ทำเลที่เหมาะสมต่อการดังฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ทำเลที่เหมาะสมต่อการดังฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียม
ทำเลที่เหมาะสมต่อการดังฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย ปัจจุบันการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยได้รับความสนใจแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของฟาร์มเลี้ยงปลาดุกอุยทำให้ความต้องการลูกปลาดุกอุยเพิ่มขึ้นทุกปี ในการตั้งฟาร์มเพาะปลาดุกอุยนั้น ขั้นตอนการเลือกทำเลเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะส่งผลไปถึงผลผลิตที่ได้ ตลอดจนการตลาด สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกทำเลตั้งฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยมีดังต่อไปนี้

1. แหล่งน้ำ แหล่งน้ำนับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการเพาะพันธุ์ปลา ซึ่งจะต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี หรืออย่างน้อยก็ตลอดช่วงฤดูเพาะพันธุ์ปลา ปริมาณน้ำที่ใช้ในการฟักไข่อย่างน้อยที่สุดจะอยู่ประมาณ 250 ลิตร ต่อไข่จากปลา 1 ตัว หากจะอนุบาลไปจนได้ขนาด 2.5-3 เซนติเมตร จะต้องใช้น้ำประมาณ 25 ลูกบาศก์เมตร น้ำที่นำมาใช้นี้นอกจากจะต้องมีปริมาณเพียงพอแล้ว คุณสมบัติของน้ำก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคํานึงถึงด้วย น้ำที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยควรมีคุณสมบัติดังนี้

1.1 ก๊าซออกซิเจนในน้ำ น้ำที่ใช้ในการฟักไข่และอนุบาลลูกปลาต้องมีปริมาณออกซิเจนสูง ซึ่งหากมีก๊าซออกซิเจนต่ำเกินไปจะมีผลให้ไข่เจริญช้าอัตราการฟักต่ำ และลูกปลาพิการมาก และเมื่อปริมาณออกซิเจนต่ำลงถึงระดับหนึ่งไข่ก็จะตาย ในทำนองเดียวกันถ้าก๊าซออกซิเจนในน้ำมีความเข้มข้นต่ำ จะมีผลให้ลูกปลาเจริญเติบโตช้า หรืออาจตายได้เช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม ในการฟักไข่และอนุบาลลูกปลาควรจะใช้แอร์ปั๊มช่วยด้วยเพื่อตัดปัญหาเรื่องออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ

1.2 ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) น้ำที่เหมาะสมในการเพาะพันธุ์ ปลาดุกอุยควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 7-8 ปัญหาส่วนใหญ่ มักเกิดจากน้ำมีค่า pH ต่ำกว่า 7 ซึ่งแสดงว่าน้ำเป็นกรด น้ำที่เป็นกรดจะมีผลให้เชื้อของปลาตัวผู้อ่อนแอและตายในที่สุด ทำให้เปอร์เซ็นต์การฟักออกต่ำ การเจริญเติบโตของลูกปลาลดลง ลูกปลาเป็นโรค การวัดค่า pH ของน้ำ สามารถทำได้โดยใช้กระดาษสีสำหรับวัดค่า pH จุ่มลงในน้ำแล้วเทียบสีตามตัวอย่าง นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่าน้ำในบ่อดินหรือแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นกรดจะมีลักษณะใสผิดปกติ ไม่ค่อยมีสีเขียว หากพบว่าน้ำเป็นกรดแก้ไขโดยการเติมปูนขาว แต่จะเติมมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าน้ำเป็นกรดมากหรือน้อย

1.3 อุณหภูมิ ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวและลูกปลาจะเจริญเติบโตได้ดี ในอุณหภูมิระดับหนึ่ง ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมในการฟักไข่ปลาดุกอุยอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส แต่ปัญหาเกี่ยวกับอุณหภูมิในเมืองไทยไม่ค่อย มีมากนักเนื่องจากอุณหภูมิค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดปี แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลันจะทำให้ไข่ตาย ส่วนลูกปลาวัยอ่อนจะช็อคและตายไปในที่สุด ข้อควรพิจารณาก็คือแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้จะต้องไม่เย็นเกินไป เช่น น้ำจากน้ำตก หรือร้อนเกินไป เช่น น้ำบาดาล หากจำเป็นต้องนำมาใช้ควรนำมาพักให้อุณหภูมิอยู่ในระดับปกติเสียก่อน

