โรคปลานิล - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคปลานิล

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลานิลในกระชัง
โรคปลานิล

เนื่องจากปัจจุบันผลผลิตปลานิลยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ดังนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จึงเร่งเพิ่มกำลังการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ โดยการปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นมาก ในกรณีนี้หากฟาร์มใดขาดการจัดการที่ดีจะเป็นผลให้สิ่งแวดล้อมในบ่อไม่เหมาะสม ทำให้ปลาเกิดความเครียดเป็นสาเหตุให้เกิดได้ง่าย ซึ่งพอจะแบ่งโรคของปลานิลออกตาม สาเหตุได้ดังนี้

โรคที่มีสาเหตุมาจากปรสิตภายนอก
ปรสิตภายนอกที่ทำอันตรายต่อปลานิลมีหลายชนิด โดยปรสิตจะเข้าเกาะในบริเวณ เหงือก ผิวหนังและครีบ ทำให้ปลาเกิดความระคายเคืองเกิดบาดแผล ส่วนพวกที่เกาะบริเวณเหงือกจะทำให้มีผลต่อระบบการแลกเปลี่ยนก๊าซทำให้ปลาเกิดปัญหาขาดออกซิเจนได้
ชนิดของปรสิตภายนอกได้แก่
1. โปรโตชั่ว พยาธิในกลุ่มนี้จะทำลายกับลูกปลามากกว่าปลาขนาดใหญ่ ซึ่งชนิดของโปรโตชั่วที่พบบ่อย ได้แก่ เห็บระฆัง Trichodina Sp., Chilodonela Sp., Ichthyophthirius multifilis, Epistylis Sp., SCyphidia Sp., ApioSoma Sp. และ Ichthyobodo Sp.
การรักษา : ใช้ฟอร์มาลิน (for malin) อัตราขัมข้น 5-50 ppm

2. ปลิงใส ได้แก่ Gyroactylogyrus Sp. พวกนี้จะเข้าเกาะบริเวณเหงือก ทำให้เหงือกมีผิวหนาขึ้น หรือเกิดอาการบวม ทำให้ปลาหายใจไม่สะดวก
การรักษา : เช่นเดียวกับ โปรโตชั่ว

3. ครัสเตเซียน ได้แก่ Arhulus Sp., ErgasiluS Sp., และ Lamproglena Sp. ปรสิตในกลุ่มนี้ ส่วนของอวัยวะที่มีปลายแหลม ฝังเข้าไปในเนื้อปลาเพื่อช่วยในการยึดเกาะและ/หรือกินเซลล์ หรือเลือดของปลาเป็นอาหารซึ่งทำอันตรายต่อปลาอย่างรุนแรง ทำให้ปลาเกิดแผล ขนาดใหญ่ และสูญเสียเลือด ถ้าพบเป็นปริมาณมากจะทำให้ปลาตายอย่างรวดเร็ว ปรสิตกลุ่มนี้มักพบในปลานิลที่เลี้ยงในกระชังเป็นส่วนใหญ่
การรักษา : ใช้ดิพเทอร์เรกซ์ (Dipterex)ในอัตราความเข้มข้น 0.25-0.5 ppm แช่ตลอด

โรคที่มีสาเหตุมาจากปรสิตภายใน
ปรสิตกลุ่มนี้ มักพบอยู่ในทางเดินอาหาร และไม่ทำอันตรายต่อปลามากนัก
1. โปรโตชั่ว ชนิดที่พบในลำไส้ ได้แก่ Eimeria Sp. ถ้ามีเป็นปริมาณมากจะทำให้ปลาผอมได้ ส่วนอีกชนิดพบในระบบหมุนเวียนโลหิตได้แก่ Trypanosoma Sp. ปรสิตชนิดนี้แม้จะตรวจพบในระบบเลือดของปลานิล แต่ยังไม่มีรายงานแน่ชัดว่าทำให้ปลานิลป่วยหรือตายได้
2. เมตาชัว ได้แก่ digenetic, trematodes, Cestodes, mematodes และ aแanthocephalan

โรคที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย
1. โรคตัวด่าง เกิดจากFlexibacter columnaris พบในปลานิลที่เลี้ยงน้ำจืด ส่วนปลานิลที่เลี้ยงน้ำกร่อยจะเป็นชนิด F. maritimus โรคนี้มักพบในช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ในช่วงอากาศเย็น ในช่วงฝนตกหนัก และหลังจากการขนย้ายปลา ปลาที่พบว่ามีอาการตัวด่างมักตายในเวลาอันรวดเร็ว ถ้าไม่รีบทำการรักษาทันทีปลาจะตายหมดบ่อภายใน 24-48 ชั่วโมง
การรักษา : ใช้ยาเหลือง acriflavin แช่ ในอัตราความเข้มข้น 1-3 ppm ถ้าลูกปลาที่อนุบาลในบ่อปูนหรือถังไฟเบอร์อาจใช้ด่าง ทับทิมในอัตราความเข้มข้น 2-4 ppm แช่ตลอด

2. โรคติดเชื้อ Aeromonas ปลาจะมีอาการตกเลือดตามตัว ท้องบวมมีเลือดปนน้ำเหลืองในช่องท้อง หรือมีแผลหลุม
การรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหาร ในอัตรา 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินนาน 5-7 วัน

3. โรคติดเชื้อ Streptococcus ปลามีอาการตาขุ่น ตาบอด หรือตกเลือดในลูกตา บางครั้งพบว่าใต้คาง หรือช่องขับถ่ายมีอาการบวมแดง มีน้ำเลือดภายในช่องท้อง โรคนี้จะเป็นลักษณะของโรคที่เรื้อรังคือปลาจะแสดงอาการของโรคช้าและเป็นระยะเวลานานกว่าปลาจะตาย
การรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหาร ในอัตรา 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินนาน 5-7 วัน

โรคที่เกิดจากเชื้อรา
ราเป็นสาเหตุของโรค ได้แก่ Achlya Sp. และ Aphanomyces Sp. ทำให้ปลาเกิดแผลและบริเวณแผลจะมีเส้นสีขาวคล้ายขนขึ้นฟูเป็นกระจุก ปลาป่วยจะกินอาหารน้อยลง

โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส
ในประเทศไทยยังไม่มีรายงาน

การป้องกันการเกิดโรค

1. ระวังไม่ให้ปลาเกิดความเครียด โดยการดูแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นจนเกินไป มีการถ่ายเทน้ำ ให้อาหารที่มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม

2. เมื่อนำปลาใหม่เข้ามาในฟาร์ม ควรจะแช่ฟอร์มาลินในอัตราความเข้มข้น 25-30 ppm (ส่วนในล้าน) เพื่อกำจัดปรสิตที่อาจติดมากับตัวปลา

3. เมื่อมีการขนส่งปลา ควรแช่เกลือใน อัตรา 0.1-0.5% เพื่อลดความเครียดให้กับปลา

4. ซื้อพันธุ์ลูกปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าไม่เคยมีการระบาดของโรคปลา

5. ถ้ามีการนำผักตบหรือผักบุ้งใส่ลงในบ่อ ควรจะทำความสะอาดรากและใบของผัก ก่อน โดยการแช่ด่างทับทิมเข้มข้น 5 ppm นาน 10 นาที จึงล้างน้ำสะอาดก่อนใส่ลงในบ่อ เพื่อลดสปอร์ของเชื้อราและปรสิตที่อาจติดมา

No comments
Back to content