เทคนิคการเพิ่มผลกำไร และลดของเสีย จากการเลี้ยงปลาในกระชัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

เทคนิคการเพิ่มผลกำไร และลดของเสีย จากการเลี้ยงปลาในกระชัง

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง
เทคนิคการเพิ่มผลกำไร และลดของเสีย จากการเลี้ยงปลาในกระชัง

สิ่งที่ผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงอันดับแรกคือ ชนิดของปลาที่เลี้ยงในกระชัง ควรเป็นปลาที่เลี้ยงรวมอย่างหนาแน่นได้ ให้ผลผลิตสูงต่อหน่วยพื้นที่ ใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้น เติบโตได้ทุกสภาวะ แข็งแรง ทนต่อสภาพน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้บ้าง มีความต้านทานต่อโรค และพยาธิภายนอกสูง เป็นที่นิยมบริโภค มีราคาจำหน่ายสูง

ความหนาแน่นของปลาในกระชัง
ความหนาแน่นของปลาในกระชัง ควรพิจารณาถึงปัจจัยดังนี้
-คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำตลอดฤดูการเลี้ยง
-อัตราการไหลของน้ำผ่านกระชัง
-ชนิดปลาที่เลี้ยง มีความทนทานในกรณีที่มีปริมาณออกซิเจนระดับต่ำแตกต่างกัน เช่น ปลาดุก ปลาแรด จะมีความทนทาน กว่าปลานิล และปลากด
- ปริมาณออกซิเจน ในกระชังที่เพียงพอต่อปริมาณปลาทั้งหมด
- อัตราการใช้ออกซิเจนของปลาแต่ละ ชนิด ขนาด และในสภาวะต่างๆ
จากปัจจัยต่างๆนี้ อัตราการปล่อยเลี้ยงที่เหมาะสมในแหล่งน้ำนั้นมีการปนเปื้อนของสารมลพิษจากกิจกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น อัตราการปล่อยเลี้ยงในระยะเวลาต่อมาจึงลดลง ผลผลิตปลาต่อกระชังจึงลดลง ดังนั้นอัตราการใช้ออกซิเจนของปลาขนาดต่างๆแต่ละชนิด จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดความหนาแน่นของการเลี้ยงปลาในกระชัง

ซึ่งอัตราการใช้ออกซิเจนของปลาแต่ละชนิด และแต่ละขนาดแตกต่างกัน จึงพบว่าความหนาแน่นของปลาที่เลี้ยงในกระชังขึ้นอยู่กับขนาดปลาและชนิดของปลา โดยทั่วไปแล้วปลาเล็กสามารถปล่อยเลี้ยงได้หนาแน่นกว่าปลาขนาดใหญ่ ดังนั้น การเลี้ยงปลาหนาแน่นในระยะเล็ก แล้วมีการคัดขนาดแยกปลาให้หนาแน่นน้อยลงในระยะใหญ่ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ใช้ประโยชน์กระชังคุ้มค่า และปลาจะมีการเจริญเติบโตดีใกล้เคียงกัน ลดปัญหาการแย่งอาหารระหว่างปลาขนาดเล็ก

อัตราการใช้ออกซิเจนของปลาทับทิมและปลาแรดขนาดต่างๆ (ที่อุณหภูมิ 27-28 องศาเซลเซียส) ในสภาวะทั่วไปที่มีกิจกรรมของร่างกายไม่มากนัก เช่น ว่ายน้ำช้าๆ

ชนิดปลา
ขนาด
(กรัม)

การใช้ออกซิเจนในสภาวะทั่วไป
(มิลลิกรัมต่อชั่วโมงต่อกิโลกรัมของปลา)
ออกซิเจนในน้ำที่ทำให้ตาย
(มิลลิกรัมต่อลิตร)

ปลาทับทิม



ขนาดใหญ่
500 – 650
0.12 – 0.07
0.2
ขนาดกลาง
250 – 350
0.12 – 0.15
0.2
ขนาดเล็ก
15 - 30
0.39 – 0.78
0.2
ปลาแรด



ขนาดใหญ่
590 – 650
00.1 - 0.04
0.2
ขนาดกลาง
350 – 450
0.02 - 00.3
0.4
ขนาดเล็ก
55-85
00.9 – 0.14
0.4
ขนาดเล็กน้อยกว่า 10
0.21 - 0.34
1.4
โดยทั่วไปแล้วความต้องการออกซิเจนในน้ำสำหรับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ควรมีปริมาณออกซิเจนในน้ำไม่น้อยกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการออกซิเจนของสัตว์น้ำและความต้องการออกซิเจนของสิ่งมีชีวิตในน้ำ เช่น แพลงก์ตอน ตลอดจนความต้องการออกซิเจนของแหล่งน้ำสำหรับการย่อยสลายเศษอาหาร สิ่งขับถ่ายของปลา รวมทั้งออกซิเจนสำหรับย่อยสลายอินทรีย์สารในตะกอนดิน

นอกจากนี้ในสภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น สภาวะน้ำไหลแรง หรือเกิดภาวะน้ำขุ่นอย่างฉับพลัน ปริมาณความต้องการออกซิเจนในน้ำของปลานิลที่เลี้ยงในกระชัง จะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นถึง 3-4 เท่าจากสภาวะปกติ และปลาแรด จะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น 3-5 เท่า จึงพบปลาขนาดใหญ่ตายเป็นจำนวนมากเนื่องจากขาดออกซิเจน แม้ว่าจะมีความต้องการออกซิเจนเมื่อเทียบต่อน้ำหนักตัวและต่ำกว่าปลาขนาดเล็ก แต่ ปลามีขนาดใหญ่ต้องการออกซิเจนต่อการหายใจครั้งๆหนึ่ง ในปริมาณมากกว่า จึงขาดอากาศได้ง่าย ส่วนปลาขนาดเล็กมีความทนทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมน้อยโดยเฉพาะ ความขุ่น จึงมักตายเนื่องจากตะกอนดินเกาะ เหงือกทำให้หายใจได้น้อย จึงเกิดการตาย


No comments
Back to content