การฉีดฮอร์โมน - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การฉีดฮอร์โมน

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียม
การฉีดฮอร์โมน
หลังจากเตรียมฮอร์โมนให้อยู่ในรูปสารละลายที่มีความเข้มข้นและปริมาณเหมาะสมแล้ว ขั้นตอนต่อไปของการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียมก็คือ การนำสารละลายฮอร์โมนนั้นไปฉีดให้กับพ่อแม่ปลา เพื่อกระตุ้นให้ปลาเพศเมียมีไข่แก่พร้อมที่จะได้รับการรีดออกมาผสมกับน้ำเชื้อได้ และกระตุ้นให้ปลาเพศผู้สร้างน้ำเชื้อได้ในปริมาณมากขึ้น

เนื่องจากปลาดุกอุยเป็นปลาขนาดเล็กตําแหน่งที่เหมาะสมที่จะฉีดที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อเส้นข้างลำตัว ตรงใต้บริเวณฐานของครีบหลัง โดยใช้เข็มเบอร์ 22-24
วิธีการฉีดให้วางปลาที่จะฉีดไว้ บนโต๊ะที่มีผ้าขนหนูชุบน้ำหมาดๆปูรองรับ และใช้ผ้าขาวชุบน้ำหมาดๆมาคลุมตัวปลาแล้วจับให้มั่นทั้งด้านหัวและหางของปลา เพื่อป้องกันปลาดิ้น โดยมีคนช่วยจับ 1 คน ฉีดยาที่บรรจุสารละลายฮอร์โมนเรียบร้อยแล้วค่อยๆ แทงเฉียงเข้ากล้ามเนื้อโดยปักเข็มให้ตรงลงไปก่อนประมาณครึ่งเซนติเมตร จากนั้นจึงเอียงเข็มประมาณ 30 องศา แทงไปทางด้านหัวให้ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร แต่ต้องระวังอย่าให้เข็มฉีดยาแทงถูกกระดูก จากนั้นจึงค่อยๆ เดินสารละลายฮอร์โมนเข้าสู่ตัวปลาช้าๆ ก่อนไล่ฟองอากาศออกจากหลอดฉีดยาให้หมดก่อน

เมื่อเดินยาหมดแล้วควรใช้สำลีกดตรงบริเวณที่ฉีดไว้สักครู่ เพื่อป้องกันสารละลายไหลย้อนกลับออกมา พร้อมกันนั้นก็ค่อยๆดึงเข็มออก เมื่อตึงเข็มออกแล้วควรใช้มือคลึงบริเวณรอยฉีดเบาๆเพื่อให้สารละลายกระจายไปตามกล้ามเนื้อเร็วขึ้น ในกรณีของการใช้ต่อมใต้สมองที่จำเป็นต้องฉีดแม่ปลา 2 ครั้ง ควรฉีดครั้งที่สองสลับด้านกับการฉีดครั้งแรก ส่วนตําแหน่งฉีดก็ใช้บริเวณเหนือเส้นข้างลำตัวเช่นเดิม การฉีดจะเริ่มฉีดเวลาไหนก็ได้ผลพอๆ กัน แต่หากกะเวลาในช่วงการรีดไข่ให้อยู่ในช่วงตอนกลางวัน จะทำให้การทำงานสะดวกขึ้น

เมื่อทำการฉีดสารละลายฮอร์โมนให้กับพ่อแม่พันธุ์แล้ว ให้นำไปขังไว้ในภาชนะหรือบ่อพักพ่อแม่พันธุ์เพื่อรอเวลาการรีดไข่หรือผ่าท้องเอาถุงน้ำเชื้อ ในระหว่างพักนี้พ่อแม่พันธุ์มักจะเกิดอาการเครียดและกัดกันเอง เนื่องจากถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนและการอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ดังนั้นจึงควรใส่น้ำแต่พอท่วมหลังปลาก็พอ จะช่วยลดการดิ้นหรือการกัดกันเองลงได้ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำในบ่อพักพ่อแม่พันธุ์อย่างเพียงพอ เพราะปลาที่มีไข่แก่จัดจะมีความต้องการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของระดับปกติ การเพิ่มออกซิเจนในน้ำอาจใช้วิธีพ่นลมลงในน้ำโดยใช้เครื่องแอร์ปั๊มหรือปล่อยให้น้ำไหลผ่านตัวปลาตลอดเวลา หรือใช้วิธีสเปรย์น้ำให้เป็นฝอยลงในบ่อก็ได้ สองวิธีหลังนี้นอกจากจะช่วยเพิ่มออกซิเจน แล้วยังช่วยถ่ายเทของเสียที่ปลาถ่ายออกมา และช่วยให้อุณหภูมิของน้ำในบ่อลดลงด้วย นอกจากนี้ในการพักพ่อแม่ปลาระหว่างการฉีดแต่ละครั้งและภายหลังการฉีดฮอร์โมนเสร็จแล้วจะต้องแยกปลาเพศผู้และปลาเพศเมียไว้ คนละบ่อ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน

No comments
Back to content