องค์ประกอบของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

องค์ประกอบของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียม
องค์ประกอบของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย
องค์ประกอบที่สำคัญของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยนั้น สามารถแยกออกเป็นส่วนต่างๆได้ดังนี้

1. โรงเพาะฟัก โรงเพาะฟักเป็นบริเวณที่ใช้ดำเนินกิจกรรมแทบทุกขั้นตอนในการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย โดยเริ่มตั้งแต่การขนย้ายพ่อแม่ปลาเข้ามาพักไว้ การฉีดฮอร์โมน การรีดไข่ การฟักไข่ และบางครั้งก็รวมถึงการอนุบาลด้วย โรงเพาะฟักเป็นโรงเรือนที่มีหลังคา โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้

1.1 บ่อพักพ่อแม่พันธุ์ ควรจะมีอย่างน้อย 2 บ่อ ใช้ขังพ่อพันธุ์ 1 บ่อ ขังแม่พันธุ์ 1 บ่อ บ่อไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มากนักเพราะปลาดุกสามารถขังแน่นๆได้ บ่อขนาด 1 ตารางเมตรสามารถขังพ่อแม่ปลาดุกได้ถึง 30-40 ตัว โดยใส่น้ำน้อยๆ หากใส่น้ำมากปลาจะกัดกัน การป้องกันการกัดกันอีกวิธีหนึ่งก้คือ ไม่ใส่น้ำในบ่อแต่จะปล่อยน้ำเข้าและออกไหลผ่านตัวปลาตลอดเวลา บ่อพักพ่อแม่พันธุ์นี้อาจใช้ภาชนะขนาดใหญ่ เช่น กะละมัง แทนก็ได้

1.2 บริเวณที่ฉีดฮอร์โมนและผสมเทียม จะใช้เนื้อที่ไม่มากนักเพื่อสำหรับวางโต๊ะขนาดยาว 1 เมตร กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร วางโต๊ะแล้ว ผู้ฉีดและผู้ช่วยจะสามารถเดินไปมารอบโต๊ะได้เพื่อทำงานได้สะดวก โต๊ะนี้หากได้ออกแบบไว้เป็นพิเศษจะช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้น โดยทำเป็นโต๊ะ 2 ชั้น ด้านล่างทำเป็นช่องสำหรับวางกะละมังที่ใช้ในการรีดไข่ได้ 2 ใบ ตรงกลางมีช่องสำหรับใส่ผ้าขาวบาง ขนไก่ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ เมื่อจะใช้งานเป็นโต๊ะรองรีดปลาก็เพียงแต่นำไม้กระดานมาวางปิดไว้

1.3 บ่อฟักไข่ เป็นบ่อคอนกรีตขนาดไม่ใหญ่มากนัก ขนาดที่พอเหมาะ ควรมีความกว้าง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร สูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร บ่อฟักไข่เป็นบ่อลอย พื้นบ่อมีความลาดเอียงเล็กน้อย มีท่อน้ำเข้า ส่วนทางน้ำออกควรทำเป็นท่อน้ำล้น เพื่อความสะดวกในการระบายน้ำ สำหรับบ่อขนาดดังกล่าวนี้สามารถฟักไข่ปลาได้ประมาณ 9 ตัว อย่างไรก็ตามบ่อฟักไข่ก็สามารถใช้กะละมังแทนได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ต้องจัดระบบน้ำให้ดี โดยให้มีน้ำใหลผ่านตลอด

1.4 บ่ออนุบาล บ่ออนุบาลไม่จำเป็นหากไม่อนุบาลลูกปลาเอง คือ ขายปลาตุ้ม บ่ออนุบาลอาจใช้บ่อคอนกรีตหรือบ่อดินก็ได้ บ่อดินไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปจะดูแลยาก ขนาดประมาณ 200-800 ตารางเมตร บ่อควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก้นบ่อเรียบและลาดลงมาหาท่อระบายน้ำออกเล็กน้อย สำหรับบ่อคอนกรีตนั้นอาจใช้บ่อชุดเดียวกับบ่อฟักก็ได้ และจะเป็นผลดีเพราะไม่ต้องย้ายลูกปลา ปลาจะไม่บอบช้ำ จำนวนบ่ออนุบาลจะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกปลาที่ผลิตแต่ละครั้ง บ่อขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร สามารถอนุบาลลูกปลาได้ประมาณ 5,000 ตัว นอกจากนี้อาจใช้ถังส้วมมาดัดแปลงเป็นบ่อก็ได้เช่นกัน

1.5 บ่อพักน้ำ น้ำที่จะนำมาใช้ภายในโรงเพาะฟักจำเป็นจะต้องพักไว้ก่อนเสมอ ทั้งนี้เพื่อปรับคุณสมบัติของน้ำ บ่อพักน้ำอาจจะสร้างเป็นถังทรงสูงก็จะช่วยประหยัดพื้นที่ นอกจากนั้นยังทำให้มีแรงดันพอที่จะทำกิจกรรมต่างๆในโรงเพาะฟักได้โดยสะดวก สำหรับขนาดของถังพักน้ำขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ใช้ในโรงเพาะฟักในแต่ละวัน โดยควรจุน้ำประมาณ 2 เท่าของความจุของบ่อทั้งหมดในโรงเพาะฟัก

นอกจากนี้โรงเพาะฟักอาจประกอบด้วยส่วนปลีกย่อยอื่นๆตามความจำเป็น เช่น ห้องเก็บของ สำนักงาน เป็นต้น

2. บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เป็นบ่อขนาดค่อนข้างใหญ่ ลักษณะเดียวกับบ่อเลี้ยงปลาดุกทั่วๆไป แต่ไม่ควรใหญ่มากเกินไป เพราะจะทำให้ดูแลและการจับปลาลำบาก ควรเป็นบ่อดินขนาดประมาณ 800-1,600 ตารางเมตร ลึก 1 เมตร ถ้าเป็นไปได้ควรมีบ่อแยกเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ 2 บ่อ เพื่อที่จะสามารถจับสลับกันไปมาได้ไม่รบกวนปลาบ่อยเกินไป บ่อพ่อแม่พันธุ์ควรอยู่ในที่เงียบสงบ หากอยู่ใกล้โรงเพาะฟักก็จะยิ่งทำงานได้สะดวกขึ้น บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์นี้อาจไม่ใช้ที่ได้หากใช้พ่อแม่พันธุ์ที่ซื้อโดยตรงจากตลาด


No comments
Back to content