ความถี่การให้อาหาร - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ความถี่การให้อาหาร

บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชัง
ความถี่ในการให้อาหาร เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในปลาขนาดเล็กต่ำกว่า 70 กรัม ควรมีการให้อาหาร 3-4 มื้อ ส่วนปลาขนาด 70-200 กรัมควรให้อาหาร 3 มื้อต่อวันและปลาขนาดใหญ่กว่า 200 กรัมให้อาหาร 2 มื้อต่อวัน เนื่องจากการให้อาหารถี่เกินไปปลาจะกินอาหารมาก และได้รับโภชนาการมากเกินความต้องการ แม้ว่าปลาจะมีการเติบโต ดี แต่ก็มีไขมันสะสมในร่างกายมาก เป็นการสิ้นเปลืองอาหารโดยไม่จำเป็น บางครั้งปลากินอาหารจนน้ำย่อยที่มีไม่สมดุลกัน อาหารไม่ย่อยเป็นผลเสียต่อสุขภาพของปลา

นอกจากความถี่ในการให้อาหารจะมีผลต่อการเจริญเติบโตแล้ว ในขณะเดียวกันก็มีผลต่อการสูญเสียโภชนาการในน้ำ เนื่องจากทุกครั้งที่มีการให้อาหาร จะมีโภชนาการส่วนหนึ่งละลายสูญเสียไปในน้ำปริมาณมากน้อย ตามปริมาณอาหารและระยะเวลาที่อาหารอยู่ในน้ำ ก่อนที่ปลาจะกินอาหาร หากให้อาหารในความถี่ที่เหมาะสม ปลาจะมีการเจริญเติบโตได้ดี มีของเสียตกลงสู่แหล่งน้ำน้อย

ข้อดีของการปรับความถี่ของการให้อาหารให้เหมาะสมตามระยะเติบโต

- ปริมาณอาหารที่กินน้อยลง อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำ
- ใช้แรงงานในการเลี้ยงลดลง ค่าใช้จ่ายในการผลิตปลาลดลง
- อาหารที่ตกลงสู่แหล่งน้ำน้อยลง โภชนาการที่สูญเสียในน้ำน้อยลง
- ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมลดลง

ปริมาณการให้อาหาร
ปริมาณการให้อาหารมีความสัมพันธ์กับขนาดปลา และความถี่ในการให้อาหารโดยทั่วไป ปลาขนาดเล็กจะมีปริมาณอาหารกิน เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัวสูงกว่าปลาขนาดใหญ่ ดังนี้
ขนาดของปลา(กรัม)
อาหาร(%น้ำหนักตัว)
ความถี่(ครั้งต่อวัน)
25 – 100
2.5-4
3-4
100 - 200
2-2.5
2-3
200 –500
1.5-2
2
500 - 1,000
1.2-1.4
2
การปรับปริมาณการให้อาหาร

ในการเลี้ยงสัตว์น้ำควรมีการปรับปริมาณอาหารที่ให้ตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำขุ่นแดง อุณหภูมิสูง ระดับออกซิเจนในน้ำลดลง สัตว์น้ำจะเกิดความเครียด มีการใช้ สารอาหารที่สะสมในร่างกายมาก อัตราการใช้ออกซิเจนสูงขึ้น 2-8 เท่าของสภาวะปกติ ปลากินอาหารน้อยลง การลดปริมาณอาหารที่จะให้ลดของเสียที่ตกลงสู่แหล่งน้ำ และลดการใช้ออกซิเจนในร่างกายลงตามปริมาณออกซิเจนที่น้ำลดลง สัตว์น้ำจะทนต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น

วิธีให้อาหาร

วิธีการให้อาหารที่เหมาะสมจะเป็นแนวทางหนึ่งในการลดของเสียจากการเลี้ยงสู่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอาหารที่ให้มากเกินไป จนเหลือตกค้างลอยอยู่ในกระชังเป็นเวลานาน ดังนั้นเพื่อให้ปลากินอาหารหมด ขณะที่ให้อาหารแต่ละมื้อควรปฏิบัติ ดังนี้
- ฝึกปลาให้กินอาหารเป็นเวลาที่แน่นอน
- ให้สัญญาณก่อนให้อาหารทุกครั้ง เพื่อรวมปลา
- ให้อาหารแต่พออิ่ม อย่าให้มีอาหารเหลือลอยแช่น้ำ
- ควรให้ปลากินอาหารหมดใน ถ้าน้ำมีออกซิเจนต่ำ เช่น น้ำเขียว น้ำขุ่น น้ำร้อน ควรลดอาหารลง 30-50% หรืองดอาหาร 1 มื้อ

No comments
Back to content