คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมใช้เลี้ยงปลาดุก(ต่อ) - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมใช้เลี้ยงปลาดุก(ต่อ)

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมใช้เลี้ยงปลาดุก
4. ปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ที่ละลายในน้ำตามธรรมชาติแล้ว คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำได้มาจากบรรยากาศ การหายใจของพืชและสัตว์และการเน่าสลายของอินทรีย์สาร ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในน้ำจะเป็นปฏิภาคกลับกันกับปริมาณออกซิเจน กล่าวคือ ในแหล่งน้ำใดที่มีคาร์บอนไดออกไซต์อยู่สูง ปริมาณออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการหายใจของปลาจะมีอยู่น้อย ปกติปลาจะหลีกเลี่ยงไม่อยู่ในน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในระดับที่สูงกว่า 5 ppm.

ปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ในบ่อเลี้ยงปลาจะมีอยู่สูงในช่วงตอนกลางคืน และลดน้อยลงในตอนกลางวันเนื่องจากถูกพืชน้ำไปใช้ในการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อาจจะสูงมากผิดปกติในขณะที่มีอากาศมืดครึ้มและหลังจากที่มีการตายของแพลงก์ตอนภายในบ่อจำนวนมาก สามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อ

5. ความขุ่นของน้ำ ความขุ่นของน้ำในที่นี้หมายถึง ความขุ่นของน้ำอันเกิดจากตะกอนของดินซึ่งจะไปขัดขวางไม่ให้แสงสว่างสองลงไปถึงก้นบ่อ ความขุ่นของน้ำเป็นอันตรายต่อปลาถึงขนาดทำให้ปลาตายได้ โดยตะกอนจะไปเกาะที่บริเวณเหงือกของปลาทำให้ปลาหายใจไม่สะดวก เกิดการอ่อนเพลีย และปลาไม่กินอาหารหรือกินอาหารได้น้อยลง และความขุ่นของน้ำที่มากเกินไปยังทำให้แสงสว่างสองลงไปได้ลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร มีผลทำให้พืชหรือแพลงก์ตอนพืชที่อยู่ใต้น้ำไม่สามารถเจริญเติบโตได้ สำหรับระดับความขุ่นที่เหมาะสมคือประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งสามารถตรวจสอบโดยการจุ่มแขนลงไปใต้น้ำระดับข้อศอกและมองเห็นฝ่ามือแสดงว่ามีระดับความขุ่นที่เหมาะสม

วิธีการกำจัดความขุ่นของน้ำที่ได้ผลดีคือ การใช้สารส้มหรืออลูมิเนียมซัลเฟต ซึ่งสารเคมีพวกนี้จะรวมกับสารแขวนลอยต่างๆ ทำให้ตกตะกอนภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ส่วนอัตราที่ใช้คือ 25-30 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร การใช้ควรละลายในน้ำก่อนแล้วสาดไปรอบๆทั่วผิวน้ำในบ่อ ควรใช้ในขณะที่มีอากาศสงบและไม่มีคลื่นแรง มิฉะนั้นอาจทำให้ตะกอนที่เกิดขึ้นไม่จมลงไปข้างล่าง6. ก๊าซไข่เน่า ก๊าชนี้เกิดจากการหมักและการเน่าสลายของอินทรีย์ สารก้นบ่อ มักจะเกิดปัญหาขึ้นกับบ่อเลี้ยงปลาที่มีการให้อาหารในปริมาณมากและมีอาหารตกค้างที่ก้นบ่อ โดยเฉพาะปลาที่อ่อนแอมีภูมิต้านทานต่ำ แม้เพียง 0.1-0.2 ppm ก็ตายได้ ส่วนปลาที่แข็งแรงมีภูมิต้านทานสูงแต่ถ้าเกิน 1 ppm ก็จะมีอาการมีนงงและตายได้เช่นกัน การเกิดก๊าซไข่เน่ามีผล ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง โดยจะสังเกตไต้จากพื้นบ่อมีสีดำคล้ำและมีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า สำหรับแนวทางในการแก้ไขทำได้โดยการตากบ่อ ลอกเลนและโรยปูนขาว ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซไข่เน่าในบ่อให้น้อยลงได้

7. แก๊สแอมโมเนีย เป็นแก๊สที่มีพิษต่อปลามาก เกิดจากเศษอาหารที่หลงเหลือถูกย่อยโดยแบคทีเรียและมูลต่างๆ ที่ปลาได้ขับถ่ายออกมา ซึ่งแอมโมเนียจะไปมีผลต่อระบบการหายใจโดยจะไปเกาะที่เหงือกปลาและกีดกันการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ถ้าความเข้มข้นของแก๊สแอมโมเนียในน้ำเกิน 2 ppm จะส่งผลทำให้ปลาเบื่ออาหารและเคลื่อนไหวช้าลง แต่ถ้าหากมีมากเกิน 5 ppm อาจทำให้ปลาตายได้ สำหรับวิธีการแก้ไขโดยใช้ปูนขาวหรือเกลืออินออร์แกนิคบางชนิด ซึ่งสามารถดูดซึมการแตกตัวของแอมโมเนียได้ และการเปลี่ยนถ่ายน้ำก็ช่วยได้บ้าง

No comments
Back to content