การเตรียมสารละลายฮอร์โมน - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเตรียมสารละลายฮอร์โมน

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียม
การเตรียมสารละลายฮอร์โมน
ฮอร์โมนชนิดต่างๆที่จะนำมาใช้มีดกระตุ้นให้กับพ่อแม่พันธุ์ปลา จะต้องทำให้อยู่ในรูปของสารละลายและเจือจางให้มีความเข้มข้นพอเหมาะเสียก่อน จึงจะสามารถนำมาฉีดเข้าตัวปลาได้ ซึ่งฮอร์โมนแต่ละชนิดจะมีรูปลักษณะและหน่วยความเข้มข้นตลอดจนวิธี การใช้ที่แตกต่างกันออกไป

1. วิธีการเตรียมสารละลายฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง เมื่อชั่งน้ำหนักปลาที่จะฉีดและคำนวณปริมาณต่อมที่จะใช้เรียบร้อยแล้ว ให้นำต่อมใต้สมองที่เตรียมไว้ไปบดในหลอดบดต่อมหรือโกร่งบดยาจนละเอียด หากเป็นต่อมที่แช่อะซีโตนไว้ต้องนำไปผึ้งแดดสักพักหนึ่งเพื่อให้อะซีโตนระเหยออกไปก่อน ใช้เข็มฉีดยาดูดเอาน้ำกลั่นเติมลงไปในหลอดบดในปริมาณเล็กน้อยก่อน วิธีการบดให้หยอดน้ำหยดเล็กๆ ลงบนก้านบด เอาก้านบดบริเวณที่เปียกไปแตะเข้ากับต่อมใต้สมอง จากนั้นให้เอียงหลอดบดต่อมทำมุมประมาณ 30 องศา สอดก้านบดเข้าไปในหลอดบด ระหว่างนี้ระวังอย่าให้ต่อมตกลงสู่ก้นหลอดบด ดันก้านบดลงไปจนแน่นแล้วหมุนก้านบดไปมา บดจนละเอียดดีแล้วจึงดึงก้านบดออก เมื่อจะนำไปฉีดจึงค่อยเติมน้ำกลั่นให้เพียงพอกับปริมาณที่ต้องการฉีดทั้งหมดในแต่ละครั้งโดยใช้เกณฑ์ว่าใช้น้ำกลั่น 1 ซีซี.ต่อ น้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม

2. การเตรียมสารละลายฮอร์โมนสกัด ซึ่งฮอร์โมนสกัดอยู่ในรูปผลึกแห้งบรรจุขวดหรือหลอดแก้ว เมื่อจะนำมาใช้ก็เติมน้ำกลั่นลงไปละลายผลึกฮอร์โมนในปริมาณที่เหมาะสม วิธีการเตรียมสารละลายฮอร์โมนสกัด (เอช.ซี.ซี.) จะสะดวกกว่าต่อมใต้สมองมาก เพียงแต่ดูว่าหลอดนั้นบรรจุเอซ.ซี.จี. กี่ไอยูแล้วเติมน้ำกลั่นลงไปก็สามารถแบ่งฮอร์โมนมาฉีดได้ถูกต้อง ยกตัวอย่าง เช่น ฮอร์โมน 5,000 ไฮยู ถ้าเติมน้ำกลั่น 5 ซีซี.ก็จะได้ซีซี.ละ 1,000 โอยู หลังจากชั่งน้ำหนักปลาที่จะฉีดและกำหนดความเข้มข้นแล้วก็ดูดสารละลายฮอร์โมนไปใช้ตามอัตราส่วน ส่วนฮอร์โมนสกัดที่ละลายแล้วถ้าใช้ไม่หมดก็สามารถเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไปได้ โดยเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา แต่ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป ทางที่ดีควรละลายฮอร์โมนเท่าที่จะฉีดหมดพอดีในแต่ละครั้งเท่านั้น

3. วิธีการเตรียมสารละลายฮอร์โมนสังเคราะห์ วิธีการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีชื่อการค้าว่า “ซูพรีแฟคท์” ซึ่งอยู่ในรูปสารละลายบรรจุขวด โดยบรรจุขวดละ 10 ซีซี.หรือ 10,000 ไมโครกรัม ดังนั้นใน 1 ซีซี.จะมีเนื้อ ฮอร์โมน 1,000 ไมโครกรัม จึงสามารถแบ่งมาใช้ให้พอดีกับปริมาณแม่ปลาได้ไม่ยาก เมื่อจะใช้เพียงแต่ดูดออกมาผสมกับน้ำกลั่นให้ได้ระดับความเข้มข้นตามอัตราที่กำหนดและมีปริมาณเพียงพอก็สามารถนำไปฉีดให้กับพ่อแม่ปลาได้ ส่วนยาโดมเพอริโดน(โมทีเลียม) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับฮอร์โมนสังเคราะห์นั้น ใน 1 เม็ดบรรจุ 10 มิลลิกรัม เมื่อคำนวณได้ว่าใช้ที่เม็ดจึงนำมาบดให้ละเอียดในโกร่งบดยา จากนั้นจึงนำไปเติมลงในสารละลายฮอร์โมนสังเคราะห์ตามอัตราที่กำหนด ข้อควรระวังในการใช้โมทิเลียม คือ จะต้องบดยาให้ละเอียดจริงๆ และต้องละลายให้เป็นเนื้อเดียวกันกับสารละลายฮอร์โมนสังเคราะห์ เพื่อป้องกันยาอุดตันเข็มฉีดยา

4. ปริมาณสารละลายที่ใช้ การเตรียมสารละลายฮอร์โมนชนิดต่างๆ ที่จะฉีดให้กับพ่อแม่พันธุ์ปลา นอกจากจะต้องให้มีความเข้มข้นตามอัตราที่กำหนดแล้ว ปริมาณของตัวทำละลายฮอร์โมนก็ต้องใส่ลงไปให้เพียงพอต่อการฉีดปลาทั้งหมด และให้เหมาะสมกับขนาดของปลาแต่ละตัวด้วยคือ การฉีดปลาดุกที่มีขนาด 200-500 กรัม ควรใช้สารละลายฮอร์โมนที่ผสมแล้วประมาณ 0.3-0.7 ซีซี.หรือโดยเฉลี่ย 0.5 ซีซี.ต่อตัว ปลาดุกขนาด 500-2,000 กรัม ควรใช้ปริมาณสารละลายฮอร์โมนที่ผสมแล้วประมาณ 0.4-1.2 ซีซี.หรือโดยเฉลี่ย 0.8 ซีซี.ต่อตัว และปลาดุกขนาด 2,000 กรัม ขึ้นไปควรใช้ปริมาณสารละลายฮอร์โมนที่ผสมแล้วประมาณ 1.0-2.5 ซีซี.หรือ โดยเฉลี่ย 1.75 ซีซี.ต่อตัว ดังนั้นการคำนวณสารละลายที่จะผสมกับฮอร์โมนเพื่อฉีดให้กับพ่อแม่พันธุ์ปลาควรได้คำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย เพราะถ้าใช้ตัวทำละลายมากเกินไปอาจทำให้กล้ามเนื้อโป่งพอง หรือถ้าใช้ตัวทำละลายน้อยเกินไปอาจทำให้ฮอร์โมนกระจายไม่ทั่วถึง การออกฤทธิ์ของฮอร์โมนก็จะไม่ได้ผลเต็มที่

No comments
Back to content