อุปกรณ์ทำผสมเทียม - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

อุปกรณ์ทำผสมเทียม

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียม
อุปกรณ์การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย

อุปกรณ์ต่างๆนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียม จะต้องจัดเตรียมไว้ให้พร้อม เพื่อการปฏิบัติงานจะได้สะดวกและรวดเร็ว สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียมมีดังนี้

1. ถังเพาะฟักไข่ ตัวถังประกอบขึ้นด้วยวัสดุที่สามารถเก็บกักน้ำได้ วัสดุที่ใช้อาจเป็นซีเมนต์ ไฟเบอร์ หรือกระจก มีรูปร่างลักษณะเป็นทรงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ½ ตารางเมตร และสามารถเก็บกักน้ำได้อย่างน้อย 50 เซนติเมตร

2. ภาชนะสำหรับให้ไข่ติด เนื่องจากไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ประเภทไข่ติด เมื่อออกจากท้องแม่ปลาจะมีเมือกเหนียวสามารถติดกับวัสดุต่างๆได้ ในบ่อฟักจึงควรมีวัสดุที่จะให้ไข่ติด ซึ่งอาจจะใช้ผ้าไนล่อนหรืออวนทำจากพลาสติก แขวนลอยอยู่ในกระชัง ผ้าไนล่อนรูปลักษณะทรงกลมหรือคอดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขึงตึงลอยอยู่ในบ่อฟักให้อยู่ใต้ผิวน้ำประมาณ 20-30 เซนติเมตรเพื่อให้ไข่ติด การที่ให้ไข่ติดกับภาชนะเหล่านี้จะทำให้ประหยัดเนื้อที่การใช้บ่อเพาะฟัก และไข่มีโอกาสได้รับออกซิเจนจากน้ำใต้อย่างทั่วถึง

3. อุปกรณ์การเพิ่มอากาศ การเพิ่มอากาศในน้ำที่นิยมใช้กันทั่วไป ในปัจจุบันนี้มักจะใช้ในรูปของวัสดุ ซึ่งประกอบขึ้นจากการนำมาอัดเป็นรูปลักษณะกลมหรือเป็นแท่ง ทำให้มีรูพรุนมีสีต่างๆกัน มักจะเรียกวัสดุนี้ว่า “ลูกทรายหรือหัวทราย” บนลูกทรายจะมีท่อพลาสติกต่อกับสายยางที่มาจากเครื่องปั๊มอากาศ เมื่ออากาศผ่านตามสายยางมาถึงหัวทรายทำให้เกิดฟอง อากาศ มีผลทำให้น้ำมีออกซิเจนเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของน้ำในถังอยู่ตลอดเวลา

4. กระบอกและเข็มฉีดยา ใช้สำหรับดูดสารละลายที่เตรียมไว้ฉีดเข้าตัวปลา ขนาดของกระบอกฉีดยาบรรจุได้ 2-5 ซีซี.เป็นขนาดที่เหมาะสม และเข็มที่ใช้เป็นเบอร์ 24 หรือ 25 เพราะปลาดุกอุยเป็นปลาขนาดเล็ก

5. เครื่องชั่งน้ำหนัก ใช้สำหรับชั่งปลาเพื่อเก็บต่อมและแม่ปลาที่จะฉีด ควรใช้เครื่องชั่งขนาดชั่งได้ไม่เกิน 1 กิโลกรัมสำหรับชั่งแม่ปลา และเครื่องชั่งขนาดชั่งได้ 3-5 กิโลกรัมอีกเครื่องหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับชั่งปลาตัวที่จะเก็บต่อม

6. มีดผ่าหัวปลา ควรเป็นมีดขนาดใหญ่ กระชับมือและมีความคม ใช้สำหรับตัดหัวปลาและเปิดกะโหลกปลาได้ถึงส่วนที่เป็นสมองปลา

7. สำลีหรือกระดาษนุ่ม ใช้สำหรับเช็ดเลือดและมันสมองของปลา และทำความสะอาดบริเวณส่วนที่ตั้งของต่อม เพื่อทำให้สามารถเก็บต่อมใต้ สมองปลาได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

8. กรรไกร ใช้สำหรับผ่าท้องปลาตัวผู้เพื่อเอาถุงน้ำเชื้อ ควรใช้กรรไกรปลาแหลมเพื่อให้สามารถชอนเข้าไปทางช่องเพศเพื่อผ่าท้องปลาได้

9. ปากคีบ ใช้สำหรับจับเก็บต่อมและจับถุงน้ำเชื้อในเพศผู้ ควรเป็นปากคืบที่มีปลายเล็กเรียวและโค้ง ซึ่งจะทำให้สะดวกแก่การหยิบต่อมออกจากแอ่ง

10. ถ้วยหรือกะละมังเคลือบ ใช้สำหรับรองรับไข่ที่รีดออกมา ควรมีผิวลื่น ถ้าผิวขรุขระอาจทำให้ไข่แตกได้ ไม่ควรใช้ใบใหญ่หรือเล็กเกินไปจะทำ ให้การปฏิบัติงานลำบาก

11. ผ้าขาวบางหรือผ้าด้ายดิบ เพื่อนำมาห่อถุงน้ำเชื้อตัวผู้ในการบี้หรือรีดน้ำเชื้อผสมกับไข่ของตัวเมีย ผ้าควรจะตัดขนาด 5x5 เซนติเมตร ควรมีเตรียมสำรองไว้ด้วยจะดี และต้องมีผ้าสะอาดพื้นใหญ่ไว้ด้วยต่างหาก เพื่อไว้เช็ดน้ำตามตัวปลาก่อนทำการรีด

12. หลอดบดต่อม ทำจากแก้วซึ่งประกอบด้วยหลอดและแท่งบด ตัวหลอดบดมีรูปลักษณะตอนบนเป็นกระเปาะเปิดโล่ง ตรงส่วนคอดจาก กระเปาะเป็นก้านหลอดกลมกลวง และมีฐานอยู่ที่ก้นเพื่อให้วางได้ แท่งบดเป็นแท่งแก้วตัน มีขนาดสวมใสในก้นหลอดบดได้อย่างเหมาะเจาะ หลอดบดต่อมนี้เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ถ้าหากหาหลอดบดต่อมไม่ได้อาจใช้โกร่งบดยาแทนก็ได้ หลอดบดต่อมนี้ใช้สำหรับบดต่อมที่ผ่าออกมาจากหัวปลา เพื่อนำไปฉีดให้กับปลาที่ทำการผสมเทียม

13. น้ำกลั่น ควรใช้น้ำกลั่นที่ใช้ในทางการแพทย์ นำมาใช้ละลายกับต่อมที่บดเพื่อให้เป็นสารละลายแล้วนำไปฉีดให้กับพ่อแม่พันธุ์

14. น้ำยารักษาต่อม น้ำยาที่ใช้ในการเก็บรักษาต่อมเพื่อให้ใช้ได้นาน ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ แอลกอฮอล์ขาวชนิดกินได้ และน้ำยาอะซีโตน นำต่อมใต้สมองปลาแช่ในน้ำยาเหล่านี้และเก็บไว้ในที่เย็นจะทำให้คุณภาพของต่อมปลาอยู่ได้เป็นเวลานาน

No comments
Back to content