อัตราการปล่อย ไข่ และการผสมพันธุ์ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

อัตราการปล่อย ไข่ และการผสมพันธุ์

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเพาะพันธุ์ปลาดุก
สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น ปลาเป็ดผสมกับรำละเอียดในอัตราส่วนปลาเป็ด 9 ส่วน ผสมกับรำ 1 ส่วนโดยน้ำหนัก บดผสมให้เข้ากันดี ให้ปลากินวันละประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาทั้งหมดที่ปล่อยลงเลี้ยง หรืออาจให้อาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำที่มีโปรตีนประกอบอยู่ไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อก็ได้เช่นกัน ขณะให้อาหารผู้เลี้ยงต้องสังเกตว่าปริมาณอาหารที่ให้นั้นเพียงพอหรือไม่ ถ้าอาหารเหลือ ก็ลดอาหารให้น้อยลง แต่ถ้าไม่พอควรจะให้อาหารเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องคอยสังเกตด้วยว่าพ่อแม่ปลาอ้วนเกินไปหรือไม่ด้วย ถ้าพ่อแม่ปลาอ้วนเกินไปต้องลดปริมาณอาหารลงหรืออาจต้องงดอาหารในช่วง 7-10 วัน ก่อนการเพาะพันธุ์

5. การปล่อยและอัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ โดยธรรมชาติแล้วปลาดุกด้านจะจับคู่ผสมพันธุ์กัน ดังนั้นในการเพาะพันธุ์ก็จำเป็นจะต้องจัดอัตราส่วนระหว่างปลาตัวผู้และปลาตัวเมียให้เท่ากัน หลังจากคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้แล้ว นำพ่อแม่พันธุ์ไปปล่อยลงในคูที่ขุดไว้ในบ่อ ซึ่งในบ่อเพาะจะมีน้ำเฉพาะในคูเท่านั้น อัตราการปล่อยที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านและเลี้ยงลูกปลาต่อไปจนโตในบ่อเดียวกันควรใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีขนาด 20 เซนติเมตรขึ้นไป จำนวน 10-20 คู่ต่อเนื้อที่บ่อ 200 ตารางเมตร หรือในอัตราส่วนน้ำหนักปลา 100 กิโลกรมต่อเนื้อที่เพาะพันธุ์ 1 ไร่ หรือประมาณ 400-600 ตัวต่อไร่

ในกรณีที่ผู้เลี้ยงมีบ่อเพาะพันธุ์จำนวนหลายๆบ่อ หลังจากเพาะพันธุ์ รุ่นแรกไปแล้วอาจจะช้อนลูกปลาดุกด้านขนาด 2-3 เซนติเมตร ซึ่งยังรวมฝูงกันอยู่ นำไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้สำหรับลูกปลาอีกต่างหากด้วย แล้วใช้บ่อดินเป็นบ่อเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านรุ่นต่อไปอีก 2 รุ่น โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาในอัตราส่วน ทั้งนี้ภายหลังที่ได้เพาะพันธุ์ปลาดุกด้านรุ่นแรกไปแล้วควรจะระบายน้ำออกและจับพ่อแม่พันธุ์รุ่นแรกออกไปเสียก่อน เพื่อเปลี่ยนน้ำ กำจัดศัตรู และตบแต่งหลุมวางไข่ใหม่ จากนั้นจึงเปิดน้ำเข้าบ่อเพื่อเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านรุ่นใหม่ต่อไป

6. การวางไข่และผสมพันธุ์ เมื่อถึงฤดูเพาะพันธุ์ผู้เลี้ยงก็จะสูบน้ำเข้าบ่อจนกระทั่งท่วมหลุมวางไข่สูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร พร้อมกับหยุดให้อาหาร การสูบน้ำเข้าบ่อควรให้น้ำผ่านตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันศัตรูที่อาจติดมากับน้ำ ควรสูบน้ำเข้าในบ่อในช่วงตอนเย็นหรือกลางคืน เมื่อพ่อแม่ปลาที่อยู่ในร่องคู่ได้รับน้ำใหม่และมีความสมบูรณ์เต็มที่แล้วก็จะจับคู่กันขึ้นไปวางไข่ตามหลุมวางไข่ที่ได้จัดไว้ในบ่อเพาะพันธุ์ ในขณะที่ปลาผสมพันธุ์จะสังเกตเห็นปลาตัวผู้และปลาตัวเมียว่ายเข้าออกอยู่บริเวณหลุมวางไข่อยู่เป็นประจำ แล้วปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายรัดพันตัวเมียโดยใช้ส่วนหัวและส่วนหางบีบรัดบริเวณลำตัวของปลาตัวเมีย หลังจากนั้นปลาตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาติดกับดินหรือรากหญ้าบริเวณก้นหลุม ไข่ปลาดุกด้านมีลักษณะเป็นเม็ดกลม สีเหลืองอ่อน ขนาดประมาณ 1-1.6 มิลลิเมตร หลังจากปลาตัวเมียวางไข่แล้ว ปลาตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาตัวผู้ก็จะไล่ปลาตัวเมียออกจากหลุมวางไข่เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ปลากินไข่ตัวเอง แล้วปลาตัวผู้จะเฝ้าดูแลรักษาและป้องกันภัยต่างๆที่อาจจะเข้ามาทำลายไข่ในหลุมไปจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว

