การจับจำหน่าย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การจับจำหน่าย

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก
การจับจำหน่าย
หลังจากเลี้ยงปลาดุกจนโตได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการแล้วจึงทำการจับจำหน่าย ซึ่งฤดูหรือระยะเวลาที่ควรจับปลาดุกส่งจำหน่ายตลาดนั้นควรพิจารณาจับจำหน่ายในฤดูที่ปลาขาดแคลนจะทำให้ขายได้ราคาดี โดยทั่วไปแล้วราคาปลาดุกจะสูงขึ้นในช่วงฤดูแล้งเพราะปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลง โดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะขายปลาให้กับพ่อค้าคนกลางซึ่งมารับปลาไปส่งตลาดใหญ่อีกทอดหนึ่ง เมื่อปลาโตจนได้ ขนาดตามที่ต้องการแล้วผู้เลี้ยงจะต้องติดต่อกับพ่อค้าไว้ล่วงหน้า ก่อนถึงวันจับ 1 วันจะต้องงดให้อาหารและการถ่ายเทน้ำ เพื่อให้ปลาท้องว่างจะได้ไม่สำรอกอาหารออกมาในระหว่างการจับและลำเลียง

การจับปลาดุกที่เลี้ยงในบ่อดินจะใช้วิธีตีอวนเป็นคราวๆไป เนื่องจากพ่อค้าจะรับซื้อปลาจำนวนจำกัดในแต่ละครั้ง เมื่อตีอวนจนปลาเหลือน้อยจึงระบายน้ำออกและจับจนหมด เมื่อถึงวันจับผู้เลี้ยงจะลดระดับน้ำในบ่อลงจนเหลือประมาณ 50 เซนติเมตรพอที่จะตีอวนได้ จากนั้นใช้อวนลากรวบรวมปลามายังมุมด้านลึกของบ่อ แล้วใช้สวิงขนาดใหญ่ตักปลาขึ้นมาแล้วนำไปล้างโคลนออกจนสะอาด

ส่วนการจับปลาดุกที่เลี้ยงในบ่อคอนกรีตกลมสามารถทำได้ง่าย เพียงแต่เปิดท่อควบคุมระดับน้ำนอกบ่อออกน้ำก็จะไหลออกจากบ่อ ปริมาณของน้ำที่ไหลออกจากบ่อจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนรูรอบท่อระบายน้ำเสียที่ก้นบ่อ โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งก็หมด เมื่อน้ำแห้งก็ใช้สวิงจับ ซึ่งก่อนที่จะทำการจับจำหน่ายนั้นควรงดให้อาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และงดให้ยาปฏิชีวนะแก่ปลากินไม่น้อยกว่า 5-7 วัน และงดทำการถ่ายเทน้ำในบ่อ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปลาตายในระหว่างการจับหรือขนส่ง การจับควรจับออกจำหน่ายให้หมดภายในวันเดียวกัน ปลาดุกที่จับได้จากบ่อคอนกรีตกลมนี้ภายหลังจากที่ทำการคัดแยกขนาดและชั่งน้ำหนักแล้ว สามารถบรรจุลงลังได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องล้างเอาโคลนเลนออกเหมือนกับปลาดุกที่จับจากบ่อดิน

สำหรับวิธีการลำเลียงขนส่งปลาดุกที่นิยมในปัจจุบันคือ การลำเลียงขนส่งโดยใช้ลังปลา ซึ่งลังใส่ปลาดุกที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 ขนาดด้วยกัน คือลังขาดใหญ่ (50 x 90 x 30 เซนติเมตร) สามารถบรรจุปลาดุกได้ 70 กิโลกรัม และลังขนาดเล็ก (45 x 75 x 35 เซนติเมตร) สามารถบรรจุปลาดุกได้ 50 กิโลกรัม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ขนส่งด้วย หลังจากบรรจุปลาลงในลังได้ครบตามต้องการแล้วก็ทำการปิดฝ่ามัดให้แน่นและลำเลียงขนส่งไปขายยังตลาดต่อไป

No comments
Back to content