โรคและสาเหดุการเกิดโรค - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคและสาเหดุการเกิดโรค

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > โรคปลาดุกและการป้องกันรักษา
โรคปลาดุกและการป้องกันรักษา
การเลี้ยงปลาในปัจจุบันปัญหาที่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้เลี้ยงอยู่เสมอคือ ปัญหาปลาเป็นโรค โรคที่เกิดกับปลานั้นหมายถึงพวกไวรัส แบคทีเรีย สัตว์เซลล์เดียว และพวกหนอนที่ทำอันตรายต่อปลาโดยตรง โดยเข้าทำลายอวัยวะของปลา เช่น ไต ตับ และยังทำลายอวัยวะภายนอก เช่น เหงือก และลำตัวของปลาอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ปลาเกิดโรคและตายในเวลาต่อมา นอกจากนี้โรคปลายังเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมและอาหารได้อีกทางหนึ่งด้วย

ในการเกิดโรคของปลาแต่ละครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแล้ว ย่อมสร้างความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงไม่มากก็น้อย ทั้งนี้เป็นเพราะว่ากว่าที่ผู้เลี้ยงจะรู้ว่าปลาเป็นโรคก็ต่อเมื่อปลาตายลอยขึ้นมาให้เห็น

เมื่อปล่อยให้ปลาเป็นโรคแล้วการรักษาต้องใช้เวลาและในระยะที่ทำการรักษาอยู่นั้นย่อมมีการสูญเสียปลาไปด้วย การรักษาในที่นี้มิได้หมายความว่าใช้ยาผสมกับอาหารให้ปลากิน เพราะเป็นวิธีที่ใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากปลาที่เป็นโรคจะไม่กินอาหาร วิธีที่ดีที่สุดคือการกำจัดต้นเหตุต่างๆที่ทำให้ปลาเกิดโรค ซึ่งต้นเหตุที่เกิดนั้นบางครั้งก็มีสาเหตุเดียว บางครั้งก็มีหลายสาเหตุรวมกัน เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาต้องใช้เวลาและย่อมพบกับปัญหายุ่งยากพอสมควร ดังนั้นเพื่อตัดปัญหายุ่งยากดังกล่าว ผู้เลี้ยงควรจะหันมาสนใจว่าทำอย่างไรจะไม่ให้ปลาเกิดโรคดีกว่าที่จะปล่อยให้ปลาเกิดโรคแล้วทำการรักษา เพราะการรักษานอกจากจะไม่ค่อยได้ผลแล้ว ยังทำให้ต้องสูญเสียปลาที่เลี้ยงและเงินทุนอีกมาก
สาเหดุการเกิดโรค สาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรคนั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน แต่สาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรคบ่อยและร้ายแรงที่สุดคือพวกแบคทีเรีย
1. น้ำ น้ำที่เป็นสาเหตุให้ปลาเกิดโรคคือน้ำเสีย เช่น น้ำมีกลิ่นเหม็น มีออกซิเจนน้อยไม่พอกับความต้องการของปลา หรือน้ำมีคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป สาเหตุที่ทำให้น้ำเสียอาจมาจากการปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อแน่นเกินไป ให้อาหารมากเกินไปจนอาหารที่เหลือนั้นบูดเน่า หรืออาจจะเกิดจากของเสียที่ปลาถ่ายออกมาแล้วสะสมกันอยู่มากๆ เนื่องจากไม่มีการถ่ายน้ำในบ่อจนทำให้เกิดเน่าเสีย ในกรณีที่น้ำเสียมากๆจนทำให้ออกซิเจนมนน้ำไม่มีเลยจะทำให้ปลาตายได้ หากช่วยไม่ทัน

ร่างกายอ่อนเพลียและมีโอกาสตายได้ในเวลาต่อมา ดังนั้นในขณะลำเลียงควรใส่เกลือในปริมาณ 0.1-0.2 เปอร์เซ็นต์ หรือใส่ยาเหลืองเข้มข้น 1-3 ppm. อาจช่วยลดอัตราการตายลงได้ และที่สำคัญก่อนปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ ควรระวังเรื่องอุณหภูมิในถุงกับน้ำในบ่อไม่ควรให้แตกต่างกันมากนัก

3. อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาควรมีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ และวิตามินที่จำเป็นครบถ้วน หากอาหารมีคุณค่าไม่ครบถ้วน จะมีผลทำให้ปลาเป็นโรคได้ง่าย เช่น ขาดวิตามินซีทำให้ปลาดุกมีอาการหนวดกุด ลำตัวคดงอ และกะโหลกร้าว เป็นต้น นอกจากนี้ความสดของอาหารจะทำให้ปลาแข็งแรง มีความต้านทานโรคดีขึ้น และต้องระวังอย่าให้อาหารมากจนเหลือจะทำให้น้ำเสียได้

4. ความหนาแน่นของปลา การปล่อยปลาแน่นนั้นอาจไม่มีปัญหาในระยะที่ปลายังมีขนาดเล็กอยู่ แต่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้นความหนาแน่นของปลาก็เพิ่มขึ้น ทำให้ออกซิเจนไม่พอกับความต้องการของปลา น้ำเสียได้ง่าย ทั้งนี้เพราะปลาทุกตัวต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจและขณะเดียวกัน ก็ต้องถ่ายของเสีย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และมูลปลาออกมาด้วย ซึ่งเมื่อมีปลามากของที่ถ่ายออกมาก็มากเช่นเดียวกัน เมื่อสภาพแวดล้อมไม่ดี แล้วปลาก็จะไม่ค่อยกินอาหาร การเจริญเติบโตก็ไม่ดี และยังทำให้ปลาไม่ค่อยแข็งแรง เกิดโรคได้ง่าย ฉะนั้นควรปล่อยปลาลงเลี้ยงในอัตราที่เหมาะสมที่สุด

5. ตัวปรสิต ตัวปรสิตที่เกิดกับปลามีอยู่หลายชนิด ซึ่งจะเกาะตามตัวปลา พบได้ทั้งภายนอกและภายใน บางชนิดก็ทำให้ปลาตายโดยตรง บางชนิดทำให้ปลามีบาดแผล เจ็บปวดระคายเคือง อ่อนแอ เสียการทรงตัว และมีบางชนิดถ้าเกิดขึ้นมากๆจะทำให้ปลาไม่เจริญเติบโต ตัวปรสิตที่พบบ่อย และทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงปลาในบ้านเรา เช่น เห็บปลา หนอนสมอ เห็บระฆัง ปลิงใส พยาธิหัวแข็ง เป็นต้น

6. เชื้อรา พวกเชื้อราเกิดขึ้นเฉพาะปลาที่ได้รับความบอบช้ำมาก่อน


นอกจากนี้น้ำที่มีความเป็นกรดเป็นด่างมากเกินไปมีส่วนทำให้ลูกปลาตายได้ทันที หรืออาจทำให้ลูกปลาเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้ หรือการเจริญเติบโตของปลาไม่เป็นไปตามปกติ

7. แบคทีเรีย เป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรคมากที่สุดและร้ายแรงที่สุด เมื่อเป็นแล้วการรักษาก็ไม่ค่อยได้ผลอีกด้วย เช่น ทำให้เกิดโรคท้องบวม ตาโปน โคนครีบหูบวม และแผลเน่าตามตัว เป็นต้น

2. ความบอบช้ำ ความบอบช้ำนี้อาจเกิดจากบาดแผลที่เกิดขึ้นในระหว่างการจับหรือกาขนย้าย ซึ่งจะทำให้ปลาอ่อนแอรับเอาเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราได้ง่าย โดยเฉพาะลูกปลาที่ต้องขนย้ายในระยะทางไกลๆ โดยใช้ถุงพลาสติกหรือถัง ไม่ควรใส่ปลาจนแน่นเกินไปเพราะปลาอาจบอบช้ำมาก เช่น ปลามีบาดแผลหรือรอยช้ำแดง ครีบฉีกขาด หรือได้รับความบอบช้ำจากการขนส่ง


No comments
Back to content