เลี้ยงกบในกระชังบก ต้นทุนต่ำ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

เลี้ยงกบในกระชังบก ต้นทุนต่ำ

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง > การเลี้ยงกบในกระชัง
เลี้ยงกบในกระชังบก ต้นทุนน้อย
กำไรดี การันตี พ่อแม่พันธุ์ขายคู่ละ 600ที่ ฟาร์มกบจังหวัดอุบลราชธานี

ชั่วโมงนี้ อาชีพเลี้ยงกบถือว่าเป็นอีกหนึ่ง อาชีพที่สร้างรายได้ไม่ธรรมดา ซึ่งถ้าหากใครสามารถเลี้ยงได้ครบวงจร จะมีรายได้เข้ากระเป๋า ไม่ต่ำกว่า 30,000-40,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว หรือถ้าสามารถหาตลาดล่วงหน้าได้อย่าง ต่อเนื่อง อนาคตจะมีรายได้เข้ากระเป๋าอย่างสม่ำเสมอ สร้างฐานะร่ำรวยได้แน่นอน

การเลี้ยงกบมีด้วยกันมากมายหลายวิธีที่ง่ายและประหยัดต้นทุนที่สุดกำลังได้รับความนิยมในขณะนี้คือ การเลี้ยงกบด้วย “กระชังบนดิน” หรือ“กระชังบก” เพื่อลดต้นทุนการสร้างบ่อปูนและการขุดบ่อดิน นอกน้ำน้อยกว่าบ่อปูนหรือบ่อ 3 ดิน โดยเลี้ยงด้วยน้ำระดับคอกบทุกช่วงอายุ ถ่าย น้ำสะดวก ปลอดภัยไม่ต้องกลัวลื่นล้ม คนสูงอายุก็ช่วยดูแลให้อาหารกบได้ กระชังเคลื่อนย้ายง่าย ประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยงและมีต้นทุนต่ำ

สำหรับเกษตรกรคนเก่งที่ผู้เขียนจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักคือ คุณสุวิจักษณ์ บุบฝา เจ้าของฟาร์มกบ ตั้งอยู่เลขที่ 45 หมู่ 8 ตำบลสำโรง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มเลี้ยงกบมาตั้งแต่ปี 2545 โดยอาศัยเนื้อที่ 2 งาน บริเวณข้างบ้านเป็นพื้นที่เลี้ยงกบ คุณสุวิจักษณ์ ยังปลูกมะม่วงหิมมะพานต์ มะพร้าวและต้นกล้วยไว้ท้ายนา เพื่อเป็นมรดกตกทอดให้กับลูกหลานอีกด้วย

เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงกบในกะลา
ก่อนจะหันมาเลี้ยงกบ คุณสุวิจักษณ์เล่าให้ทีมงานฟังว่า อาชีพหลักของตนคือ ทำนาและทำไร่ เลี้ยงหมู เลี้ยงหมู ซึ่งหันมาเลี้ยงกบเป็นอาชีพเสริมเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ขณะนั้นตนทดลองเลี้ยงกบในกะลามะพร้าวก่อน โดยไปจับกบรุ่นตามท้องนามาเลี้ยง เพราะสมัยก่อนถ้าคิดอยากจะกินกบ ก็ต้องรอช่วงฝนใหม่หรือฝนเดือนหก โดยออกไปหาจับกันตามหัวไร่ปลายนา ช่วงกลางคืนหลังฝนตก

“ผมเลี้ยงกบในกะลา โดยไปหากะลามะพร้าวมาเจาะรู พอให้เอาอาหารจำพวกปลาที่หั่นเป็นชิ้นๆ ใส่ให้กบกินได้ ถ้าส่องดูแล้วพบว่ากบกินไม่หมด ผมจะหาไม้ปลายแหลมทิ่มเอาอาหารที่เหลือออกมา สมัยก่อนผมจะเลี้ยงกบไว้นอกระเบียง โดยเลี้ยงประมาณ 3 เดือน  พอเปิดออกมาจะเห็นกบตัวใหญ่สีเหลือง แต่กบไม่ค่อยจะกระโดดมาก เนื่องจากกบไม่ค่อยมีแรง มีสภาพเหมือนกบจำศิลนั่นแหละครับ ตัวกบจะใหญ่และอ้วน หลังจากนั้นผมจะเอาไปขายให้ชาวบ้านเพื่อนำไปประกอบอาหารครับ” ลุงสุวิจักษณ์กล่าว

หันหลังให้ธุรกิจเลี้ยงหมูมุ่งหน้าสู่ธุรกิจเลี้ยงกบ
ช่วงนั้นกบนามีจำนวนมาก ทำให้กบกะลาของลุงสุวิจักษณ์ขายได้ราคาถูก เพราะยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เจ้าเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงกบแบบใหม่ โดยสร้างบ่อขึ้นมาแล้วนำกบตัวเมียกับตัวผู้มาใส่ในบ่อเพื่อให้ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ

“ช่วงที่ฝนตกลงมากบจะมาผสมพันธุ์กันเอง พอนอนเช้าจะสังเกตเห็นว่ามีไข่กบลอยเต็มบ่อ ผมไปเก็บพ่อแม่พันธุ์ออกจากบ่อเพื่อป้องกันไม่ให้มันกินไข่ครับ การเลี้ยงกบของผมค่อยทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ขยายที่ละเล็กละน้อย การเลี้ยงกบมีข้อดีคือ เลี้ยงง่าย ขายง่ายตลอด เมื่อมีช่องทางการตลาดผมจึงเพิ่มพื้นที่การเลี้ยงกบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ในระหว่างนั้นผมยังเลี้ยงหมูอยู่ด้วย แต่สู้ราคาอาหารไม่ไหวเลยเลิกเยง หลังจากนั้นผมก็หันมาเลี้ยงกบอย่างเต็มตัวครับ” ลุงสุวิจักษณ์กล่าวถึงจุดเริ่มต้น

No comments
Back to content