มีขนาดใหญ่หรือมีราคาแพง

4. ยาเหลือง เป็นสารเคมีที่สามารถนำ มาใส่ในน้ำที่ใช้ในการลำเลียงพันธุ์ปลา ช่วยในการป้องกันการติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการขนส่ง

5. น้ำที่ใช้บรรจุในการลำเลียง ที่สำคัญมากสำหรับการลำเลียงพันธุ์ปลา ควรเป็นน้ำกรองและสะอาด หากเป็นไปได้ควรเป็นน้ำที่มาจากแหล่งเดียวกับที่ใช้ขังปลาก่อนลำเลียง

No comments
Back to content