พันธุ์ปลาดุกและลักษณะปลาดุก - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

พันธุ์ปลาดุกและลักษณะปลาดุก

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก
พันธุ์ปลาดุกและลักษณะประจำปลาดุก
ปลาดุกจัดอยู่ในครอบครัว แคลริไอดี (Family Clariidae) สกุลแคลริแอส (Genus Clarias) ในประเทศไทยมีพันธุ์ปลาจำพวกปลาดุกอยู่หลายชนิด แต่ที่รู้จักกันดีและนิยมบริโภคกันมากมีอยู่ 3 ชนิดคือ ปลาดุกด้าน ปลาดุกอุย และปลาดุกบิ๊กอุย สำหรับลักษณะโดยทั่วไปของปลาดุกแต่ละชนิดมีดังนี้

ปลาดุกด้าน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias batrachus มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ดุกเลา ดุกแดง ดุกเอ็น ดุกเผือก เป็นต้น พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดทุกภาคของประเทศ มีลักษณะรูปร่างยาว ลำตัวเป็นทรงกระบอกเรียวและแบนไปทางหาง บริเวณด้านหลังของลำตัวมีสีเทาปนดำหรือน้ำตาล ปนดำ ส่วนมากไม่มีจุดประข้างลำตัว บริเวณท้องมีสีค่อนข้างขาว บางครั้ง พบว่าสีตามลำตัวมีสีขาวตลอดซึ่งเรียกกันว่า “ดุกเผือก” หรือถ้ามีสีค่อนข้างแดงตามลำตัวมักเรียกกันว่า “ดุกแดง” หรือถ้าพบว่ามีจุดขาวเกิดขึ้นทั่วบริเวณเรียกว่า “ปลาดุกเอ็น”

ปลาดุกด้านเป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด ผิวหนังลำตัวสีค่อนข้างคล้ำหรือ เทาปนดำ ไม่มีครีบไขมัน ความยาวมาตรฐานของลำตัว คือ ยาวประมาณ 6-7.5 เท่าของความลึกของลำตัวและเป็นประมาณ 3.5 เท่าของความยาวส่วนหัว ส่วนหัวมีลักษณะแบนและค่อนข้างแหลม มีแผ่นกระดูกบางๆ ต่อกันเป็นชิ้นๆ ปกคลุมด้านบนและด้านล่างของหัว ลักษณะของกระดูกหัวขรุขระ กระดูกท้ายทอยค่อนข้างแหลม ความยาวของกระดูกท้ายทอยเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวส่วนหัว ความยาวของส่วนหัวเป็นประมาณ 4.5 เท่าของระยะห่างจากส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยถึงจุดเริ่มต้นของครีบหลัง ส่วนฐานของครีบหลังยาวเกือบตลอดส่วนหลัง ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง แต่มีก้านครีบอ่อนประมาณ 65-77 ก้าน ครีบก้นยาวเกือบถึงโคนหางและมี
ก้านครีบอ่อนประมาณ 41-58 ก้าน ครีบท้องกลมมีก้านครีบ 6 ก้าน ครีบท้องยาวไปถึงครีบก้นและยาวประมาณ 2 ใน 3 ของครีบอก ครีบอกมีก้านครีบแข็งข้างละ 1 ก้าน ซึ่งมีลักษณะกลมใหญ่ ปลายแหลม และเป็นหยักทั้งสองด้าน โดยจะยาวเกินหรือเท่ากับครีบอ่อนหรือที่เรียกว่า “เงี่ยง” ซึ่งปลาดุก ใช้เงี่ยงเป็นอาวุธป้องกันตัว ครีบหางแบนปลายมนและไม่ติดกับครีบหลังและครีบก้น

ตาจะอยู่ด้านบนของหัวและมีขนาดเล็กผิดส่วนกับขนาดของลำตัว ปากค่อนข้างกว้างมีลักษณะเฉียงลง ริมฝีปากบนจะยาวกว่าริมฝีปากล่าง รูจมูก 2 คู่ คู่หน้าเป็นท่อสั้นๆอยู่หลังริมฝีปาก ส่วนคู่หลังอยู่ติดกับหนวดมี ลักษณะกว้างและไม่เป็นท่อ มีหนวดอยู่ 4 คู่ หนวดที่ขากรรไกรล่างจะยาวถึงส่วนปลายก้านครีบแข็งของครีบอก หนวดที่ขากรรไกรบนยาวถึงก้านครีบหลังก้านที่ 7-8 ส่วนหนวดที่บริเวณจมูกยาวประมาณ 1 ใน 3 ของก้านครีบแข็งของครีบอก และหนวดคางยาวถึงส่วนปลายของครีบอก หนวดปลาดุกสามารถรับความรู้สึกต่างๆได้ดี ดังนั้นปลาดุกจึงใช้หนวดมากกว่าใช้ตาในการหาอาหารตามพื้นผิวดิน

ภายในโพรงกะโหลกเหนือช่องเหงือกทั้งสองข้างจะมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจ ซึ่งมีลักษณะคล้ายพุ่มไม้เล็กๆ เรียกว่า อะโบเรสเซนต์ ออร์แกน (aborescent organ) จำนวนกระดูกซี่กรองเหงือกมีจำนวน 16-19 อัน ส่วนลักษณะฟันบนเพดานปากและฟันบนขากรรไกรบนเป็นฟันซี่เล็กๆ ซึ่งลักษณะรูปร่างโดยทั่วไปของปลาดุกด้านตัวผู้กับตัวเมียจะเหมือนกัน จะแตกต่างกันเฉพาะตรงอวัยวะเพศ ส่วนเนื้อของปลาดุกด้านมีสีขาว นุ่มแต่แข็ง กว่าเนื้อปลาดุกอุยและมีไขมันน้อย

No comments
Back to content