1.4 ความขุ่นใสของน้ำ น้ำที่นำมาใช้ควรจะใสไม่มีตะกอนหรือพืชและสัตว์เล็กๆ (แพลงค์ตอน)ติดมา หากน้ำขุ่นมากตะกอนดินจะเคลือบผิวไข่ ทำให้ไข่รับออกซิเจนไม่ได้ ไข่จะไม่ฟัก ส่วนแพลงค์ตอนสัตว์บางชนิดจะทำอันตรายไข่ อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับความขุ่นของน้ำนี้สามารถไขได้ โดยการพักน้ำให้เกิดการตกตะกอนแล้วอาจกรองน้ำด้วยทราย ซึ่งสามารถกกำจัดได้ทั้งตะกอนแขวนลอยและแพลงค์ตอนบางส่วน

1.5 ก๊าซพิษที่ละลายในน้ำ ก๊าซพิษบางชนิด เช่น ก๊าซมีเทนหรือก๊าซไข่เน่า อาจพบในน้ำที่สูบจากบ่อบาดาลที่ลึกมาก ก๊าซเหล่านี้เป็นอันตรายกับไข่และลูกปลา แต่สามารถกําจัดได้โดยพักไว้และให้อากาศตลอดเวลา คลอรีนก็เป็นก๊าซอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพิษต่อปลา ในกรณีที่ใช้น้ำประปาในการเพาะฟักจึงจำเป็นต้องพักน้ำไว้อย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้คลอรีนสลายตัว นอกจากนี้ควรได้ตรวจสอบคุณสมบัติให้แน่ใจว่าแหล่งน้ำนั้นปราศจากการปนเปื้อนของสารพิษจากยาปราบศัตรูพืชต่างๆ ตลอดจนนาเสียจากโรงงาน

2. สภาพื้นที่ ในการเลือกทำเลควรเลือกพื้นที่ที่ใกล้กับแหล่งเลี้ยงปลาดุก พื้นที่ต้องมีเพียงพอที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างที่จำเป็น เช่น โรงเพาะฟัก บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ บ่ออนุบาล เป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมเพราะถ้าหากเกิดน้ำท่วมจะทำให้พ่อแม่พันธุ์และลูกปลาที่อนุบาลในบ่อดินสูญหายไปได้ และพื้นที่ไม่ควรเป็นที่สูงชันเพราะจะทำให้การก่อสร้างทำได้ยาก ในการเพาะพันธุ์ ปลาดุกอุยจะใช้เนื้อที่มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเทคนิคที่เลือกใช้ในการจัดการ ขนาดและปริมาณของลูกปลาที่จำหน่าย

3. กระแสไฟฟ้า หากมีกระแสไฟฟ้าจะช่วยลดต้นทุนบางอย่าง เช่น การสูบน้ำ การให้อากาศ ทั้งนี้เพราะการใช้อุปกรณ์ที่ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า จะประหยัดกว่าการใช้น้ำมัน นอกจากนี้การมีกระแสไฟฟ้าจะทำให้การทำงาน กลางคืนสะดวกยิ่งขึ้น

4. อยู่ใกล้ทางคมนาคม ในการขนส่งลูกปลาไปยังบ่อเลี้ยงนั้น เป็นงานที่ต้องอาศัยความรวดเร็วมาก หากการคมนาคมไม่สะดวกอาจเป็นผลเสียอย่างยิ่ง นอกจากนั้นเมื่อมองในแง่การตลาดแล้ว ฟาร์มที่อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมย่อมติดต่อกับลูกค้าได้สะดวกกว่า เพราะในการทำกิจการเพาะพันธุ์ปลาสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้ขายผลผลิตได้มากขึ้นก็คือ ผู้เพาะต้องสามารถให้คำแนะนำในการเลี้ยงแก่ลูกค้าได้ การพบปะคุยกับลูกค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น

No comments
Back to content