ต้นทุนกระชังช่องละหมื่น - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ต้นทุนกระชังช่องละหมื่น

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง
ต้นทุนกระชังเบ็ดเสร็จช่องละหมื่น
พูดถึงกระชังที่ใช้เลี้ยงปลาทับทิมคุณ นันทภพบอกว่า ตนจะใช้เหล็กทำโครงสร้างต่อกันเป็นแพ ซึ่งมีด้วยกัน 2 แถว โดยใช้เหล็กเชื่อมต่อกันเป็นทางเดินเข้าถึงกันทุกกระชัง และ ใช้ไม้แปรที่เป็นวัสดุเหลือใช้มาเป็นตัวเสริม บริเวณทางเดิน ด้านล่างใช้ถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรเป็นทุ่นลอย ส่วนเนื้ออวนที่ใช้เลี้ยงปลาใหญ่จะเป็นเนื้ออวนที่มีขนาดตาอวน 3 เซนติเมตร เย็บติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม

หลักๆ ผมจะมีกระชัง 2 ขนาดด้วยกัน คือ

1. ขนาดความกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 2.5 เมตร เป็นกระชังแถวใน ถ้าช่วงที่น้ำ ถ่ายเทดีๆ สามารถปล่อยเลี้ยงได้ถึง 2,000 ตัวต่อกระชัง

2. ขนาดความกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร ลึก 2.5 เมตร เป็นกระชังแถวนอก

ถ้าอยู่ในช่วงที่มีน้ำ ไหลผ่านและมีออกซิเจนสูงๆสามารถเลี้ยงปลาได้ 1,700-1,800 ตัวต่อกระชัง แต่ในกรณีที่น้ำไม่เดินหรือน้ำนิ่ง ผมจะลดจำนวนลงเหลือ 1,500 ตัวต่อกระชัง ลดความหนาแน่นเพื่อเพิ่มอัตราการรอด ตอนนี้ต้นทุน กระชัง ทั้งเหล็ก ทั้งทุนลอย (8 ถัง) และเนื้ออวน เป็ดเสร็จรวมแล้วประมาณ 10,000 บาทต่อช่องครับ” คุณนันทภพกล่าว

น้ำดี 4 เดือน ได้ตัวละ 8 ขีดถึง 1.2 กิโลกรัม
การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังของคุณ นันทภพ ส่วนใหญ่ก็คล้ายกับการเลี้ยงของเกษตรกรทั่วไป แต่สิ่งที่เขาให้ความสำคัญไม่น้อย กว่าแหล่งน้ำที่ใช้เลี้ยงนั้นคือ การคัดเลือกพันธุ์ โดยจะคัดเลือกลูกพันธุ์ปลาที่มีความแข็งแรง ต้านทานโรค และมีขนาดใกล้เคียงกัน

เมื่อเข้าสู่โปรแกรมการอนุบาลลูกปลา คุณนันทภพจะให้ยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบ ผสมกับอาหารให้ลูกปลากินติดต่อกันประมาณ 3-7 วัน เพื่อรักษาแผลที่เกิดจากการขนย้าย เมื่อลูกปลาแข็งแรงดีแล้ว จะถ่ายลงกระชังปลาใหญ่ แล้วให้กินอาหารปลาดุกเบอร์ 1 และเบอร์ 2 โปรตีน 30-31 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใช้แทนอาหารปลาทับทิม สามารถช่วยลดต้นทุนค่าอาหารได้ร่วม
ร้อยบาท/กระสอบ โดยแบ่งให้กินวันละ 4 รอบ จนกระทั่งครบกำหนดจับส่งตลาด

“ลูกพันธุ์ปลาที่ผมนำมาเลี้ยงมีด้วยกัน 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1. ได้มาจากฟาร์มเพาะลูกปลาในจังหวัดสระบุรี และ ส่วนที่ 2 ได้มาจากฟาร์ม เพาะลูกปลาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นลูกปลาไซซ์ 40 ตัวต่อกิโลกรัม สามารถปล่อยเลี้ยงในกระชังปลาใหญ่ได้เลย แต่มีต้นทุนสูง สำหรับลูกพันธุ์ ส่วนที่ 1 เป็นปลาไซซ์ขนาดเท่าใบมะขาม ผมจะอนุบาลในกระชังตาข่ายสีฟ้าประมาณ 10-15 วัน จนได้ขนาด 5 กรัม ก็ย้ายลงไปกระชัง ตาข่ายสีแดงขนาดตาอวน 1 เซนติเมตร อนุบาลต่อไปอีกประมาณ 50 วัน จากนั้นก็ถ่ายลงกระชังตาอวน 3 เซนติเมตร ถ้าน้ำถ่ายเทดีๆ 4 เดือน ปลาจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 8 ขีด จนถึง 1.2 กิโลกรัม ก็จับขายได้แล้วครับ” คุณนันทภพกล่าว

No comments
Back to content