การผสมพันธุ์วางไข่ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การผสมพันธุ์วางไข่

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก
การผสมพันธุ์วางไข่
ปลาดุกที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะ วางไข่เมื่ออายุประมาณ 7-8 เดือนขึ้นไป โดยปลาดุกด้านจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน แต่จะวางไข่มากในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ของทุกปี ส่วนปลาดุกอุยจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-ตุลาคม แต่จะ วางไข่มากในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมของทุกปี ส่วนปลาดุกที่เลี้ยงใน บ่อสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้เกือบทั้งปี ในปีหนึ่งๆ ปลาดุกสามารถวางไข่ได้ ถึง 2 ครั้ง วางไข่ได้ครั้งละประมาณ 3,000-15,000 ฟอง โดยจะวางไข่ตาม บริเวณท้องนา คู คลอง หนอง บึง และในทำเลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับธรรมชาติ สำหรับลักษณะการผสมพันธุ์วางไข่ของปลาดุกเป็นดังนี้

1. ปลาดุกด้าน เมื่อถึงฤดูวางไข่ปลาดุกด้านจะจับคู่ผสมพันธุ์กัน โดยปลาตัวผู้เป็นฝ่ายขุดหลุมหรือโพรงหรือแอ่งสำหรับวางไข่ให้มีลักษณะกลม ระดับน้ำลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ปากหลุมหรือโพรงมีขนาดกว้าง 25-30 เซนติเมตร ลึกลงไปในดินประมาณ 25-30 เซนติเมตร ภายในบริเวณหลุมหรือโพรงจะลื่นเป็นมัน ส่วนที่ปากโพรงจะมีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นอยู่อย่าง งอกงามและปกปิดโพรงไว้อย่างดี

ปกติแล้วปลาดุกด้านมักจะเลือกวางไข่ในตอนเช้ามืดโดยจับคู่กันระหว่างปลาตัวผู้และปลาตัวเมีย ในขณะที่ปลาดุกด้านผสมพันธุ์กันนั้น จะสังเกตเห็นได้ว่าปลาตัวผู้และปลาตัวเมียจะว่ายน้ำเข้ามาอยู่ตรงบริเวณปากโพรงหรือหลุมวางไข่ตลอดเวลา ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายรัดพันปลาตัวเมีย โดยใช้ส่วนหัวและส่วนหางบีบรัดบริเวณลำตัวของปลาตัวเมีย ส่วนหัวของปลาตัวผู้จะหันเข้าหาส่วนท้องของปลาตัวเมียในลักษณะงอตัวเป็นรูปตัวยู (U) พ่อแม่ ปลารัดพันกันสักพักหนึ่งแล้วจะค่อยๆจมลงไปที่พื้นก้นหลุม หลังจากนั้นปลาตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาติดกับดินหรือรากหญ้าบริเวณก้นหลุม ปลาตัวผู้จะทำการไล่รัดเป็นระยะๆ จนกว่าตัวเมียจะไม่มีไข่ไหลออกมาอีกแล้ว ขณะ เดียวกันปลาตัวผู้ก็จะฉีดน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ภายนอก หลังจากวางไข่และผสมพันธุ์เสร็จแล้วปลาตัวผู้จะเฝ้าดูแลรักษาไข่ไปจนกระทั่งฟักออกเป็นตัว ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 25-26 ชั่วโมงภายใต้อุณหภูมิของน้ำประมาณ 27 ไข่ปลาดุกด้านเป็นประเภทไข่จม รวมกันเป็นแพแต่ไม่ช้อน มีลักษณะเป็นเม็ดกลม สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองปนน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.6 มิลลิเมตร ผนังไข่หนา ไม่มีหยดน้ำมัน ไข่ที่ดีจะมีลักษณะโปร่งแสง ส่วนไข่เสียจะทึบแสง

2. ปลาดุกอุย การผสมพันธุ์วางไข่ของปลาดุกอุยจะแตกต่างกับปลาดุกด้านคือ ปลาดุกอุยจะทำการวางไข่ในที่ตื้นๆ ตามท้องนาหรือทุ่งหญ้าที่มีน้ำขังในระดับลึก 20-30 เซนติเมตร หลังจากฝนตกใหม่ๆ ปลาตัวเมียจะกัดหญ้าหรือโคนต้นข้าวให้เป็นช่องว่างและทำดินบริเวณนั้นให้เป็นแอ่งค่อนข้างกลม พื้นก้นแอ่งจะถูกปลาถูไถจนลื่น แอ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 5-8 เซนติเมตร แล้วปลาจะวางไข่ติดกับรากหญ้าในส่วนที่ยื่นเข้าไปในแอ่ง ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่จมติดกับวัตถุ มีสีน้ำตาลเข้ม หลังจากปลาตัวเมียวางไข่แล้วปลาตัวผู้จะไล่ปลาตัวเมียออกนอกแอ่ง และตัวผู้จะเฝ้าดูแลรักษาไข่อย่างใกล้ชิดจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว ซึ่งการฟักไข่จะใช้เวลาประมาณ 24-30 ชั่วโมง

No comments
Back to content