การเตรียมบ่อใหม่ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเตรียมบ่อใหม่

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินเป็นวิธีที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป เพราะสามารถเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากในบ่อดินมีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ ลดค่าอาหารลงได้ อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงน้อย และยังช่วยป้องกันไม่ให้ปลาเกิดบาดแผลตามลําตัวได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยดูดซับของเสียจากตัวปลาได้ดีกว่าการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ซึ่งประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตปลาดุก จะได้มาจากการเลี้ยงในบ่อดินทั้งสิ้น

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินเป็นวิธีที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป เพราะสามารถเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากในบ่อดินมีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ ลดค่าอาหารลงได้ อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงน้อย และยังช่วยป้องกันไม่ให้ปลาเกิดบาดแผลตามลําตัวได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยดูดซับของเสียจากตัวปลาได้ดีกว่าการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ซึ่งประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตปลาดุก จะได้มาจากการเลี้ยงในบ่อดินทั้งสิ้น

การเตรียมบ่อ หลังจากขุดบ่อเรียบร้อยแล้วจึงทำการเตรียมบ่อให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเลี้ยง ซึ่งการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินจำเป็นจะต้องมีการเตรียมบ่อที่ดี มิฉะนันอาจเกิดปัญหาพื้นบ่อเน่าทำให้น้ำในบ่อเสีย และทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของปลาในที่สุด บ่อเลี่ยงปลาดุกที่เลี้ยงมานานหลายๆ ปีโดยไม่มีการดูแลบ่อจะพบปัญหาปลาเป็นโรคบ่อยๆ ยากต่อการแก้ไข ซึ่งการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินให้ประสบความสำเร็จได้นั้นการเตรียมบ่อเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติอย่างถูกต้อง

1. บ่อใหม่ บ่อขุดใหม่จะไม่มีปัญหาเรื่องเลนและศัตรูในบ่อ แต่จะมีปัญหาเรื่องดินเป็นกรด ดังนั้นก่อนการเลี้ยงปลาควรปรับสภาพดินโดยตากก้นบ่อให้แห้งแล้วใช้ปูนขาวโรย ปริมาณปูนขาวที่จะใส่ลงในบ่อจะเป็นไปตามความเป็นกรดของดิน แต่โดยทั่วไปใช้ปูนขาวประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านปูนขาวให้ทั่วขอบบ่อและพื้นก้นบ่อ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของดินและน้ำที่จะเลี้ยงปลา หลังจากโรยปูนขาวไปแล้ว 2-3 วันให้ใส่ปุ๋ยคอกแห้งลงในอัตราส่วน 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วพื้นบ่อแล้ว ระบายน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับประมาณ 30 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน แล้วจึงวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำและดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมคือประมาณ 7-8.5 พร้อมกันนั้นน้ำในบ่อก็จะเริ่มเป็นสีเขียวอ่อนๆ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นภายในบ่อเลี้ยงแล้ว ทำการระบายน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับ 60 เซนติเมตร บ่อเลี้ยงก็พร้อมที่จะปล่อยลูกปลาดุกลงเลี้ยงได้ อย่างไรก็ตามในระหว่างการเติมน้ำเข้าบ่อควรจะกรองด้วยตะแกรงหรืออวนสีฟ้า เพื่อป้องกันศัตรูปลาอื่นๆ เข้าไปในบ่อเลี้ยง

No comments
Back to content