โรคหนวดกุด โรคกะโหลกร้าว และปลิงใส - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคหนวดกุด โรคกะโหลกร้าว และปลิงใส

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > โรคปลาดุกและการป้องกันรักษา
6. โรคปากเท้าเปื่อยหรือหนวดกุด เกิดจากพวกตัวปรสิต เช่น เห็บ ระฆังและปลิงใส พบมากในช่วง 1-10 วันหลังจากปล่อยลูกปลา โดยเฉพาะ ในบ่อที่ดินเป็นกรดและการเตรียมบ่อไม่ดี น้ำในบ่อมักจะเป็นสีขาวขุ่นหรือน้ำตาลใส ลูกปลาจะว่ายน้ำไปมาอย่างรวดเร็วและจะลอยหัวตั้ง รอบๆปาก จะด่างเป็นสีขาวขุ่น มีเมือกมาก ปลาจะอ่อนแอติดเชื้อต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย

การป้องกันรักษา ก่อนปล่อยปลาควรปรับสภาพน้ำในบ่อให้มี pH อยู่ในระดับ 7.5-8.5 สำหรับการรักษานั้นให้ใช้ปูนขาวปรับสภาพน้ำให้มี pH 7.5-8.5 จากนั้นเตรียมน้ำให้เป็นสีเขียวโดยใช้ปุ๋ยคอกที่แห้งโรยให้ทั่วบ่อใน อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยเคมีในอัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อไร่ ในระดับน้ำลึกประมาณ 50 เซนติเมตร



7. โรคกะโหลกร้าว โรคนี้มักทำให้กระดูกบริเวณหัวผุง่ายและเนื้อเยื่อบริเวณหัวมีรอยแตกตามบริเวณข้อต่อหรือรอยแยกของกระดูกส่วนหัว มีเลือดออกบริเวณรอยต่อกะโหลกและรอยต่อของหัวกับลำตัว รวมทั้งบริเวณรอยต่อกระดูกที่คางด้วย ส่วนใหญ่ปลาดุกด้านจะเป็นโรคนี้มากกว่าปลาดุกอุย เนื่องมาจากการให้อาหารจำพวกแป้งมากเกินไป ทำให้ปลาอ้วนมีเนื้อและมีไขมันมากผิดปกติ ทำให้ไม่สมดุลกันระหว่างการเจริญเติบโตของเนื้อและกระดูก นับได้ว่าเกิดจากการขาดวิตามินซีในอาหารที่ใช้เลี้ยง หรือเนื่องจากเก็บอาหารไว้ในที่ร้อนเป็นเวลานานเกินไปทำให้วิตามินซีในอาหารสลายไป
ดังนั้นการป้องกันรักษาโดยการใช้วิตามินซีผสมลงไปในอาหาร



8. ปลิงใส มักเกิดกับลูกปลาดุกที่เริ่มปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินใหม่ๆ พบปลิงใสทั่วไปในบริเวณเหงือกและเมือกของปลา ถ้าพบบริเวณเหงือกจะสังเกตเห็นกระพุ่งแก้มเผยอเล็กน้อย เหงือกซีด ถ้าพบบริเวณลำตัวปลาจะขับเมือกออกมามากกว่าปกติ ปลิงใสเหล่านี้มีขนาดเล็ก ลำตัวไม่มีปล้อง มีขอเกี่ยวใช้สำหรับเกาะยึดอยู่ทางส่วนท้ายของลำตัว ถ้าปลามีปลิงใสเข้ารบกวน มากจะทำให้การดำรงชีวิตผิดปกติ เช่น ว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวตามผิวน้ำ ผอม หายใจผิดปกติเนื่องจากเหงือกถูกทำลาย หรือมีเมือกออกมามากกว่าปกติ เป็นโอกาสให้เชื้อชนิดอื่นเข้าทำลายได้ง่าย

การป้องกันรักษา โดยใช้ฟอร์มาลีนจำนวน 25-40 ซีซี.ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง หรือใช้ดิพเทอร์เร็กซ์จำนวน 0.25-0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง



9. เห็บระฆัง เห็บระฆังทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคือง เนื่องจากพยาธิในกลุ่ม Trichodinids ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียว รูปร่างกลม มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์จะเข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัวและเหงือก และมีการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้ปลาเกิดเป็นแผลขนาดเล็กตามผิวลำตัวและเหงือก มักพบในลูกปลา ถ้าพบเป็นจำนวนมากจะทำให้ปลาตายหมดบ่อ ดังนั้นเมื่อพบควรรีบทำการรักษาเสียตั้งแต่ปลาเริ่มเป็นโรคในระยะแรกๆ จะได้ผลดีกว่า

การป้องกันรักษา การป้องกันทำได้โดยการตรวจปลาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงว่ามีเห็บระฆังติดมาหรือไม่ ระวังการติดต่อระหว่างบ่อผ่านทางอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ควรขังปลาไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อตรวจจนแน่ใจว่าไม่มีโรค แล้วจึงค่อยปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ แต่ถ้ามีเห็บระฆังเกิดขึ้นกำจัดได้โดยการใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี.ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง หรือ ฟอร์มาลีน 25-30 ซีซี.ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 24 ชั่วโมง

No comments
Back to content