การคัดขนาดลูกปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การคัดขนาดลูกปลา

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก
การคัดขนาดลูกปลา
ในการอนุบาลลูกปลาดุกนั้นขนาดของลูกปลาที่ได้จะสม่ำเสมอหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการเช่น อัตราการปล่อย หากปล่อยหนาแน่นเกินไปลูกปลาจะมีขนาดแตกต่างกัน และหากให้อาหารในปริมาณ ไม่เพียงพอหรืออาหารอยู่ในรูปก้อนเปียกทำให้ลูกปลากินอาหารได้ไม่ทั่วถึง ขนาดของลูกปลาที่ได้ก็จะแตกต่างกันจึงจำเป็นต้องทำการคัดขนาด ซึ่งการคัดขนาดนั้นมีความจำเป็นมากสำหรับการเลี้ยงปลาดุก เพราะปลาที่มีขนาดใหญ่จะกินปลาที่มีขนาดเล็กกว่า สำหรับขนาดของลูกพันธุ์ปลาดุกที่จำหน่าย กันโดยทั่วไปมี 3 ขนาด ซึ่งมีระยะเวลาการอนุบาลที่แตกต่างกันดังนี้

1. ลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร หรือที่เรียกว่า ปลาคว่ำบ่อ ลูกปลาดุกขนาดนี้เป็นปลาที่ใช้เวลาอนุบาล 14-15 วัน โดยที่ผู้เลี้ยงจะวิดบ่อจับขายโดยไม่มีการคัดขนาด

2. ลูกปลาขนาด 3-4 เซนติเมตร ลูกปลาดุกขนาดนี้เป็นปลาที่ใช้เวลาอนุบาล 28-35 วัน ผู้เลี้ยงจะวิดบ่อจับขาย และปลาที่ขายนี้จะมีการคัดขนาดด้วยถังคัดขนาดปลาที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูเท่ากับ 0.6 หรือ 0.7 เซนติเมตร

3. ลูกปลาขนาด 5-7 เซนติเมตร ลูกปลาดุกขนาดนี้จะเป็นปลาที่ใช้เวลาอนุบาล 40-45 วัน เป็นปลาขนาดโตที่สุดของการอนุบาลลูกปลา ผู้เลี้ยงจะวิดบ่อขายและคัดขนาดด้วยถังคัดขนาดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของรู 0.8 เซนติเมตร

นอกจากนี้ยังมีลูกพันธุ์ปลาวัยรุ่นขนาด 20-30 ตัวต่อกิโลกรัม ลูกพันธุ์ปลาขนาดนี้ไม่จำเป็นต้องนำไปอนุบาลต่อ สามารถนำไปปล่อยลงเลี้ยงในบ่อเลี้ยงได้เลย แต่ยัง ไม่เป็นที่นิยมมากนัก จึงมีผู้เพาะเลี้ยงไว้จำหน่ายเพียงเล็กน้อย

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในคัดขนาดปลา
ซึ่งลักษณะของถังจะเป็นถังพลาสติกรูปทรงกระบอกก้นปิด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ฟุต เจาะรูโดยรอบถังจากก้นถังขึ้นไปประมาณ 14 นิ้ว รวมทั้งที่ก้นถังด้วย โดยใช้สว่านเจาะรูซึ่งขนาดเส้น ผ่าศูนย์กลางของรูที่เจาะนั้นจะบ่งชี้ถึงขนาดความยาวของลูกปลา

ข้อควรระวัง คือภายหลังจากเจาะรูแล้วควรตกแต่งรอยเจาะให้เรียบลื่น มิเช่นนั้นลูกปลาอาจจะระคายเคืองทำให้เกิดบาดแผลได้ สำหรับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูจะเป็นดังนี้
1. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรู 0.4 เซนติเมตร จะเป็นการคัดขนาดของปลาที่มีความยาวน้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร
2. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรู 0.6 เซนติเมตร จะเป็นการคัดขนาดของปลาที่มีความยาวของลำตัวอยู่ระหว่าง 2.5-3 เซนติเมตร
3. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรู 0.7 เซนติเมตร จะเป็นการคัดขนาดของปลาที่มีความยาวของลำตัวอยู่ระหว่าง 3-5 เซนติเมตร
4. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรู 0.8 เซนติเมตร จะเป็นการคัดขนาดของปลาที่มีความยาวของลำตัวอยู่ระหว่าง 5-7 เซนติเมตร

วิธีการคัดขนาดลูกปลา
โดยผู้เลี้ยงจะวางถังคัดขนาดลูกปลาลงในภาชนะที่บรรจุน้ำ แล้วตักลูกปลาที่ต้องการคัดใส่ลงในถังคัดขนาด จากนั้นจึงขยับถังคัดขนาดไปมาเบาๆ ลูกปลาที่เล็กกว่าขนาดที่ต้องการจะหนีออกจากถังไป เช่น ถ้าผู้ซื้อต้องการปลาขนาด 5-7 เซนติเมตร ผู้ขายจะใช้ถังคัดขนาดลูกปลาที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูเท่ากับ 0.8 เซนติเมตร ลูกปลาที่เหลืออยู่ภายในถังหลังการร่อนแล้วจะเป็นปลาขนาด 5-7 เซนติเมตร ตามต้องการส่วนปลาที่ผ่านการคัดแล้วควรจุ่มในยาเหลืองอัตรา 10 กรัมต่อลูกบาศก์เมตรทุกครั้ง เพื่อรักษาแผลที่อาจเกิดขึ้น ไม่ควรนำปลาชุดเดียวกันนั้นมาคัดขนาดช้ำเกิน 2 ครั้ง เพราะจะทำให้ปลาบอบช้ำมาก การคัดขนาดลูกปลาด้วยอุปกรณ์ดังกล่าวนี้แม้จะไม่ได้ผลถึง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก

No comments
Back to content