การปล่อยลูกปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การปล่อยลูกปลา

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง
การปล่อยลูกปลา
เนื่องจากการเลี้ยงในกระชังในลำน้ำนั้นการควบคุมคุณภาพน้ำจะกระทำได้ยากหรือแทบจะไม่ได้เลย จึงต้องหันมาเตรียมตัวปลาให้แข็งแรงก่อนปล่อยจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ขณะที่ลูกปลาอยู่ในโรงเพาะฟักควรจะต้องมีการปรับระหว่างคุณภาพน้ำในถุงที่ขนส่งลูกปลามากับน้ำในกระชังที่จะปล่อย โดยค่อยๆ ให้น้ำในกระชังไหลเข้ามาในถุงลูกปลา หลังจากที่แช่ถุงไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิแล้ว จากนั้นจึงปล่อยออก หากเป็นไปได้ควรจะปล่อยปลาในตอนเช้าตรูและควรเป็นช่วงที่ไม่มีอากาศแปรปรวน

อัตราการปล่อย
ปลาที่ปล่อยลงขุ่นในกระชัง ควรมีขนาด 50-100 กรัม ปล่อยในอัตราความหนาแน่น 50- 120 ตัว/ลูกบาศก์เมตร โดยจะขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่เลี้ยง

ระยะเวลาการเลี้ยง
ปล่อยปลาขนาด 50 – 100 กรัม ใช้เวลาเลี้ยง 79 - 90 วัน จะได้ปลาขนาด 2 - 3 ตัว/กิโลกรัม ผลผลิตประมาณ 25 – 60 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

อาหาร
การเลี้ยงปลาทับทิมที่จะทำเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงในหลายๆด้าน อาหารของปลากินเป็นอีกด้านหนึ่งที่ควรคำนึงถึง อาหารที่เหมาะสมที่จะใช้เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังควรจะมีคุณภาพสูง จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของปลาทับทิมสูง (ADG สูง) อัตราแลกเนื้อต่ำ (FCR ต่ำ) จะทำให้ต้นทุนต่ำแต่ได้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง และระยะเวลาการเลี้ยงสั้น ปริมาณอาหารที่ให้แก่ปลานั้นจะต้องไม่มาก(ทำให้สูญเสียอาหาร) หรือน้อยเกินไป(ปลาอ่อนแอ) ต้อง ให้ปริมาณที่พอเหมาะการให้อาหารควรให้บ่อยๆ ครั้ง (ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน) โดยที่ปริมาณอาหารที่จะให้ต่อวันยังคงเท่าเดิม จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้อาหารปลาได้เป็นอย่างดี (ย่อยและดูดซึมเร็ว)

การจัดการ
เกษตรกรจะต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นกับปลาที่เลี้ยงมีการจดบันทึกข้อมูลทุกอย่างตลอดระยะเวลาในการเลี้ยง เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการผลิตของตัวเกษตรกรเอง มีการทำความสะอาดดูแลกระชังเป็นประจำสม่ำเสมอ กรณีที่มีปลาป่วยหรือตายจะต้องมีการจดบันทึกวันที่เกิดอาการจำนวนตัวตายแต่ละวันต่อกระชังและต้องรีบนำปลาที่ป่วยใกล้ตายและถ้าตายแล้วออก จากกระชังโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้ติดปลาตัวอื่นในกระชัง

ภาวะวิกฤติ
ภาวะวิกฤติเป็นภาวะที่มีความเครียด เกิดขึ้นกับปลาที่เลี้ยงอย่างรุนแรง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ปลาเป็นโรคในเวลาต่อมา ภาวะนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพน้ำและสภาพอากาศ เมื่อไรก็ตามเมื่อเกษตรคาดว่าจะเกิดภาวะนี้ขึ้น จะต้องปรึกษานักวิชาการหรือสัตว์แพทย์เพื่อหาทางลดความเสียหายอันจะเกิดขึ้นตามมาให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่เกิดเลย

ภาวะเครียดที่มักพบบ่อย ซึ่งจะเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดโรค เช่น ช่วงเปลี่ยนตัวฤดู ร้อน-ฝน ฝน-หนาว ในฤดูกาลบางฤดูที่มีผลต่อ คุณภาพน้ำ เช่น ฤดูร้อน ฤดูหนาว รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสูตรหรือชนิดอาหาร นอกจากนี้ภาวะเครียดมักเกิดจากการอดอาหาร การขนส่ง การตีอวนจับ การได้รับการป่นเปื้อนยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง และน้ำเน่าเสีย เป็นต้น ดังนั้นเกษตรกรควรระวังเหตุการณ์เหล่านี้ไว้

No comments
Back to content