ความแตกต่างของเพศปลาดุก - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ความแตกต่างของเพศปลาดุก

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก
ความแตกต่างของเพศปลาดุก
การแยกเพศถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการเพาะพันธุ์ปลาดุก คือ หลังจากรวบรวมพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ได้แล้ว ก่อนที่จะนำปลาไปทำการเพาะพันธุ์ได้นั้นจะต้องแยกเพศของปลาเสียก่อน ว่าเป็นปลาตัวผู้หรือตัวเมีย เพราะรูปร่างลักษณะภายนอกโดยทั่วไปของปลาดุกเพศผู้กับเพศเมียจะเหมือนกัน แต่มีลักษณะแตกต่างที่สังเกตได้ง่ายและชัดเจนคือติ่งที่บริเวณใกล้ช่องทวาร ซึ่งเป็นอวัยวะที่แสดงเพศของปลาดุกและเป็นทางออกของปัสสาวะและไข่ หรือน้ำเชื้อ

ติ่งเพศมีลักษณะเป็นติ่งเนื้ออยู่ถัดจากทวารหนักลงมา เมื่อจับหงายท้องดูปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศที่มีลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา ปลายแหลม ส่วนปลาดุกด้านเพศเมียติ่งเพศจะมีลักษณะค่อนข้างกลม แต่ปลาดุกอุยเพสเมียจะมีลักษณะเป้นรูปไข่ปลามน อวัยวะของเพสเมียจะเห็นได้ชัดกว่าและสั้นกว่าของเพศผู้ สำหรับขนาดของปลาดุกที่จะแยกเพศได้ชัดเจน คือ เป็นปลาที่มีอายุ 1 ปี หรือปลาดุกด้านจะต้องมีขนาดความยาวตั้งแต่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป ส่วนปลาดุกอุยจะต้องมีขนาดความยาวตั้งแต่ 20 เซนติเมตรขึ้นไป

นอกจากนี้ยังมีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายอีกประการหนึ่ง คือ ในช่วงฤดูวางไข่บริเวณส่วนท้องของปลาดุกเพศเมียจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้างเมื่อ มองดูจากด้านบน ท้องไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป หากใช้มือบีบเบาๆตรงบริเวณท้องจะมีไข่ไหลออกมาทางรูเปิดของช่องเพศ และติ่งเพศจะมีสีแดงหรือสีชมพูอมแดง ส่วนปลาดุกเพศผู้ในช่วงฤดูวางไข่จะมีลักษณะลำตัวเรียวยาวกว่า ครีบท้องยาวกว่าเพสเมียที่มีขนาดเดียวกัน ท้องไม่ป่อง ส่วนปลายของอวัยวะเพศจะมีสีแดงเรื่อๆ นอกจากนี้ปลาดุกเพศเมียจะมีน้ำหนักมากกว่าเพศผู้ที่มีขนาดความยาวอยู่ในช่วงเดียวกัน

No comments
Back to content