ปลานิลในกระชัง(บ่อดิน) - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลานิลในกระชัง(บ่อดิน)

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลานิลในกระชัง
ปลานิลในกระชัง(บ่อดิน)ที่แปดริ้ว เลี้ยง 70 ฟันกำไรแสนห้า
ปลานิล เป็นปลาเนื้อที่เลี้ยงง่าย มีรสชาติดี ออกลูกตก เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปลานิลได้ขยายไปสำคัญทางเศรษฐกิจอันดับต้นๆของประเทศไทย มีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่การเลี้ยงเพื่อการยังชีพไปจนถึงระดับ อุตสาหกรรมการประมงแบบครบวงจร เมื่อปลานิลกลายเป็นปลาเศรษฐกิจ จึงได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ทั้ง จากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ได้พันธุ์ปลานิลที่ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1, 2 และ3 ซึ่งเป็นผลงานการปรับปรุงพันธุ์ของกรมประมง

โดยธรรมชาติปลานิลเพศผู้จะโตเร็วกว่าเพศเมียมาก ทำให้เกิดความต้องการปลานิลเพศผู้ล้วนๆ ไป เลี้ยงมากกว่าปลานิลที่คละเพศ จึงมีผู้คิดค้นกระบวนการที่ทำให้ปลานิลเพศเมียกลายเป็นเพศผู้หรือไม่แสดงเพศเมีย ไม่มีรังไข่ ซึ่งจะทำให้ปลา
โตเร็วขึ้น

สำหรับกระบวนการดังกล่าวมีด้วยกันหลากหลายวิธี แต่วิธีการเปลี่ยนเพศปลาที่ได้รับความนิยม มีความปลอดภัยและใช้กันทั่วโลกคือการแปลงเพศปลานิลโดยการใช้ฮอร์โมนเพศผู้ มาผสมอาหารให้ลูกปลาวัยอ่อนที่ถุงไข่แดงเริ่มยุบหมดกิน ในระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้ปลาที่ได้รับฮอร์โมนกลายเป็น “ปลานิลเพศผู้หรือปลานิลหมัน เมื่อนำมาเลี้ยงเป็นปลาเนื้อจะโตเร็ว และมีความคุ้มค่ากว่าการใช้ปลานิลคละเพศมาก  ลูกพันธุ์ปลานิลเพศผู้ จึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลมาก โดยเฉพาะการเลี้ยงในกระชัง

จากความนิยมบริโภคปลานิลที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้เกษตรกรที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหรือ
บริเวณแหล่งน้ำขนาดใหญ่หันมาเลี้ยงปลานิลในกระชัง เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้กันมากขึ้น ในหลายพื้นที่ หรือแม้แต่ผู้ที่เคยเลี้ยงกุ้งหรือปลาเนื้อเป็นธุรกิจหลัก ก็ยังหันมาเลี้ยงปลานิลหมันในกระชัง (บ่อดิน) โดยใช้เครื่องตีน้ำเพิ่มออกซิเจน แม้ต้นทุนจะสูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับผลกำไรที่ได้รับก็ถือว่าคุ้ม

ดังเช่น ลุงสมาน บุญศรีสวัสดิ์ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลหมันในกระชัง (บ่อดิน) บ้านเลขที่ 66 หมู่ 3 ตำคลองขุด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีอาชีพหลักคือการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม โดยมีพื้นที่บ่ออยู่ราว 200 ไร่ และพื้นที่เลี้ยงปลาเบญจพรรณอีก 40 กว่าไร่ ประกอบ ไปด้วยปลานิล ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ และปลาจีน

เลี้ยงให้ดี ปลาไม่ตาย มีกำไรแน่
จุดเริ่มต้นที่หันมาเลี้ยงปลานิลหมันในกระชัง (บ่อดิน) ลุงสมานบอกว่า ตนเห็นชาว บ้านในละแวกนี้เลี้ยงแล้วได้ราคาดี โดยมีบริษัทเอกชนเข้ามาส่งเสริมให้เลี้ยงแล้วรับซื้อคืนในราคาประกัน ซึ่งในระหว่างนั้นน้องสาวของตนก็เลี้ยงอยู่ก่อนแล้ว 2-3 กระชัง ปรากฏว่าได้ผลกำไรเป็นที่น่าพอใจมาก จึงสนับสนุนให้ตนเลี้ยง


No comments
Back to content