การอนุบาลในบ่อซีเมนต์ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การอนุบาลในบ่อซีเมนต์

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การอนุบาลปลาวัยอ่อน > การอนุบาลในบ่อซีเมนต์
2. การอนุบาลในบ่อซีเมนต์ การอนุบาลลูกปลาดุกด้วยวิธีนี้ทำให้สะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ตลอดจนการปฏิบัติดูแลรักษาและการคัดขนาดปลาที่โตออกก็สามารถทำได้ง่าย แต่เนื่องจากในบ่อซีเมนต์ไม่มีอาหารธรรมชาติเพียงพอจึงทำให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าการอนุบาล ในบ่อดิน นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดบาดแผลที่ปาก ลำตัว และครีบของ ลูกปลา อันเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังต้องลงทุนสูงกว่าการอนุบาลแบบอื่นอีกด้วย

ลักษณะของบ่อซีเมนต์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างลอยขึ้นบนพื้นดินขนาดของบ่อที่นิยมใช้โดยทั่วไปประมาณ 2-5 ตารางเมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร พื้นก้นบ่อเรียบและลาดเอียงไปทางหัวหรือท้ายบ่อเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการระบายน้ำและรวบรวมลูกปลา ด้านในของบ่อฉาบปูนให้เรียบ นอกจากนี้ควรมีหลังคาคลุมบ่อเพื่อป้องกันแสงแดดและฝน

สำหรับบ่อซีเมนต์ที่สร้างขึ้นใหม่ ก่อนใช้ต้องกำจัดความเป็นพิษของปูนออกไปเสียก่อน โดยใช้น้ำส้มสายชูใส่ลงในบ่อทิ้งไว้ 3-4 วัน จึงระบายน้ำทิ้ง และล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย ส่วนบ่อเก่าที่เคยใช้มาแล้วควรล้างทำความสะอาด แล้วราดด้วยฟอร์มาลีนหรือด่างทับทิมเข้มข้นแล้วตากบ่อไว้ให้แห้ง แล้วเติมน้ำลงไปในบ่อให้สูงประมาณ 5-7 เซนติเมตร เพื่อทำการเพาะไรแดงไว้สำหรับเป็นอาหารของลูกปลา และเติมอาหารสำเร็จรูปซึ่งอาจจะใช้อาหารไก่หรืออาหารหมูชนิดเม็ด ในอัตราส่วนอาหาร 120 กรัมต่อตารางเมตร โดยหว่านให้ทั่วบ่อทิ้งไว้ 1 คืน แล้วเติมน้ำให้สูงขึ้นเป็น 20-30 เซนติเมตร แล้วนำไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่มาปล่อยลงในบ่อในอัตราส่วนไรแดง 100 กรัมต่อเนื้อที่บ่อ 10 ตารางเมตร ทิ้งไว้ 2 วัน ระหว่างนี้ไรแดงจะขยายพันธุ์ ซึ่งการขยายพันธุ์ของไรแดงจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากตามขอบบ่อจะมีไรแดงมาเกาะเป็นกลุ่มก้อนมากมาย

หลังจากเพาะไรแดงไว้เรียบร้อยแล้ว จึงนำลูกปลาดุกที่ได้จากการเพาะพันธุ์มาปล่อยลงในบ่อ ลูกปลาที่มีอายุ 5 วัน ซึ่งมีขนาดความยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร ปล่อยในอัตรา 500-600 ตัวต่อพื้นที่บ่อ 1 ตารางเมตร ก่อนนำลูกปลามาปล่อยควรได้ทำการฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับลูกปลาเสียก่อน การย้ายลูกปลาจากบ่อฟักมายังบ่ออนุบาลต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากลูกปลาวัยอ่อนไม่สามารถต้านทานต่อการกระทบกระเทือนที่รุนแรง ได้ และอย่าทำให้ลูกปลาตกใจเพราะจะเกิดความเครียด ส่งผลให้ลูกปลาอ่อนแอและติดโรคพยาธิต่างๆได้ง่ายในภายหลัง ในกรณีที่ใช้บ่อฟักไข่เป็นบ่ออนุบาลต่อโดยไม่ต้องย้ายบ่อจะต้องรีบถ่ายน้ำในบ่อออกทันทีหลังจากยกตาข่ายสีฟ้าออก โดยใช้สายยางหลายๆเส้นดูดออกด้วยวิธีกาลักน้ำ และเติมน้ำเข้าไปแทนที่น้ำเก่าให้มีปริมาณเท่าเดิม จากนั้นต้องเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อโดยใช้เครื่องแอร์ปั๊มเปิดเพียงเบาๆหรือสเปรย์น้ำเป็นฝอยละเอียดลงบ่อ

No comments
Back to content