การเก็บ การเก็บรักษา และปริมาณการใช้ฮอร์โมน - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเก็บ การเก็บรักษา และปริมาณการใช้ฮอร์โมน

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียม
วิธีการเก็บต่อมใต้สมอง

ขั้นแรกต้องชั่งน้ำหนักแล้วบันทึกน้ำหนัก และชนิดของปลาต่อมไว้ในกระดาษแผ่นเล็กๆ วิธีการเก็บต่อมใต้สมองในปลาที่หัวมีลักษณะแบนข้าง เช่น ปลาจีนและปลาไน ให้นำปลามาดึงเหงือกออก ทิ้งไว้สักครู่รอให้เลือดไหลออกจนเกือบหมด จากนั้นใช้มีดถากกะโหลกปลาจากด้านบนเหนือตาทั้งสองข้างลงมาทางปาก แล้วเปิดกะโหลกออก ใช้ สำลีเช็ดเลือดและไขมันออกจะเห็นสมองปลาและเส้นประสาทที่เชื่อมโยงอย่างชัดเจน จากนั้นใช้ปากคีบจับสมองส่วนบน พลิกเอาสมองส่วนล่างขึ้นมาจะเห็นต่อมใต้สมองมีลักษณะเป็นเม็ดกลมสีขาวนวลติดออกมา ใช้ปากคีบหยิบ ต่อมออกมาวางบนหลังมือหรือบนกระดาษทิชชู่ หลังจากนั้นจะนำต่อมไปใช้ในสภาพสดหรือเก็บไว้ใช้ในการผสมเทียมครั้งต่อไปก็ได้

ส่วนวิธีการเก็บต่อมใต้สมองจากปลาที่หัวมีลักษณะแบนราบ เช่น ปลาดุกด้านหรือปลาสวาย การเปิดกะโหลกจากด้านบนจะทำได้ยาก จึงต้องใช้วิธีผ่าปากและขากรรไกรรวมทั้งผนังหุ้มเพดานออกให้หมด แล้วใช้มีดเฉาะรอบๆ สันกะโหลกและงัดกระดูกออก จะมองเห็นต่อมใต้สมองเป็นเม็ดกลมสีขาวนวลอยู่ในกล่องกระดูกสมองส่วนล่าง แต่ถ้าพลิกเอาด้านหลังปลาขึ้น ต่อมใต้สมองนี้จะอยู่ใต้สมองส่วนล่างเหมือนเดิม ขั้นตอนต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับการเก็บต่อมใต้สมองจากปลาจีนและปลาไน ข้อควรระวังในการเก็บต่อมใต้สมองก็คือ อย่าทำให้ต่อมแตกหากต่อมแตกไม่ควรนำมาใช้

การเก็บรักษาต่อมใต้สมองไว้ใช้ในครั้งต่อไป โดยการใส่ต่อมไว้ในขวดเล็กๆ ที่ใส่แอลกอฮอล์ขาวหรือน้ำยาอะซีโตน แช่ไว้ประมาณ 10 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนน้ำยาใหม่ ปิดผ่าขวดให้มิดชิด จากนั้นก็สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา และไม่ให้ถูกแสงแดด ในการเก็บรักษาต่อมควรจะจดรายละเอียดเกี่ยวกับต่อมปลาไว้ด้วย ได้แก่ ชื่อปลา น้ำหนัก วันเดือนปี ที่เก็บ โดยใช้ดินสอดำจดลงในกระดาษแผ่นเล็กๆใส่ไว้ในขวด

การคำนวณปริมาณฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาไข่แก่และกระตุ้นให้พ่อปลาสร้างน้ำเชื้อได้มากขึ้น จะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เป็นอันตรายต่อพ่อแม่ปลา ปริมาณการใช้ต่อมใต้สมองปัจจุบันใช้วิธีเปรียบเทียบน้ำหนักของปลาที่จะฉีด กับน้ำหนักของปลาที่เก็บต่อมมา โดยกำหนดหน่วยขึ้นมาเรียกว่า “โดส” โดยถือว่า 1 โดส คือ น้ำหนักของปลาที่เก็บต่อมมาเท่ากับน้ำหนักของปลาที่จะฉีด เช่น แม่ปลาดุกอุยหนัก 300 กรัม ได้รับการฉีดสารละลายต่อมใต้สมองจากปลาที่มีน้ำหนัก 300 กรัม จนหมดสารละลาย แสดงว่า แม่ปลาดุกอุยได้รับการฉีดฮอร์โมนครบ 1 โดส หรือถ้าแม่ปลาดุกอุยหนัก 300 แต่ได้รับการฉีดสารละลายต่อมใต้สมองจากปลาที่มีน้ำหนัก 600 กรัม จนหมดสารละลาย แสดงว่าแม่ปลาดุกอุยได้รับการฉีดฮอร์โมน 2 โดส โดยสรุปเป็น สูตรการคำนวณได้ดังนี้

โดส    =   น้ำหนักปลาที่เก็บต่อมใต้สมอง    
น้ำหนักปลาที่ต้องการฉีด
อัตราการใช้ต่อมใต้สมอง
การฉีดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองให้แม่ปลาดุกอุยที่มีไข่แก่พร้อมที่จะรีดผสมกับน้ำเชื้อ จะต้องทำการฉีด 2 ครั้ง ครั้งแรกฉีดระดับความเข้มข้น 1 โดส แล้วทิ้งระยะห่างไว้ 6-8 ชั่วโมง จึงทำการฉีดในครั้งที่สองที่ระดับความเข้นข้น 2 โดส หลังจากฉีดครั้งที่สองเป็นเวลาประมาณ 10-12 ชั่วโมง (ใช้ต่อมใต้สมองจากปลาสวาย) จึงจะสามารถรีดไข่ ผสมกับน้ำเชื้อได้ การใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่นี้อาจใช้ร่วมกับฮอร์โมนสกัดได้ เพื่อให้การรีดไข่สะดวกขึ้น โดยใส่ฮอร์โมนสกัดในระดับความเข้มข้น 100-300 ไอยูต่อแม่ปลาหนัก 1 กิโลกรัม ร่วมกับการใช้ต่อมใต้สมองฉีดให้กับแม่ปลาในเข็มที่สอง

สำหรับพ่อพันธุ์ปลาดุกอุยสามารถกระตุ้นให้มีน้ำเชื้อมากขึ้นได้ โดยใช้ต่อมใต้สมองในระดับความเข้มข้น 0.5 โดส ฉีดให้กับพ่อปลาพร้อมกับการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ปลาในเข็มที่สอง หรือก่อนผ่าท้องเอาน้ำเชื้อ 10-12 ชั่วโมง

No comments
Back to content