เตรียมที่วางไข่และคัดเลือกพันธุ์ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

เตรียมที่วางไข่และคัดเลือกพันธุ์

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเพาะพันธุ์ปลาดุก
3. การเตรียมที่วางไข่ โดยธรรมชาติแล้วปลาดุกด้านเป็นปลาที่ชอบวางไข่ตามโพรงริมตลิ่ง ก่อนที่จะวางไข่นั้นปลาตัวผู้จะกัดดินทำเป็นโพรงหรือหลุมเพื่อให้แม่พันธุ์ได้วางไข่ ดังนั้นภายในบ่อที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาดุกด้าน จะต้องขุดเป็นหลุมที่บริเวณริมบ่อโดยรอบและตรงกลางบ่อให้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้หลุมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซนติเมตร และลึกจากพื้นดินเดิมประมาณ 20-25 เซนติเมตร ที่บริเวณพื้นก้นหลุมควรทำเป็นแอ่งให้กว้างกว่าที่ปากหลุมเล็กน้อย

ในการเตรียมหลุมเพื่อให้พ่อแม่พันธุ์ปลาวางไข่ผสมพันธุ์ควรให้หลุมมีระยะห่างกันพอสมควร คือ ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตรถึง 1 เมตร ส่วนจำนวนหลุมนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนพ่อแม่พันธุ์ปลาที่จะปล่อย การเตรียมหลุมไว้นี้ก็เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์ปลาได้ใช้เป็นที่สำหรับวางไข่ผสมพันธุ์ ส่วนภายในคู่ที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์นั้นไม่นิยมขุดเป็นหลุม หลังจากเตรียมบ่อและ เตรียมที่วางไข่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ระบายน้ำเข้าคูที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ให้พร้อมที่จะปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงเลี้ยงได้

สำหรับฤดูกาลเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านที่เหมาะสมนั้น จากการสังเกตการวางไข่ของปลาดุกด้านตามธรรมชาติพบว่า ปลาดุกด้านจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนตุลาคม ดังนั้นการเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติควรกระทำในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่ปลาดุกด้านจะวางไข่ และได้ลูกพันธุ์ปลาที่สมบูรณ์แข็งแรงดี แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างเดือนที่ไม่ได้กล่าวมานี้ก็สามารถที่จะทำการเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านได้เช่นกัน

4. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ จุดประสงค์ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์มาทำการเพาะพันธุ์นั้นก็เพื่อให้ได้ลูกปลาที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีปริมาณลูกปลาต่อแม่สูง ซึ่งลักษณะพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกด้านที่จะนำมาเพาะพันธุ์นั้น ควรเป็นปลาที่มีขนาดโต คือ มีน้ำหนักประมาณ 150 กรัมขึ้นไป หรือมีความยาว 20-25 เซนติเมตรขึ้นไป และมีอายุก่อนการเพาะพันธุ์ไม่น้อยกว่า 6-8
เดือน เป็นปลาที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีบาดแผลตามลำตัว ไม่มีโรคพยาธิ เจริญเติบโตเร็ว มีไข่แก่หรือน้ำเชื้อดี นอกจากนี้ควรเป็นปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน ซึ่งพ่อแม่พันธุ์นั้นผู้เพาะสามารถรวบรวมได้มาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
1. รวบรวมจากตลาด กรณีนี้สามารถหาได้ง่ายเพราะมีปลาให้เลือก เป็นจำนวนมาก แต่จะได้พ่อแม่พันธุ์ที่บอบช้ำพอสมควร เนื่องจากปลาได้รับการกระทบกระเทือนในขณะลำเลียงขนส่ง ดังนั้นผู้เพาะพันธุ์ที่รวบรวมพ่อแม่พันธุ์โดยวิธีนี้จะต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์เป็นอย่างมากในการคัดเลือก จึงจะได้พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกด้านที่มีลักษณะดีได้
2. ชื้อมาจากฟาร์มเลี้ยงปลาเนื้อหรือรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นวิธีที่ผู้เพาะพันธุ์ปลาส่วนมากนิยมกระทำกัน โดยคัดเลือกปลาจากที่จับขึ้นมาจากบ่อในรุ่นแรกๆ เพราะจะได้พ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีความสมบูรณ์และ แข็งแรงกว่าปลาที่จับได้ในภายหลัง ส่วนการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาตินั้นจะได้พ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์และมีลักษณะดีอยู่แล้ว
3. เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เอง โดยผู้เพาะพันธุ์จะสร้างบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ไว้เองต่างหาก แต่อัตราการปล่อยต้องน้อยกว่าและการดูแลรักษาจะต้องพิเศษกว่าการเลี้ยงปลาดุกเพื่อจำหน่าย นอกจากนี้อาหารที่ใช้เลี้ยงก็ต้องเป็นเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพดี การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เองนี้จะได้ปลาที่มีคุณภาพดีกว่า

No comments
Back to content