การตรวจวินิจฉัยโรคกบและ ข้อดีข้อเสีย
บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงกบในกระชัง
การตรวจวินิจฉัยโรคกบ
1.สามารถทำได้โดยการดูจากอาหาร และลักษณะของการเกิดโรคในตัวกบ รวมทั้งน้ำ เชื้อจากเลือด หรือน้ำในช่องท้อง หรือจากอวัยวะ ภายในเช่น ตับ ไปเพาะเลี้ยงแล้วทำการพิสูจน์ ว่าเป็นโรคชนิดใด? นอกจากนี้ควรทดสอบความไวของเชื้อต่อตัวยาด้วยเพื่อประสิทธิภาพในการรักษา
2. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบเป็นครั้งคราว คือเชื้อไมโครกรัมแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นตุ่มตามผิวหนังและอวัยวะภายใน เชื้อสแตปฟิลโลค็อกคัส อิพิสเดอมิส ที่ทำให้เกิดเป็นหนองตามผิวหนังหรือตามขา
3. โรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ เชื้อซาโพเล็กเนีย เป็นเชื้อราที่พบทั่วไปในน้ำ เชื้อชนิดนี้สามารถทำอันตรายต่อกบได้เช่นกัน โดยโรคจากเชื้อราอาจจะเกิดร่วมกับโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น กรณีที่กบเป็นโรคขาแดง และผิวหนังมีบาดแผล เชื้อราชนิดนี้เข้ามาเกาะตามบาดแผลทำให้บาดแผลมีอาการรุนแรงเสียหายมากขึ้น ฉะนั้นในการรักษาจำเป็นต้อง ใช้ยาฆ่าเชื้อราร่วมกับยาปฏิชีวนะ
4. โรคที่เกิดจากสารพิษ มีสารพิษหลายชนิดที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของกบทั้งทางตรงและทางอ้อม สามารถทำให้กบตายได้ทันทีทันใด หรือทำให้เกิดอาการเรื้อรัง สารพิษต่างๆเหล่านี้ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อใช้ยาดังกล่าวแล้วควรล้างทำความสะอาด
ข้อดีของการเลี้ยงกบในกระชัง
1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือพื้นที่ทุ่งไร่ ทุ่งนาได้ดีมากๆ
2. อายุการใช้งานของกระชังเฉลี่ย 2-3 ปีต่อกระชัง
3. เปลี่ยนถ่ายน้ำได้บ่อยๆและง่าย รวดเร็วกว่าแบบอื่นๆมาก ถ้ามีน้ำคลองสามารถเปิดให้ไหลผ่านหมุนเวียนได้ตลอด จะดีที่สุด กบจะไม่มีโรคและไม่เปลืองค่ายารักษาโรค
4. ให้อาหารง่าย ไม่เปลืองอาหารมากนัก เหมือนๆกับการเลี้ยงในบ่อปูน
5. ควบคุมดูแลโรคได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ เหมือนๆกับการเลี้ยงในบ่อปูนแต่ด้อยกว่าเล็กน้อย เป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้อย่าง และคุ้มค่าที่สุดอีกแบบหนึ่ง
7. สามารถจับกบขายได้ตลอดเวลา
8. กบไม่มีกลิ่นอับติดตัว เพราะเลี้ยงใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด
9. กบมีพยาธิน้อยเพราะไม่ได้สัมผัสดินโคลนโดยตรง
10. จำนวนกบที่รอดชีวิตจนจับขายได้มีสูงกว่าปอดินธรรมดามาก
ข้อเสียของการเลี้ยงกบในกระชัง
1. หากผู้เลี้ยงมีอายุมาก จะเสี่ยงต่อการเป็นลมแดด จมน้ำเสียชีวิตได้เพราะอาจต้องใช้ สะพานเดินลงไปให้อาหารภายในบ่อ (ถ้าบ่อ ใหญ่ แนะนำกระชังแบบตั้งบนพื้นดิน เติมน้ำใช้เลี้ยงกบได้ทันที ทั้งประหยัดและปลอดภัยที่สุด
2. ลงทุนสูงกว่าเลี้ยงกบในบ่อดินธรรมดา แต่ต้นทุนน้อยกว่าการสร้างบ่อปูน
3. ถ้าน้ำเสีย กบในบ่อทุกกระชังจะต้อง ได้รับผลกระทบพร้อมกันหมดทั้งบ่อ เป็นโรค แล้วควบคุมหรือรักษาให้หายค่อนข้างยากกว่า บ่อปูนพอสมควร
4. ถ้าทำกระชังไม่ดีพอหรือเลี้ยงเองโดยขาดความรู้กระชังมักจะมีรูรั่วหรือขาด โดยที่เราไม่รู้ จนกบหนีไปหมดในที่สุด
5. ต้องรื้อถอนและทำกระชังใหม่เมื่อ ครบระยะเวลา 2-3 ปีทำให้ต้องลงทุนค่ากระชังอีกครั้ง
6. ถ้าเลิกเลี้ยงต้องรื้อถอนกระชังออกและต้องซื้อดินมาถมบ่อ สิ้นเปลืองมากๆ
No comments