ส่วนประกอบของกระชังปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ส่วนประกอบของกระชังปลา

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง
ส่วนประกอบของกระชังปลา

ประเทศไทยมีการเลี้ยงปลาในกระชังมาเป็นเวลานานหลายสิบปี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจึงได้มีการพัฒนาสร้างกระชังหลาย รูปแบบแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น โดยส่วนประกอบของกระชังอาจแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้

1. โครงสร้าง โครงสร้างของกระชัง หรือแพ ใช้สำหรับเป็นที่แขวนลอยตัวกระชัง หรือเพื่อทำให้กระชังคงรูปอยู่ได้และแข็งแรงพอ สามารถต้านทานกระแสน้ำและคลื่นลมได้ดี กระชังจะต้องไม่เคลื่อนไหวมาก เพราะจะทำให้ปลาที่เลี้ยงตื้นตกใจ แล้วจะหยุดกินอาหารทำให้อ่อนแอ นอกจากนี้โครงสร้างของกระชังควรแข็งแรงพอต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำขึ้นลง และควรมีทางเดินเพื่อง่ายต่อการดูแลรักษา วัสดุที่ใช้ในการสร้างโครงกระชังสามารถใช้วัสดุได้หลายอย่าง แต่ควรคำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญด้วย เช่น
ก. เหล็ก หรือ ท่อประปา มีอายุการใช้ งานประมาณ 5 – 8 ปี
ข. ไม้แปรรูป มีอายุการใช้งานประมาณ 4 - 6 ปี
ค. ไม้ไผ่ หรือไม้เป้ง มีอายุการใช้งาน ประมาณ 1 - 2 ปี

2. ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและขังปลาให้อยู่ในพื้นที่จำกัดที่กำหนดไว้ วัสดุที่ใช้มีตั้งแต่เนื้ออวนจำพวกไนลอน โพลีเอทธีลีน ซึ่งมีทั้งแบบมีปมและไม่มีปม หรือใช้วัสดุจำพวกไม้ เช่น ไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง และอาจจะ ใช้ตระแกรงชุบลวด แต่วัสดุดังกล่าวยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก

3.ทุ่นลอย เป็นส่วนที่ช่วยพยุงให้กระชัง สามารถลอยน้ำอยู่ได้ วัสดุที่ใช้เป็นทุ่นมีหลายชนิด การเลือกใช้ควรคำนึงถึงวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นและมีราคาถูก มีความสะดวกในการซ่อมแซม ใช้งานได้ทนทานและสามารถลอยน้ำได้ดี
4.ตุ้มถ่วงน้ำหนัก ใช้ประโยชน์สำหรับตรึงแพที่ใช้แขวนลอยกระชัง โดยใช้เชือกหรือสายสลิงค์ยึดแพกระชังทั้ง 4 มุม แล้วใช้ตุ้มถ่วง โดยฝั่งลงสู่พื้นดินใต้ท้องน้ำ และใช้เพื่อตรึงเนื้ออวนของกระชังให้ตึงอยู่เสมอ เมื่อมีกระแสน้ำ และกระแสลมพัดกระชังอวนก็จะไม่ไปรวมตัวไปอยู่ที่มุมใดมุมหนึ่ง

ชนิดของกระชังที่นิยมในประเทศไทย

กระชังไม้ไผ่ อายุการใช้งาน 2–3 ปี การสร้างอาจใช้วิธีการสานคล้ายซะลอม กระชังแบบนี้มีข้อเสียคือผิวไม่เรียบกระแสน้ำไหลถ่ายเทเข้าออกกระชังไม่สะดวก เศษอาหารเหลือตกค้างตามกันกระชัง และทำความสะอาดได้ยาก

กระชังไม้เนื้อแข็ง โครงร่างและตัวกระชังประกอบขึ้นด้วยไม้ทั้งหมด ไม้ที่ใช้ อาจเป็นไม้เนื้อแข็งหรือไม้ ไผ่ก็ได้แล้วแต่ผู้ใช้ ถ้าเป็นกระชังที่ทำด้วยไม้ไผ่ โดยทั่วไปมีขนาด 2X5X1.5 เมตร อายุการใช้งานประมาณ 1– 1 1/2 ปี กระชังไม้เนื้อแข็งขนาดที่นิยมใช้มี 3 ขนาด ได้แก่ 2.5X8X1.5 เมตร ขนาด 2.5X5X1.5 เมตร และ ขนาด 2.5X3X1.5 เมตร อายุใช้งานไม่ต่ำกว่า 5 ปี กระชังไม้นิยมติดตั้งให้ลอยน้ำได้ โดยใช้ทุ่มลอย เช่น แพ ลูกบวบ ถังน้ำมัน โฟม

กระชังอวนเป็นกระชังที่ทำด้วนเนื้ออวนไนล่อนหรือโพลีเอทธิลีน ส่วนมากเป็นเนื้ออวน ไม่มีปมขนาดตาอวนที่ใช้ส่วนมากมี 3 ขนาดคือ
1/4 นิ้ว ใช้เลี้ยงปลาขนาด 1 นิ้วขึ้นไป
1/2 นิ้ว ใช้เลี้ยงปลาขนาด 6-8 นิ้ว
1-1 1/2 นิ้ว ใช้เลี้ยงปลาขนาด 10 นิ้วขึ้นไป

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของกระชังชนิดต่างๆ

กระชังไม้
กระชังไม้จริง
กระชังอวน
อายุการใช้งาน (ปี)
2-3 ปี
มากกว่า 10 ปี
มากกว่า 5 ปี
การไหลของน้ำ
ไม่สะดวก ค่อนข้างดีดี
ความคงตัวของสภาพน้ำที่ไหลแรง
ต้านกระแสน้ำ ทนทานยอมให้น้ำไหลผ่าน ไม่คงตัว ลู่ตามน้ำ

No comments
Back to content