สังเกตเห็นปลาตัวผู้และปลาตัวเมียว่ายเข้าออกอยู่บริเวณหลุมวางไข่อยู่เป็นประจำ แล้วปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายรัดพันตัวเมียโดยใช้ส่วนหัวและส่วนหางบีบรัดบริเวณลำตัวของปลาตัวเมีย หลังจากนั้นปลาตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาติดกับดินหรือรากหญ้าบริเวณก้นหลุม ไข่ปลาดุกด้านมีลักษณะเป็นเม็ดกลม สีเหลืองอ่อน ขนาดประมาณ 1-1.6 มิลลิเมตร หลังจากปลาตัวเมียวางไข่แล้ว ปลาตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาตัวผู้ก็จะไล่ปลาตัวเมียออกจากหลุมวางไข่เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ปลากินไข่ตัวเอง แล้วปลาตัวผู้จะเฝ้าดูแลรักษาและป้องกันภัยต่างๆที่อาจจะเข้ามาทำลายไข่ในหลุมไปจนกระทั่งไข่ฟัก ออกเป็นตัว
ตอนกลางวันที่มีแดดจัดลูกปลาจะตายเป็นจำนวนมาก

วิธีการรวบรวมลูกปลาดุกด้านในบ่อเพาะพันธุ์ เริ่มด้วยการลดน้ำในบ่อให้เหลือน้ำไว้เฉพาะในร่องคูที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เท่านั้น พ่อแม่ปลาก็จะลงไปอยู่ในร่องคูนี้ทั้งหมด ส่วนในหลุมก็จะมีอยู่เฉพาะลูกปลา จากนั้นจึงเดินไปที่หลุมและใช้มือแหย่ลงไปในหลุมจนถึงก้นหลุม ถ้าหลุมใดมีลูกปลา จะพบว่ามีลูกปลามาตอมและพันอยู่ตามมือ จากนั้นให้ใช้สวิงช้อนลูกปลาออกจากหลุมทันที สวิงที่ใช้เป็นสวิงปากกลมโตขนาดพอๆกับขนาดปากหลุม ลูกปลาที่ได้เป็นลูกปลาขนาด 1-1.20 เวนติเมตร เม่อช้อนลูกปลาได้แล้วให้ใส่ไว้ในกะละมังพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว เมื่อเห็นว่าลูกปลาในกะละมังแน่นพอสมควรแล้ว จึงนำไปปล่อยในกระชังไนล่อนขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร ซึ่งแขวนลอยอยู่ในร่องคูของบ่อนั้นหรือบ่อพัก ลูกปลาที่อยู่ใกล้ๆ หรือที่ที่เหมาะสม แล้วกลับมารวบรวมลูกปลาจากหลุมอื่น ต่อไปจนหมดทั่วทั้งบ่อ

จำนวนลูกปลาที่ได้คือประมาณ 1,000 ตัวต่อหลุม หรือประมาณ 20,000-350,000 ตัวต่อไร่ ลูกปลาดุกด้านที่รวบรวมได้นั้นเป็นปลาขนาดลูกไรซึ่งสามารถขายได้ หากไม่ขายก็นำไปอนุบาลเป็นปลาขนาดอื่นต่อไปได้ ทั้งนี้แล้วแต่ความประสงค์ของผู้ทำการเพาะพันธุ์

ข้อควรระวังในช่วงระยะที่ทำการเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านก็คือ ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงหรือให้ผู้ใดเข้าไปรบกวนบริเวณหลุมวางไข่ เพราะถ้าปลาดุกด้าน ตกใจแล้วมันจะกลืนลูกเข้าไปในท้องทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่ยังไม่ลดน้ำในบ่อจะอันตรายมาก

No comments
Back to content