การปล่อยและอัตราการปล่อย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การปล่อยและอัตราการปล่อย

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
การปล่อยและอัตราการปล่อย
เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปล่อยปลาดุกลงเลี้ยงควรเป็นเวลาตอนเช้าหรือเย็น เพราะน้ำในบ่อยังไม่ร้อนและในบ่อเริ่มมีออกซิเจน ไม่ควรปล่อยปลาในช่วงกลางวันที่มีแดดจัด เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำจะสูง เพราะเพียงแต่อุณหภูมิของน้ำในบ่อกับน้ำในภาชนะลำเลียงพันธุ์ปลาต่างกันเพียง 5 องศาเซลเซียสก็อาจทำให้ปลาช็อค
ตายได้เช่นกัน และไม่ควรปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อจนหนาแน่นเกินไป

อัตราการปล่อยขึ้นอยู่กับขนาดของลูกปลา ปริมาณน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงและการจัดการอื่นๆ ซึ่ง

อัตราการปล่อยปลาดุกลงเลี้ยงในบ่อดินที่เหมาะสม คือ
ปลาดุกด้านที่มีขนาด 3-5 เซนติเมตรควรปล่อยในอัตรา 50-60 ตัวต่อตารางเมตร ปลาขนาด 5-7 เซนติเมตรควรปล่อยในอัตรา 40-50 ตัวต่อตารางเมตร

ส่วนอัตราการปล่อยปลาดุกอุยที่เหมาะสมคือ
ปลาขนาด 3-5 เซนติเมตรปล่อยในอัตรา 20-25 ตัวต่อตารางเมตร และปลาขนาด 5-7 เซนติเมตรควรปล่อยในอัตรา 15-20 ตัวต่อตารางเมตร

สำหรับบ่อที่มีการถ่ายเทน้ำได้สะดวกอาจจะเพิ่มจำนวนปลาให้มากกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้มากเกินไปจนแน่นบ่อเพราะจะทำให้ปลาเติบโตช้าและทำอันตรายกันเอง ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงจะต้องทำการปรับอุณหภูมิของน้ำในภาชนะลำเลียงลูกปลากับน้ำในบ่อให้ใกล้เคียงกัน โดยการเอาน้ำในบ่อที่จะปล่อยปลาค่อยๆเติมลงไปในภาชนะที่บรรจุปลา จนสังเกตเห็นว่าลูกปลาไม่มีอาการช็อคน้ำหรือนอนนิ่งอยู่ตามกันภาชนะลำเลียง เพื่อให้ปลาได้ปรับตัวเข้ากับน้ำที่จะอยู่ใหม่เสียก่อน แล้วจึงจุ่มภาชนะที่บรรจุปลาลงในบ่อที่ปลาจะอยู่ใหม่ ให้ปลาค่อยๆ ว่ายออกเองอย่างช้าๆ หากภาชนะบรรจุปลาเป็นถุงพลาสติก ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงให้นำถุงลูกปลาไปลอยไว้ในบ่อที่จะปล่อยอย่างน้อย 20 นาที จากนั้นจึงเปิดปากถุงให้น้ำค่อยๆ ไหลเข้าไปในถุงประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำในถุง ปล่อยให้ลูกปลาปรับตัวสักพักหนึ่ง แล้วรวบปากถุงจุ่มลงในบ่อแล้วค่อยๆยกก้นถุงขึ้น อย่ายกถุงลูกปลาขึ้นเทเหนือน้ำเพราะลูกปลาอาจติดค้างอยู่ในถุงได้

กรณีที่จำเป็นต้องปล่อยลูกปลาดุกลงเลี้ยงในเวลาที่อากาศร้อน ควรเอามือตีทวนน้ำในบ่อที่ปลาจะอยู่ใหม่เพื่อให้ความร้อนของผิวน้ำไม่ต่างกับน้ำที่อยู่ในระดับลึกมากนัก พร้อมกันนั้นให้เอาภาชนะที่ลำเลียงปลาแช่ลงในบ่อเพื่อปรับอุณหภูมิของน้ำในบ่อกับน้ำในภาชนะลำเลียงให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด แล้วจึงค่อยๆเปิดภาชนะให้ปลาว่ายออกจนหมดแล้วเอาภาชนะขึ้นจากบ่อ

หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงเสร็จให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนที่มีดวามเข้มข้น ประมาณ 40 ส่วนในล้านส่วนสาดให้ทั่วบ่อ การทำให้น้ำในบ่อมีน้ำยาฟอร์มาลีน 40 ส่วนในล้านส่วนนั้น ให้ยึดหลักน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรต้องใช้น้ำยา 4 ลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้นถ้าบ่อมีน้ำอยู่ 1,000 ลูกบาศก์เมตรจะต้องใช้น้ำยาฟอร์มาลีน 4 ลิตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรคที่อาจติดมากับตัวปลาและจากบ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลามาก่อน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลาที่นำมาเลี้ยงใหม่ได้ ในตอนเย็นวันที่ปล่อยปลายังไม่ต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารหลังจากปล่อยปลาไปแล้ว 1 คืน หลังจากสาดน้ำยาฟอร์มาลีน 1 วันให้เพิ่มน้ำในบ่อให้สูงกว่าเติมประมาณ 10 เซนติเมตร นอกจากนี้ควรมีการทำร่มเงาให้กับลูกปลา ได้หลบแสงแดดในช่วงแดดจัดๆ เพราะอุณหภูมิสูงจะเป็นอันตรายต่อลูกปลา ซึ่งอาจจะทำให้เป็นจุดๆภายในบ่อ

No comments
Back to content