การเพาะพันธุ์ปลาดุกด้าน - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเพาะพันธุ์ปลาดุกด้าน

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเพาะพันธุ์ปลาดุก
การเพาะพันธุ์ปลาดุกด้าน
การเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านสามารถทำได้ 2 วิธี คือ โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติและวิธีผสมเทียม แต่โดยทั่วไปนิยมเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านโดยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากในขั้นตอนของการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการดัดแปลงสภาพธรรมชาติเพื่อให้เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์วางไข่ของปลาดุกด้านมากที่สุด เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย ลงทุนน้อย ประกอบ กับนิสัยของลูกปลาดุกด้านที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือนจะยังรวมกันเป็นกลุ่มทำให้ง่ายต่อการรวบรวมลูกปลา ซึ่งผิดกับลูกปลาดุกอุยที่เมื่ออายุได้ 2-3 วันก็จะกระจายกันออกหากิน ทำให้ยากต่อการรวบรวมลูกปลา สำหรับขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ เป็นดังนี้

1. การเลือกสถานที่ สถานที่ที่จะใช้เป็นบ่อเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านนั้น จะต้องเลือกเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องจากการเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านสามารถทำได้เกือบตลอดทั้งปีและต้องใช้น้ำมาก มีการถ่ายเทน้ำบ่อยครั้ง เพราะฉะนั้นสถานที่เพาะพันธุ์ปลาดุกด้านควรอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำจืดที่สะอาดและมีคุณภาพดี มีปริมาณมากพอไม่ขาดแคลนตลอดช่วงฤดูเพาะพันธุ์ น้ำท่วมไม่ถึง ดินควรเป็นดินเหนียว สามารถเก็บกักน้ำได้ดี ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินควรอยู่ในช่วงที่เหมาะสมคือมี pH อยู่ระหว่าง 6-8

นอกจากนี้สถานที่ที่จะนำมาใช้ในการสร้างบ่อเพาะพันธุ์ควรอยู่ในที่เงียบสงบห่างไกลจากเลี้ยงรบกวน ควรอยู่ใกล้กับบ่ออนุบาลและบ่อเลี้ยง มีเส้นทางคมนาคมติดต่อได้สะดวกทั้งภายในและภายนอก ซึ่งจะมีผลในด้านการดำเนินงานการจัดการต่างๆได้สะดวกและรวดเร็ว

2. การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ โดยธรรมชาติปลาดุกด้านสามารถวางไข่ได้ในท้องนา คู หรือในทำเลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้นการเตรียมบ่อสำหรับเพาะพันธุ์ปลาดุกด้านควรเตรียมให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพธรรมชาติที่ปลาดุกด้านวางไข่ให้มากที่สุด
เนื่องจากบ่อเพาะพันธุ์นี้เป็นบ่อที่จะต้องใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ด้วย ดังนั้นลักษณะของบ่อจึงแตกต่างไปจากบ่อเพาะพันธุ์ปลาอื่นๆ คือ บ่อที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาดุกด้านควรเป็นบ่อที่มีขนาดตั้งแต่กว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร จนถึง ขนาดใหญ่ 4-5 ไร่ หรือมากกว่านี้ บ่อควรมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการรวบรวมลูกปลาหรือการจับพ่อแม่พันธุ์ออกจากบ่อ หลังจากการเพาะพันธุ์สิ้นสุดลงแล้ว ยกคันบ่อโดยรอบให้สูงจากพื้นดินเดิมประมาณ 50 เซนติเมตร และห่างจากคันบ่อเข้าไปด้านใน 2-3 เมตรให้ขุดเป็นคูโดยรอบ โดยให้คูนี้มีความกว้าง 3 เมตร ลึก 1.25 เมตร ซึ่งคูนี้จะเป็นที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ขุดสลับเว้นพื้นดินภายในบ่อไว้สร้างหลุมวางไข่พองาม ภายในบ่อปล่อยให้หญ้าขึ้นตามธรรมชาติ หรืออาจจะดัดแปลงคูซึ่งมีสภาพคล้ายคลึงกันมาเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาดุกด้านก็นับว่าเป็นผลดีเช่นเดียวกัน

ในกรณีที่ขอบบ่อยกคันบ่อไม่สูงนักควรใช้ลวดตาข่ายหรือผ้ามุ่งไนล่อน ขึงล้อมรอบบ่อให้สูงจากพื้นขอบบ่อประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อป้องกันพ่อแม่ปลาหนีออกจากบ่อ

No comments
Back to content