การขุดบ่อเลี้ยงปลาดุก - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การขุดบ่อเลี้ยงปลาดุก

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การขุดบ่อเลี้ยงปลดุก
การขุดบ่อเลี้ยงปลาดุก
การขุดบ่อเลี้ยงปลาดุกควรดำเนินการขุดให้เสร็จพร้อมที่จะดำเนิน การเลี้ยงปลาได้ก่อนจะถึงฤดูฝน เมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำ พันธุ์ปลา และอาหารที่สมบูรณ์ อันเป็นผลตีต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างมาก หลังจากเลือกสถานที่สร้างบ่อได้แล้วจึงดำเนินการขุดบ่อตามขั้นตอนดังนี้

1. การวัดและวางรูปบ่อ การขุดบ่อก็เช่นเดียวกับการก่อสร้างอื่นๆ คือ ก่อนจะขุดควรได้วัดและวางผังรูปบ่อให้เข้ากับลักษณะพื้นที่เสียก่อน จะช่วยให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด สำหรับการขุดบ่อหลายๆ บ่อในบริเวณเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่ต้องดัดแปลงให้เป็นการสิ้นเปลืองในภายหลัง การวัดเพื่อวางรูปบ่อควรคำนึงถึงหลักสำคัญอยู่ 2 ประการคือ บ่อที่จะขุดต้องอยู่ใกล้ทางน้ำหรือใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการระบายน้ำเข้าออกได้ นอกจากนี้ควรวางรูปบ่อให้ด้านยาวหันไปตามทิศทางลม และต้องอยู่ห่างจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 5 เมตร

2. การเตรียมสถานที่ งานขั้นแรกที่จะต้องเตรียมในการขุดบ่อเลี้ยงปลาคือ การตัดถางต้นไม้เก็บเศษกิ่งไม้ออกให้หมด เพื่อสะดวกในการที่จะปักหลักวางแนวบ่อ แม้กระทั่งตอไม้ต่างๆ ขุดและเผาไฟสุมตอบริเวณที่จะต้องถมเป็นคันบ่อเพื่อเก็บกักน้ำ เพราะกิ่งไม้ตอไม้ที่จมอยู่ในดินนั้นจะเป็นทางให้น้ำรั่วซึมได้ง่าย ดังนั้นก่อนที่จะลงมือขุดควรได้เก็บเศษไม้ตอไม้ออกให้หมดเสียก่อน

3. ลักษณะและขนาดของบ่อ ลักษณะของบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาดุก ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อสะดวกในการตีอวนจับปลา หรือแม้แต่เมื่อจับโดยการระบายน้ำออกหมดก็ตามปลาจะไหลไปรวมกันได้ดีกว่าบ่อที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดของบ่อไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะยากต่อการดูแล การให้อาหารไม่ทั่วถึง เมื่อเกิดปัญหาโรคหรือปรสิต การลงยาจะสิ้นเปลืองมาก เมื่อเกิดน้ำเสียการถ่ายเทน้ำไม่สามารถทำได้ทัน ต้องใช้เวลานาน นอกจากนั้นการจับปลาขายต้องใช้เวลานาน เพราะผู้ซื้อจะซื้อในปริมาณจำกัด แต่ผลผลิตต่อเนื้อที่ของปลาดุกนั้นสูงมาก บางครั้งอาจต้องใช้เวลาจับหลายวันทำให้ปลาบอบช้ำ แต่ถ้าบ่อเล็กเกินไปก็จะเสียพื้นที่คันบ่อมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นขนาดของบ่อที่เหมาะต่อการใช้เลี้ยงปลาดุกคือ ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป และไม่เกิน 1 ไร่ มีความลึกที่สามารถเก็บกักน้ำได้ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนความกว้างและความยาวจะเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานที่และลักษณะการใช้งาน มีทางระบายน้ำเข้าออกได้สะดวก รอบบ่อทำเป็นคันดินสูงป้องกันน้ำท่วมได้ แต่อย่างไรก็ตามควรได้พิจารณาจากสภาพพื้นที่เป็นหลักว่าใช้บ่อขนาดไหน จึงจะใช้เนื้อที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

4. การขุดบ่อและถมคันบ่อ ก่อนขุดควรทำเครื่องหมายลงบนพื้นที่ให้แน่นอนเสียก่อนว่าจะขุดตรงไหน การขุดบ่อปลาทำได้ 2 วิธีคือ การขุดโดนใช้แรงคนและใช้รถแทรกเตอร์ การใช้รถแทรกเตอร์เหมาะสำหรับบ่อขนาดใหญ่หรือบ่อที่มีเนื้อที่มากๆ ส่วนการขุดบ่อเลี้ยงปลาเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเลี้ยงเป็นงานอดิเรกจะใช้แรงงานคนขุดเอง ถ้าเป็นไปได้ควรขุดหน้าดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตรออกเสียก่อน เพราะดินชั้นนี้มักมีใบไม้ ต้นพืช หรือก้อนหินเล็กๆไม่เหมาะที่จะนำไปถมคันบ่อ ให้ขุดดินชั้นดังกล่าวออกไปนอกเขตบ่อ

ดินที่ได้จากการขุดบ่อให้นำไปเสริมเป็นคันบ่อ ส่วนความสูงของคันบ่อขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่จะใช้ป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำ แต่ปกติคันบ่อควรจะสูงจากระดับพื้นดินเดิมอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงด้วย สันคันบ่อควรกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร เพื่อให้มีเนื้อที่สำหรับปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจับปลาและอื่นๆ แต่ถ้ากว้างกว่านี้จะสะดวกต่อการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะบ่อขนาดใหญ่ควรมีคันบ่อกว้างอย่างน้อย 3 เมตร ฐานของคันบ่อให้ห่างจากขอบบ่อที่ขุดไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร โดยรอบตัวบ่อทั้งสี่ด้านเพื่อป้องกันการทรุดตัวและการพังทลายของดิน เมื่อถูกฝนชะจะได้ตกอยู่ที่ชานบ่อไม่ไหลลงสู่กันบ่อซึ่งจะทำให้บ่อตื่นเร็วขึ้น ความลึกของบ่อที่ขุดให้สามารถเก็บกักน้ำได้ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ในการขุดบ่อและการเสริมคันบ่อต้องทำเป็นเชิงลาดด้วย

เมื่อเริ่มขุดดินขึ้นมาถมเป็นคันบ่อควรได้ทำการกระทุ้งดินที่ถมใหม่ให้แน่น เพื่อจะให้ดินเก่ากับดินใหม่เชื่อมยึดตัวเป็นผืนเดียวกัน น้ำไม่สามารถไหลเซาะคันบ่อได้ ดินเหนียวเมื่อได้รับน้ำหนักจากการกระทุ้งจะยุบตัวติดกัน วิธีกระทุ้งให้ทำการกระทุ้งไปพร้อมกันกับการขุด คือ กระทุ้งไปพลางถมไปพลาง ไม่ใช่ถมจนเสร็จแล้วมาทำการกระทุ้ง การถมดินต้องถมแผ่หรือเกลี่ยดินให้เชื่อมกันตั้งแต่ฐานดินเดิมให้เต็มฐานส่วนกว้างของคันดินทั้งหมด ให้เป็นระดับขั้นขึ้นไปจนถึงสันคันบ่อ บนคันบ่อควรปลูกหญ้าเพื่อยึดดิน โดยใช้หญ้าที่มีรากตื้นๆจะช่วยลดการพังทลายของดินลงได้

No comments
Back to content