การถ่ายเทน้ำ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การถ่ายเทน้ำ

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
การถ่ายเทน้ำ
การถ่ายเทน้ำในบ่อเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน เนื่องจากอาหารที่ใช้เลี้ยงเน่าเสียง่าย การดูแลรักษาสภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้อยู่ในสภาพที่ดีจะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี ไม่มี โรค แต่ถ้าสภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดีจะส่งผลให้ปลาอาศัยอยู่ได้อย่างไม่มีความสุข อ่อนแอ ติดโรคง่าย การถ่ายเทน้ำบ่อยครั้งจะทำให้ปลาโตเร็วขึ้น เพราะการที่ปลาได้น้ำใหม่บ่อยๆ ทำให้ปลามีความกระปรี้กระเปร่าและกินอาหารได้มาก

ในการควบคุมคุณภาพของน้ำในบ่อในช่วงการเลี้ยงเดือนแรกซึ่งปลายังเล็กอยู่จะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเพิ่มระดับน้ำในบ่อทุกวัน หรือวันเว้นวันแล้วแต่สีน้ำ โดยสังเกตว่าน้ำที่ดีจะมีสีเขียวอ่อนค่อนข้างใส ในช่วงเดือนแรกนี้ถ้ามีการควบคุมการให้อาหารที่ดีอาจจะไม่ต้องถ่ายน้ำเลย เพียงแต่เพิ่มน้ำลงในบ่อก็เพียงพอแล้ว โดยหลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงทุกๆ 5 วันจะต้องเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 เซนติเมตร จนกระทั่งระดับน้ำอยู่ในระดับ 1-1.5 เมตร ซึ่งเป็นระดับที่ใช้ในการเลี้ยงปลาดุกขนาดใหญ่ และ เก็บกักน้ำให้ได้ระดับนี้ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง

พอย่างเข้าเดือนที่สองปลาเริ่มโตขึ้น สิ่งขับถ่ายที่ออกมาจากตัวปลา และเศษอาหารที่เหลือตกค้างอยู่ในบ่อก็จะมีมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการถ่ายเทน้ำ จำนวนครั้งของการถ่ายน้ำออกจากบ่อขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ให้ หากกำหนดปริมาณอาหารให้พอเหมาะให้ปลากินได้หมดการถ่ายเทน้ำก็จะมีน้อยครั้ง แต่โดยปกติในช่วงเดือนที่สองนี้มักจะถ่ายน้ำประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง โดยถ้าน้ำไม่เสียมากจะถ่ายเพียง 25–30 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าน้ำเสียรุนแรงอาจต้องถ่ายถึง 50 เปอร์เซ็นต์ หรือครึ่งบ่อ แล้วสูบน้ำเข้าไปเท่าระดับเดิม ถ้าเป็นไปได้ควรใช้วิธีสูบออกและเข้าพร้อมกัน หรือที่เรียกว่าไล่น้ำ น้ำจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

สำหรับตั้งแต่เดือนที่สามเป็นต้นไป ปลาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแน่นบ่อ อาหารที่ให้ก็ต้องมากขึ้นตามความต้องการของปลา จึงจำเป็นต้องถ่ายน้ำบ่อยครั้งขึ้น โดยดูจากสีของน้ำเป็นเกณฑ์ หากปลากินอาหารน้อยลงหรือมีอาหารเหลือลอยอยู่ในบ่อมากก็จะต้องถ่ายน้ำเพื่อช่วยปลาไม่ให้ตายเนื่องจากน้ำเสีย หรือถ้าในบ่อมีกลิ่นมากและสีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าว ต้องรีบถ่ายน้ำทันที ในช่วงนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จะถ่ายน้ำทุกๆ 3 วัน โดย ถ่ายครั้งละ 30-50 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยงปลา ก็คือต้องดูให้แน่ใจว่าน้ำที่สูบเข้าบ่อนั้นจะต้องมีคุณภาพดีกว่าน้ำในบ่อเลี้ยงคุณสมบัติของน้ำที่ดีควรมีออกซิเจนอยู่ในระดับ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่า pH อยู่ในช่วง 6-7 และสีของน้ำควรเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล

No comments
Back to content