การป้องกันโรคและพยาธิ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การป้องกันโรคและพยาธิ

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
การป้องกันโรคและพยาธิ
หลังจากปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงและใช้ฟอร์มาลีนสาดกระจายไปทั่วบ่อจนน้ำมีความเข้มข้นด้วยฟอร์มาลีน 40 ส่วนในล้านส่วนแล้ว หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์จะต้องทำช้ำอีกครั้ง เพื่อป้องกันจำพวกปลิงใสที่เกาะอยู่ตามเหงือกและครีบ และใช้น้ำยาฟอร์มาลีน อีกครั้งในความเข้มข้นเท่าเดิมหลังจากครั้งที่สองประมาณ 1 เดือน ในกรณีที่ปลาตายอย่างผิดปกติติดต่อกันหลายวันให้รีบพบและปรึกษาเจ้าหน้าที่ประมง ซึ่งประจำอยู่ทุกอำเภอและจังหวัด โดยให้นำตัวอย่างปลาที่ยังมีชีวิตและนำน้ำในบ่อบรรจุขวดประมาณ 2 ขวดไปด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่วินิจฉัยและแก้ไขต่อไป

สำหรับวิธีการป้องกันไม่ให้ปลาดุกเป็นโรคนั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือต้องพยายามทำให้ปลาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

1. พยายามถ่ายเทน้ำในบ่อบ่อยๆ เพื่อเป็นการป้องกันน้ำเสียและเป็นการรักษาสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำไว้ ซึ่งตามปกติแล้วน้ำในบ่อเลี้ยงปลาดุกมักจะมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ และสภาพเป็นกรดจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเลี้ยงปลาดุกนานวันขึ้น โดยเฉพาะจะมีปริมาณฟอสฟอรัสและไนโตรเจนสูงมาก

2. อัตราการปล่อยปลาในบ่อไม่ควรให้แน่นเกินไป คือประมาณ 50-60 ตัวต่อตารางเมตร ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันโรคและพยาธิของปลาดุกแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆได้อีกมาก เช่น ค่าพันธุ์ปลาที่ปล่อยลงเลี้ยง ค่าอาหาร ค่ายารักษาโรค ค่าแรงงาน และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สูบน้ำ เป็นต้น

3. กำจัดโรคและพยาธิที่เกาะตามตัวปลา โดยใช้ฟอร์มาลีนและดิพเทอร์เร็กซ์ใส่ลงในน้ำ

4. ควรให้อาหารให้เพียงพอกับความต้องการของปลา

5. ควรบดอาหารให้ละเอียดและเหนียว จะทำให้อาหารที่เหลือลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ไม่จมลงไปเน่าอยู่ที่ก้นบ่อ เป็นการลดความสูญเสียของอาหารให้น้อยลงอีกด้วย

ระยะเวลาการเลี้ยง
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินภายใต้สภาพภูมิอากาศที่ดีหรือปกติ และการจัดการต่างๆที่ถูกต้องแล้ว การเจริญเติบโตของปลาจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นเป็นสองเท่าในระยะเวลา 30 วันเสมอ และการเจริญเติบโตต่อวันโดยเฉลี่ยประมาณ 2 กรัม แต่ถ้าหากสภาพภูมิอากาศผันแปรหรือคุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของปลาดุกช้าหรือต่ำกว่านี้ หลังจากใช้เวลาเลี้ยงปลาดุกด้านประมาณ 120-150 วัน จะได้ปลาขนาด 7-8 ตัวต่อกิโลกรัม ส่วนการเลี้ยงปลาดุกอุยขนาด 5-7 เซนติเมตรให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการจะ ใช้เวลาประมาณ 100-130 วัน จะได้ปลาขนาด 7-8 ตัวต่อกิโลกรัม แต่การที่จะเลี้ยงปลาดุกให้ได้ขนาดดังกล่าวนี้คุณภาพของอาหารที่ใช้เลี้ยงจะต้องดี และการถ่ายเทน้ำในบ่อต้องเป็นไปอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการเลี้ยง

No comments
Back to content