การเตรียมบ่อ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเตรียมบ่อ

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การเลี้ยงปลาดุกในบ่อคอนกรีตกลม
การเตรียมบ่อ
หลังจากสร้างบ่อเสร็จใช่ว่าจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ได้เลย จะต้องมีการเตรียมบ่อเสียก่อน บ่อที่สร้างใหม่ยังไม่สามารถปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงได้ เนื่องจากน้ำในบ่อจะเป็นด่าง ความเป็นด่างของปูนนี้ถึง แม้ว่าจะไม่ทำให้ลูกปลาดุกตาย แต่จะทำให้ปลาอ่อนแอเป็นเหตุให้เกิดโรคได้ ดังนั้นบ่อที่สร้างเสร็จใหม่ๆจะต้องสูบน้ำเข้าให้เต็มบ่อแล้วทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ หรือถ้าเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเพียง 1 สัปดาห์ก็ใช้ได้ เพื่อลดความเป็นด่างของปูนซีเมนต์ จากนั้นจึงปล่อยน้ำในบ่อทิ้งพร้อมทั้งทำความสะอาดบ่อ แล้วจึงระบายน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตรและปล่อยปลาลงเลี้ยงได้

นอกจากนี้การลดความเป็นด่างของปูนซีเมนต์อาจทำได้โดยการใช้ สารสัมใส่ลงไปในบ่อในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรืออาจใช้หยวกกล้วยนำมาสับให้ละเอียดแช่ไว้ในบ่อ 3-4 วัน จึงเอาหยวกกล้วยและน้ำออก แล้วใช้สารส้ม 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 3 ลูกบาศก์เมตรใส่ลงในบ่อ ทำให้ความเป็นด่างของปูนซีเมนต์ลดลง จากนั้นทำความสะอาดบ่อด้วยแปรง ตาก บ่อทิ้งไว้ 1 วัน แล้วสูบน้ำเข้าบ่อและปล่อยลูกปลาดุกลงเลี้ยงได้

สำหรับบ่อเก่าเมื่อจับปลาออกจากบ่อหมดแล้วควรทำความสะอาดขัดด้วยแปรงให้สะอาด หากปลารุ่นก่อนเป็นโรคให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนราดให้ทั่วบ่อ ตากบ่อให้แห้งประมาณ 1 วันก็สามารถปล่อยลูกปลาดุกลงเลี้ยงได้ แต่ถ้าปลารุ่นก่อนปกติไม่เกิดโรคก็จำเป็นต้องราดด้วยฟอร์มาลีน เพียงแต่ทำการตากบ่อไว้ 1-3 วัน จึงจะระบายเข้าบ่อลงเลี้ยงต่อไปได้

ระบบน้ำที่ใช้ในบ่อ น้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลาดุกทำในบ่อคอนกรีตกลมมีอยู่ 2 ระบบด้วยกันคือ ระบบปิดและระบบเปิด

1. ระบบปิด เป็นการจัดให้มีการใช้น้ำที่เลี้ยงปลาดุกแล้วนำกลับมาใช้เลี้ยงใหม่ได้อีก โดยจะต้องมีบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่จำนวน 1 บ่อ ที่สามารถจะสูบน้ำกลับไปใส่บ่อที่เลี้ยงปลาดุกได้ และน้ำที่ปล่อยออกจากบ่อเลี้ยงปลา (น้ำเสียที่ระบายออก)จะไหลสู่บ่อเก็บน้ำนั้นตามเดิม การใช้น้ำระบบนี้ไม่ค่อยถูกสุขลักษณะนัก แต่สามารถใช้ได้กับการเลี้ยงปลาให้เติบโตแบบผสมผสาน คือในบ่อเก็บน้ำดังกล่าวควรปล่อยปลาชนิดกินแพลงค์ตอนพืชหรือปลากิน สัตว์หน้าดิน เช่น ปลานิล ปลาซ่ง ปลาเล่ง ลงไปด้วย ทั้งนี้เพราะว่านอกจากแสงแดด แบคทีเรีย และช่วงเวลาพักน้ำจะช่วยให้คุณสมบัติของน้ำดีขึ้นก่อนที่จะนำกลับมาใช้หมุนเวียนเลี้ยงปลาดุกต่อเนื่องโดยไม่เกิดปัญหาเรื่องน้ำเสียแล้ว ปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อเก็บกักน้ำจะช่วยกินของเสียที่ระบายมาจาก ปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อเก็บกักน้ำจะช่วยกินของเสียที่ระบายมาจากบ่อเลี้ยงปลาดุกด้วย นอกจากจะทำให้ไม่เกิดปัญหาเรื่องน้ำเสียแล้ว ยังช่วยให้เกิดผลพลอยได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

2. ระบบเปิด คือการสร้างบ่อคอนกรีตให้อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลองหนอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือคลองส่งน้ำชลประทานที่ สามารถสูบน้ำไปใช้เลี้ยงปลาดุกได้ และระบายน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงปลาดุกลงสู่แหล่งน้ำต่อเนื่อง หรือลงสู่ท่อระบายน้ำเสียทิ้งไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งระบบนี้การเจริญเติบโตของปลาดุกจะเป็นไปได้ดีกว่าการใช้ระบบปิด

ส่วนในด้านการปรับระดับน้ำในบ่อเลี้ยงปลาดุกนั้น ขณะที่ระบายน้ำออกควรจะระบายน้ำเข้าไปในเวลาเดียวกัน เป็นการรักษาระดับน้ำให้คงที่และค่อยๆ ปรับอุณหภูมิไปทีละน้อย ไม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ปลาดุกปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำได้ดี

No comments
Back to content